https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
4 ผู้นำ เปิดเคล็ด (ไม่) ลับ สุดยอดแม่ไม้บริหารคนของประเทศไทย MUSLIMTHAIPOST

 

4 ผู้นำ เปิดเคล็ด (ไม่) ลับ สุดยอดแม่ไม้บริหารคนของประเทศไทย


1,090 ผู้ชม


4 ผู้นำ เปิดเคล็ด (ไม่) ลับ สุดยอดแม่ไม้บริหารคนของประเทศไทย




4 ผู้นำ เปิดเคล็ด (ไม่) ลับ สุดยอดแม่ไม้บริหารคนของประเทศไทย

ต้องยอมรับว่าหนังสือ "สุดยอดแม่ไม้บริหารคนของประเทศไทย" หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ "Best HR Practices in Thailand" ที่มี "รศ.ดร.ศิริยุพา รุ่งเริงสุข" Executive Director-Head of HRM Program สถาบันบัณฑิตศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้เขียน
จะเป็นหนังสือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ฉบับภาคภาษาอังกฤษเล่มแรกของประเทศไทย แต่กระนั้น ในเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ ล้วนเปี่ยมไปด้วยประสบการณ์อันหลายหลากของผู้เขียน
เพราะ "รศ.ดร.ศิริยุพา" นอกจากจะเป็นอาจารย์ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการบริหารทรัพยากรมนุษย์มากว่า 20 ปี หากเธอยังเป็นนักวิจัย ที่ปรึกษา และกรรมการตัดสินในโครงการ Best Employers in Thailand และ Best Employers in Asia ด้วย
ผลเช่นนี้ จึงทำให้บทสะท้อนของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในหนังสือเล่มนี้ จึงไม่เพียงหยุดอยู่เฉพาะแค่การบริหารองค์กรในภาคปัจจุบัน หากลงลึกไปถึงกลยุทธ์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่สมัยสุโขทัย
ทั้งเรื่องกรอบแนวคิด, ค่านิยม, วัฒนธรรม รวมไปถึงระบบอุปถัมภ์ที่ต่างแนบแน่นกับวิถีคนไทยมาแต่เนิ่นนาน ทั้งนั้นเพราะ "รศ.ดร.ยุพา" ไม่ทิ้งกรอบแนวคิดตามทฤษฎีโลกตะวันตก ขณะเดียวกัน ก็นำมากรอบทฤษฎีโลกตะวันออกมา เปรียบเทียบด้วย
เพื่อให้ผู้อ่านเกิดคำถามตามมาว่าใน ปี 2010 มีอะไรที่เป็นปัจจัยความท้าทายบ้าง ? หรือบทบาท HR จะต้องเป็นอย่างไรในอนาคต ? รวมทั้ง HR ที่ดีควรมีความ โดดเด่นเรื่องใดบ้าง ?
นอกจากนั้น หนังสือ "สุดยอดแม่ไม้บริหารคนของประเทศไทย" ยังสัมภาษณ์ รวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารระดับสูง และองค์กรที่มีชื่อเสียง รวมทั้งผู้บริหารสายงานบุคคลต่าง ๆ มาประกอบด้วย อาทิ พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา, ซิคเว่ เบรคเก้, โชค บูลกุล, โรงแรมแมนดาริน, โรงแรม โอเรียนเต็ล, ไมเนอร์ กรุ๊ป และไทยยามาฮ่า มอเตอร์
เหมือนดังที่ "พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา" ผู้อำนวยการโรงเรียนดรุณสิกขาลัย กล่าวบอกว่าการเรียนรู้ เราต้องหัดเรียนรู้เหมือนเด็ก ที่พร้อมจะเรียนรู้ด้วยกันเป็นกลุ่ม เสมือนกัลยาณมิตร
"ฉะนั้น คนในองค์กรจึงต้องมีวินัย และคนที่อยู่ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง จึงต้องสามารถสร้างการเรียนรู้เป็นกลุ่ม และจะต้องสร้างการทำงานเป็นทีม"
"และจะต้องผลักดันให้ก้าวไปสู่ความเป็นองค์กรอย่างยั่งยืน ซึ่งการทำเช่นนั้นได้ นอกจากเราจะต้องมีกระบวนการในการเรียนรู้ที่รวดเร็วกว่า หากจะต้องมีทักษะที่มากกว่าคู่แข่งขันด้วย เพราะองค์กรจะประสบความสำเร็จหรือไม่ นอกจากจะต้องมีคนเก่ง-คนดี ยังจะต้องมีคุณธรรม จริยธรรมด้วย"
"ถ้าทำเช่นนั้นได้ ไม่เพียงองค์กร และบุคลากรจะประสบความสำเร็จ หากในเรื่องธุรกิจ ก็จะประสบความสำเร็จตามมาด้วย ดังนั้น เราจึงต้องทำงานเสมือนคนในครอบครัวเดียวกัน"
"ที่มีอะไร จะต้องให้อภัยกันและกัน ขณะเดียวกัน ก็จะต้องเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน และพร้อมกันนั้น ก็จะต้องคอยเรียนรู้ประสบการณ์จากคนที่มีความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ที่มากกว่าด้วย"
ขณะที่มุมมองของ "วิธพล เจาะจิตต์" กรรมการผู้จัดการบริษัท เมอร์เซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด มองว่าเรื่องของการบริหารคนในองค์กร เราอาจให้คำนิยามในการบริหารคนไม่เหมือนกัน อย่างคนเก่าก็เป็นอย่างหนึ่ง คนใหม่ก็เป็นอีกแบบหนึ่ง เพราะคนส่วนใหญ่มองเรื่องของ Talent Management แตกต่างกัน
"บ้างมองเรื่องของระบบ ขณะที่บางคนก็มองเรื่องของวัฒธรรม หรือไม่ก็มองในเรื่องของภาวะผู้นำ แต่สำหรับวัฒนธรรมองค์กรของเรา เรามักจะพยายามหาทางพูดคุย และมองกลุ่ม Talent ในเรื่องขององค์ความรู้ และทักษะ"
ถึงตรงนี้ "รศ.ดร.ศิริยุพา" จึงมองเสริมว่าวัฒนธรรมไทย หรือวัฒนธรรมตะวันตก Talent Management เป็นเรื่องของการสร้างคนเก่ง เพื่อนำไปสร้าง performance อีกที
"ในวัฒนธรรมตะวันตก อาจมีประชาธิปไตยมากกว่า หรือมีความอาวุโสสูงกว่า แต่ถ้าหยิบมาใส่ในสังคมไทย ปรากฏว่าจะมีการเล่นพรรคพวกเยอะ และก็จะทำให้ Talent Management ไม่สามารถสร้างเป็นจริงได้"
เช่นเดียวกัน ในมุมมองของ "โชค บูลกุล" กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัยบอกว่า การบริหารมนุษย์เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง เพราะเป็นพื้นฐานของชีวิต และประสบการณ์ ฉะนั้น จะทำอย่างไรถึงจะทำให้เขาอยู่ในครอบครัวเราอย่างมี ความสุข
"เราจึงต้องทำให้เขารู้สึกถึงคุณค่าของการทำงาน โดยไม่ว่าเขาจะอยู่ในตำแหน่งไหน ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์เสียก่อน จากนั้นจึงค่อยปูเรื่องให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร"
"กลุ่มบริษัทฟาร์มโชคชัยมีพนักงาน 1,500 คน และทุกคนจะต้องขึ้นมาทานข้าวกับผู้บริหาร เสมือนเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ขณะเดียวกัน ก็เป็นการให้เกียรติพนักงานไปในตัว ผมจึงมองว่า คนที่เป็นซีอีโอ จึงต้องพ่วงตำแหน่ง HRD เข้าไปด้วย"
"วัฒนธรรมฟาร์มโชคชัยนั้น เราต้องทำให้เขารู้ว่าเราเป็นสังคมเกษตร และในองค์กรของเราจะมีคนหลาย type มาก แต่สำหรับผมจะเลือกคน type B ที่ไม่จำเป็นจะต้องเก่ง หรือเลอเลิศ แค่เป็นคนดี คนเก่ง ขยันทำงาน นอกนั้นสามารถฝึกฝนกันได้ ทั้งสิ้น"
"ที่สำคัญอีกอย่าง ฟาร์มโชคชัยเป็นองค์กรที่เปิดเผย ซึ่งเหมือนกับตัวผมที่เป็นคนเปิดเผย ตรงไป ตรงมา ดังนั้น เวลาคุยอะไร เราก็คุยกันตรง ๆ แต่เราต้องมีใจให้เขาก่อน และเปิดใจรับฟังเขาก่อน และ เมื่อเราเปิดใจแล้ว เขาก็จะเปิดใจกับเรา"
ถึงตรงนี้ "วิธพล" จึงกล่าวเสริมว่า สำหรับเมอร์เซอร์ เราจะเลือกคนที่โปร่งใสก่อน ส่วนความรู้ ทักษะค่อยตามมา เพราะเราเชื่อว่าสามารถสอนกันได้
ต่อจากนั้น "โชค" จึงกล่าวถึงมุมมองของผู้บริหารที่ดูแลในส่วนของการตลาด ที่เขาจะต้องเป็นผู้สัมภาษณ์ และรับเข้ามาเองทั้งหมด เพราะคนกลุ่มนี้ก็ถือเป็น Talent อีกกลุ่มหนึ่ง
"ตอนนี้ผมพยายาม Drive องค์กรในเรื่องของ knowledge เป็นโครงการที่ชื่อว่าจากดินสู่ปัญญา โดยเราสอนคนให้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ทำจริง และตรงนี้นอกจากจะทำให้เขามีประสบการณ์เพิ่มขึ้น เขายังมีกระบวนการในการปรับเปลี่ยนทัศนคติด้วย"
"ผมเชื่อว่าการมีคนเก่งคนเดียวในองค์กรไม่มีปีระโยชน์ แต่ถ้าเราสามารถสร้างคนเก่งให้เป็นทีมขึ้นมา จะมีประโยชน์มากกว่า ดังนั้น คนที่เป็นผู้นำจึงต้องเล่านิทานเก่ง ต้องมีวิธีการพูดแบบ ผจญภัย และโลดโผน"
"ไม่ใช่เล่าไปเรื่อย โดยไม่ดูเลยว่า ลูกน้อง หรือบุคลากรของเราฟังในสิ่งที่เราพูดหรือเปล่า หรือฟังแล้ว ไม่เกิดจินตนาการเลย ก็ไม่มีประโยชน์ หรือฟังแล้วไม่เข้าใจ ก็ไม่เกิดประโยชน์เช่นกัน ผมถึงพูดไงว่า ผู้บริหารจำเป็นต้องเล่านิทานเก่ง และต้องเล่าแบบเห็นภาพด้วย ถึงจะทำให้เขาคล้อยตาม"
ซึ่งเหมือนจะเป็นเรื่องง่าย แต่ในความเป็นจริง แนวทางในการบริหารบุคลากร และองค์กร เป็นศาสตร์ และศิลป์เฉพาะตน และขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง
ทั้งในเรื่องของภาวะผู้นำ
ทั้งในเรื่องของวัฒนธรรมองค์กร
และรูปแบบของธุรกิจด้วยว่ามีการแข่งขันกันภายใน และภายนอกรุนแรงแค่ไหน เพราะถ้ามีการแข่งขันกันรุนแรงมาก ก็อาจทำให้เกิดแรงกระเพื่อมจากภายในสู่ภายนอกได้
เพราะอย่างที่ทราบมนุษย์ทุกคนต้องการประสบความสำเร็จในวิชาชีพ และมนุษย์ทุกคนต่างต้องการโอกาส การยอมรับ และสวัสดิการ โบนัสที่มากกว่ากว่าคนอื่น
ทั้งนั้นอยู่ที่ว่าคนที่เป็นผู้นำองค์กร จะบริหารความหลากหลายของคนในองค์กรอย่างไร ถึงจะทำให้ความหลากหลายบนความแตกต่างนั้น สามารถหลอมรวมไปในทิศทางเดียวกัน
อันนำไปสู่ความสำเร็จของการเป็น ทีมเวิร์ก
หรือนำไปสู่ความสำเร็จในธุรกิจ
อดีตทางเลือกนี้อาจมีไม่กี่ทาง แต่ปัจจุบัน "รศ.ดร.ศิริยุพา" ได้เปิดอีกทางเลือกหนึ่งให้ผู้บริหารระดับสูง และผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ของแต่ละองค์กร มีโอกาสนำเคล็ด (ไม่) ลับจากหนังสือ "สุดยอด แม่ไม้บริหารคนของประเทศไทย" มาปรับใช้บ้าง
อย่างน้อยก็ไม่ใช่เพื่อใคร
นอกจากบุคลากร และองค์กรแล้ว
ก็เพื่อสังคมของประเทศชาติของเรานั่นเอง ?
หน้า 25


วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4205  ประชาชาติธุรกิจ


อัพเดทล่าสุด