https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เลือดจาง โลหิตจาง อาการน่าห่วงของแม่ท้อง MUSLIMTHAIPOST

 

เลือดจาง โลหิตจาง อาการน่าห่วงของแม่ท้อง


727 ผู้ชม


เลือดจาง อาการน่าห่วงของแม่ท้อง

เลือดจาง โลหิตจาง อาการน่าห่วงของแม่ท้อง



           สาเหตุของเลือดจาง 
          ปกติในเม็ดเลือดแดงจะมี “ฮีโมโกลบิน” สารโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญ ซึ่งในเวลาที่หายใจเข้า ฮีโมโกลบินจะทำหน้าที่นำออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกาย รวมถึงถ่ายออกซิเจนไปสู่รกเพื่อให้เซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ของแม่และลูกในท้องทำหน้าที่ได้ตามปกติ
          ภาวะเลือดจาง เกิดจากการที่ฮีโมโกลบินต่ำกว่าปกติ หรือมีเม็ดเลือดแดงปริมาณน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ ทำให้การลำเลียงออกซิเจนไปยังอวัยวะต่างๆ ได้ไม่ดี ซึ่งในช่วงตั้งท้องจะมีเลือดเพิ่มขึ้นมากกว่าในภาวะปกติ ทำให้ความเข้มข้นของเลือดลดลง โดยระดับของฮีโมโกลบินในช่วงตั้งท้องจะค่อยๆ ลดลงอยู่ และจะกลับสู่ค่าปกติหลังคลอดลูกแล้วประมาณ 6 สัปดาห์ แต่คุณแม่ท้องต้องระวังไม่ให้ระดับฮีโมโกลบินต่ำกว่า 11 กรัมเปอร์เซ็นต์ เพราะจะทำให้เกิดภาวะเลือดจาง และหากเป็นมากก็จะอันตรายต่อแม่และลูกในท้อง
          นอกจากนี้ ภาวะเลือดจางอาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้อีก เช่น การได้รับสารอาหารโดยเฉพาะธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ขาดกรดโฟเลต ริดสีดวงทวารเลือดออกเนื่องจากมีแผลในกระเพาะอาหาร หรือเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นโรคทางกรรมพันธุ์ เป็นต้น
           อาการของเลือดจางในแม่ท้อง 
           หน้าซีด เหนื่อยง่าย เวียนหัวและเป็นลมบ่อยๆ
           หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นไม่สม่ำเสมอ
           คลื่นไส้ เบื่ออาหาร
          หากคุณแม่มีภาวะเลือดจางมากแล้ว อาจทำให้แท้งและคลอดก่อนกำหนด หรือระยะการคลอดนาน เนื่องจากมดลูกบีบรัดตัวไม่ดี นอกจากนี้ยังอาจทำให้คุณแม่มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย หรือตกเลือดระหว่างคลอดอีกด้วย
          ทั้งนี้ การที่คุณแม่มีภาวะเลือดจางในขณะตั้งครรภ์เลือดที่ไปเลี้ยงรกจะมีออกซิเจนน้อยกว่าปกติ ทำให้ออกซิเจนที่ส่งไปยังลูกมีน้อยกว่าจำนวนที่ควรได้รับซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายต่อลูกได้ คือ
           ทารกมีโอกาสพิการแต่กำเนิดสูง
           คลอดก่อนกำหนดและทารกน้ำหนักน้อย
           ทารกเสียชีวิตในครรภ์
           ทารกคลอดออกมาแล้วเสียชีวิต
           ทารกที่เกิดมาเป็นโรคเลือดจาง
           แม่ท้องป้องกันเลือดจางได้อย่างไร? 

          ก่อนตั้งครรภ์ ควรมีการตรวจเช็คร่างกายก่อนว่ามีภาวะเลือดจางหรือไม่ ถ้าเป็นเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็กก็ควรกินอาหารเสริมให้ร่างกายเป็นปกติก่อนจึงตั้งครรภ์ และเมื่อตั้งครรภ์แล้วควรรีบไปฝากครรภ์เพื่อให้คุณหมอตรวจว่ามีภาวะเลือดจางหรือไม่
          ส่วนใหญ่แล้วแม่ท้องที่เลือดจางนานๆ ระหว่างตั้งครรภ์มักเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก ดังนั้น คุณหมอจะให้ยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กและวิตามินเสริมมาให้กินตลอดระยะที่ตั้งครรภ์และ 6 สัปดาห์หลังคลอด สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็ควรจะได้รับธาตุเหล็กไปจนถึง 6 เดือนหลังคลอด เพื่อไม่ให้ร่างกายของคุณแม่ขาดธาตุเหล็กและเกิดภาวะเลือดจาง ทั้งนี้ คุณแม่ต้องไม่ลืมที่จะดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอพักผ่อนให้เพียงพอ และหากมีโรคต่างๆ ที่อาจทำให้เสียเลือด ก็ควรรีบไปปรึกษาคุณหมอเพื่อให้คุณหมอดูแลอย่างใกล้ชิดและรักษาอย่างถูกวิธีเพื่อลดการเสียเลือด
          นอกจากนี้ การกินอาหารของคุณแม่ก็ยังช่วยให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดจางได้ โดยอาหารที่คุณแม่ควรกินในระหว่างท้องเพื่อเสริมธาตุเหล็กให้ร่างกาย มีดังนี้
           โปรตีนจากเนื้อสัตว์ นอกเหนือจากเนื้อหมู ไก่ ไข่ และนมแล้ว คุณแม่ท้องควรกินปลาและอาหารทะเลอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง
           โปรตีนจากพืช ได้แก่ ถั่วต่างๆ และผลิตผลจากถั่ว เช่น เต้าหู้ โปรตีนเกษตร เป็นต้น
           ธัญพืช ผัก และผลไม้ เช่น ข้าวกล้อง จมูกข้าว แครอท แคนตาลูป ฟักทอง บร็อคโคลี ผักคะน้า เป็นต้น
          คุณแม่ท้องจะต้องกินอาหารที่มีกากใยร่วมด้วย เพราะธาตุเหล็กจะทำให้ถ่ายยากและอุจจาระดำค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.motherandcare.in.th/index.php

อัพเดทล่าสุด