https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
วิกฤตทั้ง 5...ที่ CSR ควรเปลี่ยนเป็นโอกาส (1) MUSLIMTHAIPOST

 

วิกฤตทั้ง 5...ที่ CSR ควรเปลี่ยนเป็นโอกาส (1)


754 ผู้ชม


วิกฤตทั้ง 5...ที่ CSR ควรเปลี่ยนเป็นโอกาส (1)




คอลัมน์ CEO Talk
โดย พร้อมบุญ พานิชภักดิ์ เลขาธิการมูลนิธิรักษ์ไทย promboon@raksthai.org
ปี 2552 เป็นปีที่มีวิกฤตระดับชาติ และระดับบุคคลที่หลากหลาย รุมกระหน่ำภาวะที่เราเคยชิน หรือที่เรียกว่า "ภาวะปกติ" แต่ขณะเดียวกัน ผมเชื่อว่าขณะนี้ พ.ศ.นี้ เราทุกคนยอมรับว่าไม่ปกติ ความผิดปกติเหล่านี้ดูเหมือนกำลังคืบคลานในอัตราความเร็วที่มั่นคง ไปสู่ความเป็นวิกฤตในระดับชาติ
หากมาไล่แบบสั้นๆ วิกฤตเหล่านี้ รวมถึง
1.ภาวะเสื่อมทางสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร ธรรมชาติ และภาวะโลกร้อน - หลายคนยอมรับว่าอากาศปีนี้ผันผวน ทั้งช่วงเวลาที่หนาว เวลาที่ร้อน และร้อนจัด รวมถึงความถี่ของพายุต่างๆ นานา พร้อมกันนี้เกิดความวิตกว่าการเพิ่มของอุณหภูมิโลกที่กำลังเกิดขึ้นจริงจะส่งผลกับฤดูกาล ทำให้มีภัยพิบัติมากขึ้น โรคระบาด และภัยต่องานด้านเกษตรกรรม ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญที่สุดของมนุษย์ ซึ่งภาวะโลกร้อนมีผลจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติแบบไม่ยั่งยืน และความเสื่อมทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากมลพิษ และสารที่มนุษย์ผลิต
2.โรคระบาดรุนแรง ทุกวันนี้เราติดตามข่าว ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ A H1N1 ที่เริ่มระบาดจากประเทศเม็กซิโก ก่อนหน้านี้ก็มีโรคไข้หวัดนก โรคซาร์ส นอกจากนั้นโรคติดต่อรุนแรงเก่าๆ เช่น เอดส์ วัณโรคชนิดดื้อยา และโรคมาลาเรีย ก็ยังเป็นภัยที่เห็นชัด เราอย่าลืมว่าโรคเอดส์ที่ส่งผลให้คนเสียชีวิตในประเทศไทยเป็นแสนคนนั้น ก็เป็นเชื้อไวรัสที่มาจากต่างประเทศเช่นเดียวกับอีกหลายโรค
3.เศรษฐกิจครัวเรือนทรุดหนัก วิกฤตเศรษฐกิจก็เสมือนโรคระบาดที่ติดต่อจากระบบเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ สหรัฐอเมริกา และส่งผลแก่ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และแน่นอนผลที่รุนแรงเกิดแก่ครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวที่ยากจนอยู่แล้ว ในวิกฤตเศรษฐกิจครั้งที่ต้มยำกุ้ง จำนวนคนไทยที่จัดว่ายากจนเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 11.4 เป็นร้อยละ 15.9 ของประชากร ซึ่งจากการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ สัดส่วนคนจนได้ลดลงอีกครั้งหนึ่ง มาคราวนี้ก็เชื่อว่าสัดส่วนคนจนจะเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อวิกฤตในครอบครัว โอกาสการเรียนหนังสือของเด็กและเยาวชน และคุณภาพชีวิต โดยรวม
4.ความขัดแย้งในสังคม วิกฤตที่ต่อเนื่องจากวิกฤตทางการเมือง ส่งผลให้คนไทยทุกวันนี้เหมือนต้องมีอะไรเก็บไว้ในใจ ขณะมองคนอื่นเหมือนไม่สนิทใจเท่าเดิม ความแตกแยกนี้ได้ก่อเกิดวิกฤตทางสังคมและเศรษฐกิจหลายครั้งในช่วงเวลาไม่กี่ปี และยังอยู่ในภาวะอึมครึม ยังไม่ชัดเจนว่าจะเกิดการปะทุอีกหรือไม่
5.ความเครียด ในช่วงที่มีวิกฤตต้มยำกุ้ง ภาวะความเครียดของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก ปี 2552 วิกฤตต่างๆ มีความซับซ้อนและทับซ้อนมากขึ้น ทำให้ความเครียดในการทำงาน ความ เครียดในครอบครัว หรือในส่วนบุคคลยิ่งสูงขึ้น วิธีการลดความเครียดโดยใช้ทางศาสนาหรือการรับการรักษาเป็นช่องทาง
เลือก แต่วิกฤตทำให้คนไม่มีเวลาในการดูแลตนเอง หรือดูแลครอบครัวอย่างเพียงพอ
หากเรามองวิกฤตทั้ง 5 ข้อที่กำลัง กระหน่ำสังคมไทยทุกวันนี้ เป็นการง่ายจะสรุปว่าตัวใครตัวมันแล้วกัน ไม่ใช่สิ่งที่คนคนเดียว บริษัท หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งเข้าไปแก้ไขปัญหาได้ แต่หากท่านใส่หมวก CSR ท่านย่อมมองหาโอกาสในการทำงาน CSR ที่เกี่ยวข้องหรือลดผลกระทบจากวิกฤตทั้ง 5 ข้อที่กล่าวข้างต้น รวมถึงวิกฤตอื่นๆ ด้วย
หน้า 29

ที่มา : matichon.co.th

อัพเดทล่าสุด