https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ยาปฏิชีวนะ ใช้อย่างไรไม่ให้เชื้อดื้อยา MUSLIMTHAIPOST

 

ยาปฏิชีวนะ ใช้อย่างไรไม่ให้เชื้อดื้อยา


670 ผู้ชม


ยาปฏิชีวนะ ใช้อย่างไรไม่ให้เชื้อดื้อยา

ยาปฏิชีวนะ ใช้อย่างไรไม่ให้เชื้อดื้อยา



          ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านจุลชีพ คนทั่วไปนิยมเรียกกันติดปากว่ายาแก้อักเสบ หมายถึง ยาที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อจุลชีพชนิดอื่น ๆ เป็นกลุ่มยาที่มีอัตราการใช้มาที่สุด เป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย แต่ละปีมีมูลค่าของการใช้เป็นจำนวนมหาศาล ทั้งในส่วนของโรงพยาบาลและร้านขายยา

          มียาปฏิชีวนะหลายยี่ห้อที่ทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน ทำให้เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป ตัวอย่างเช่นทีซีมัยซิน ออริโอมัยซิน กานามัยซิน เป็นต้น

 ทำไมเชื้อดื้อยามากขึ้นหรือลดลง

          ปัญหา ใหญ่ปัญหาหนึ่งที่พบทั้งระดับประเทศไทยและระดับโลก ก็คือ การดื้อยาปฏิชีวนะของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งนับวันจะมีอัตราการดื้อยามากขึ้นเรื่อย ๆ จากเดิมที่มีการดื้อยา "อัตราการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียจะแปรฝันตามอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะ" เก่า ๆ ทำให้ใช้ยาชนิดเดิมบางชนิดไม่ได้ผล จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้ยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ๆ ที่มักมีราคาแพงยิ่งขึ้น ผลการรักษาอาจไม่ดีเท่าเดิม และอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้มากขึ้นหรือรุนแรงยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ป่วยโรคติดเชื้อมีความเสี่ยง หรือมีโอกาสเกิดอันตรายจากการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะชนิดใหม่มากยิ่งขึ้น
 ยิ่งใช้ยาปฏิชีวนะมากขึ้น ก็ยิ่งทำให้เชื้อดื้อยามากขึ้น 
          เหตุผลหลักที่ทำให้เชื้อแบคทีเรียดื้อยามากขึ้น ก็เนื่องจากมีการใช้ยาปริมาณมากขึ้น มีรายงานวิจัยยืนยันว่าอัตราการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรีย จะแปรฝันตรงตามอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะ ถ้ามีการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดไหนมากขึ้น ก็จะชักนำให้เกิดการดื้อยาชนิดนั้นมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

          ที่เป็นเช่นนี้เพราะทุกครั้งที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ยาจะไปออกฤทธิ์ที่ตัวแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียถูกยับยั้งการเจริญเติบโตหรือตายไป แต่ตามธรรมชาติมักมีการผ่าเหล่า ทำให้มีเชื้อแบคทีเรียบางตัวทนต่อยา ดื้อกับยา และรอดชีวิต ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ 1 ในล้านตัว แล้วเชื้อแบคทีเรียที่รอดตายก็จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวน ขยายเผ่าพันธุ์การดื้อยาให้มีเป็นเท่าทวีคูณ และทำให้เกิดโรคติดเชื้อที่ดื้อต่อยา เป็นปัญหาใหญ่ทางการแพทย์ได้
 โรคไข้หวัดไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ
          อีกเหตุผลหนึ่งที่เป็นตัวเสริมให้เกิดการดื้อยา ก็คือการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสม ที่พบบ่อยๆ ได้แก่ การใช้ยาปฏิชีวนะของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส เช่น โรคไข้หวัด (รวมถึงไข้หวัดใหญ่ด้วย)

          ไข้หวัดเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ไม่ใช่เชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยไข้หวัดจึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เพราะยาปฏิชีวนะหรือยาแก้อักเสบที่มีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของเชื้อ แบคทีเรีย แต่ไม่มีผลต่อเชื้อไวรัสโรคไข้หวัด ดังนั้น ยาปฏิชีวนะจึงไม่ได้ผลกับผู้ป่วยไข้หวัด

 การใช้ยาปฏิชีวนะไม่ครบตามกำหนด อาจทำให้เกิดการดื้อยาได้

          โดยปกติแล้วยาปฏิชีวนะเมื่อเริ่มใช้แล้ว จะต้องใช้ยาติดต่อกันจนครบตามจำนวนที่แพทย์สั่งจ่าย ทั้งนี้เพื่อให้มีฤทธิ์อยู่จนสามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคให้หมดไป จากร่างกายของเรา ในทางปฏิบัติพบว่ามีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากที่หยุดใช้ยาปฏิชีวนะทันทีเมื่อ อาการเริ่มดีขึ้น เพราะคิดว่าไม่มีอาการแล้ว แล้วหายดีแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องเข้าใจผิด เพราะขณะนั้นยังมีเชื้อแบคทีเรียอยู่ แต่อาจมีปริมาณน้อยกว่าที่จะแสดงอาการได้จริงๆ

          ดังนั้น ถ้ามีการหยุดยาขณะที่ยังใช้ยาไม่ครบ และมีเชื้อแบคทีเรียหลงเหลืออยู่ ก็อาจทำให้เชื้อที่หลงเหลืออยู่เพิ่มจำนวนมากขึ้น และกลับมามีอาการใหม่ได้ เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะติดต่อกันจนครบตามที่แพทย์สั่งเป็นการดี ที่สุด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.doctor.or.th/

อัพเดทล่าสุด