https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
โรครูมาตอยด์ สังเกตสักนิดลูกเราเป็น โรครูมาตอยด์ หรือเปล่า MUSLIMTHAIPOST

 

โรครูมาตอยด์ สังเกตสักนิดลูกเราเป็น โรครูมาตอยด์ หรือเปล่า


630 ผู้ชม


สังเกตสักนิดลูกเราเป็นโรครูมาตอยด์หรือเปล่า

โรครูมาตอยด์


โดย : เจอร์ราจ
แหล่งข้อมูล: สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย (หน้าพิเศษ Hospital Healthcare)


          มักมีคำถามว่า โรครูมาตอยด์ เกิดขึ้น ในเด็กได้ด้วยหรือ 
          ได้ เพราะโรครูมาตอยด์เป็นหนึ่งใน กลุ่มโรคข้อที่มีจำนวนกว่า 50 โรคที่พบได้ในเด็ก แต่เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อยที่สุด ส่วนสาเหตุที่แท้จริงของการ เกิดโรคนั้นยังไม่มีใครทราบ แต่จากการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อบางชนิด และมีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
          อาจแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ตามอาการนำเริ่มต้นของโรค 
          1. กลุ่มที่มีไข้สูง เด็กจะมีข้ออักเสบร่วมด้วย อาจมีตับ ม้ามโต บางรายอาจมีปอดอักเสบ และหัวใจอักเสบ
          2. กลุ่มที่มีข้ออักเสบหลายข้อ จะมีอาการแสดงคล้ายโรครูมาตอยด์ในผู้ใหญ่ คือได้รับความทรมานจากอาการปวด บวมที่ข้อ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า ข้อศอก ข้อเข่า โดยเฉพาะช่วงตื่นนอนตอนเช้า ข้อมูลจากสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทยระบุว่า ปัจจุบันคนไทย 2 แสนคน ป่วยเป็นโรครูมาตอยด์ ซึ่งพบในหญิงมากกว่าชายถึง 4 เท่า ในช่วงอายุ 20-40 ปี หากรักษาไม่ถูกต้องอาจทำให้ข้อพิการหรือตาบอดได้
          3. กลุ่มที่มีข้ออักเสบ 2-3 ข้อ กลุ่มนี้ถ้าเป็นเด็กหญิงอายุน้อยจะมีโอกาสเกิดตาอักเสบ ทำให้ตาบอดได้ ถ้าเป็นเด็กชายและอายุมากอาจมีกระดูกสันหลังอักเสบร่วมด้วยได้ โดยเด็กจะเป็นข้ออักเสบเรื้อรัง หรืออาจมีข้ออักเสบอยู่นานเป็นเดือนหรือเป็นปี บางรายอาจเป็นไปตลอดชีวิต ในขณะที่บางรายอาจโชคดีที่โรคสามารถสงบลง หรือสามารถควบคุมโรคได้
          การรักษาโรคนี้ประกอบด้วย การรักษาทางยาซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุด การบริหารร่างกายจะช่วยให้ข้อมีการเคลื่อนไหวได้ดี ไม่ติดขัด การผ่าตัดจะเป็นหนทางสุดท้ายที่นำมาใช้รักษา และจะพิจารณาในรายที่ข้อถูกทำลายมาก และ การตรวจตาควรได้รับการตรวจจากจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ทั้งหมดนี้แพทย์จะอาศัยการซักประวัติ และการตรวจร่างกายเป็นสำคัญ
          แต่คนที่สำคัญมากที่สุดคือ พ่อแม่ผู้ปกครองในการช่วยดูแลรักษาเด็กด้วยการเอาใจใส่ ส่งเสริมให้เด็กมีการศึกษา ให้ความเห็นอกเห็นใจ ความรัก คอยให้กำลังใจ เพราะบางครั้งเด็กอาจมีอาการซึมเศร้าท้อแท้ เนื่องจากคิดว่ามีร่างกายไม่สมบูรณ์เช่นเด็กคนอื่น เป็นต้น ควรปลอบโยนให้เด็กยอมรับความจริงเข้าใจโรค ได้ออกกำลังกาย และปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง เพื่อให้ร่างกายมีการเจริญเติบโตได้มากที่สุด
          นอกจากนี้โรงเรียนและครูก็มีส่วนช่วยดูแลเด็ก เพราะถึงแม้เด็กที่เป็นโรครูมาตอยด์จะมีความผิดปกติทางร่างกาย และรูปร่างเล็กกว่าเด็กคนอื่นในอายุที่เท่ากัน แต่สมองของเด็กเหล่านี้ปกติ ครูควรเข้าใจและรายงานปัญหา ที่เกิดขึ้นที่โรงเรียน เพื่อให้พ่อแม่และแพทย์นำมาปรับปรุง และให้การดูแลรักษาที่เหมาะสมต่อไป
          เด็กที่เป็นโรครูมาตอยด์จะได้มีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ และมีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

อัพเดทล่าสุด