https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เติมดอกผลกำไรใส่ธุรกิจ ต้องบริหารงบการเงินให้เป็น MUSLIMTHAIPOST

 

เติมดอกผลกำไรใส่ธุรกิจ ต้องบริหารงบการเงินให้เป็น


754 ผู้ชม


เติมดอกผลกำไรใส่ธุรกิจ ต้องบริหารงบการเงินให้เป็น




 - เคาะวิธีคิดเติมเต็มดอกผลกำไรให้ธุรกิจ ผ่านกูรูบริหารการเงินก้องโลก "ปีเตอร์ โฮ"
        - 3 องค์ประกอบสำคัญทางธุรกิจ เริ่มต้นที่ เงิน สินค้า และลูกค้า จะสร้างสมดุลกันอย่างไร?
        - เวลาเทคโอเวอร์กิจการ คำนึงถึงปัจจัยอะไรบ้าง? ในเมื่อกำไรขาดทุนเป็นเพียงแค่ตัวเลข
        - ก่อนควักเงินในกระเป๋าซื้อสินทรัพย์ ต้องดูให้แม่น คิดให้ถ้วน ว่าก่อให้เกิดรายได้แล้วหรือยัง?
       
        บริหารธุรกิจไม่ใช่เก่งแค่คิดหรือวางแผนกลยุทธ์ เพราะสุดท้ายแล้วต่อให้ระดมสรรพกำลังลงไปเท่าไร? แต่ถ้าผลกำไรไม่คืนกลับมา ทุกอย่างก็คือความว่างเปล่า
       
        บริหารแบบไหน? ถึงจะเกิดกำไร ไม่รู้เรื่องการเงินแล้วจะทำธุรกิจได้ไหม? ลองมาชาร์จแบตความคิด เพิ่ม financial management skill & strategies กับ world top master trainer "ปีเตอร์ โฮ"
       
        หลายเรื่องที่ค้างคาใจ คุณจะได้ "ตัวช่วย" ไปบริหารกิจการ พร้อมวิธีคิดแบบ chill chill
       
       3 องค์ประกอบทำธุรกิจ
       
        ปีเตอร์ โฮ กูรูบริหารจัดการทางด้านการเงินและบัญชีระดับโลก เปิดฉากความคิดในการทำธุรกิจว่า ต้องเริ่มต้นจาก 3 องค์ประกอบสำคัญคือ เงิน สินค้า และลูกค้า ถัดมาคือความสำคัญเกี่ยวกับบริหารจัดการการเงิน และขั้นตอนต่างๆ
       
        เทคนิคการเรียนรู้เกี่ยวกับการเงินและบัญชี โฮจะบอกเล่าผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า Accelerated Learning Techniques (ALT) ซึ่งทำให้การเรียนรู้ในเรื่องยากๆ น่าเบื่อ กลับกลายเป็นเรื่องสนุกอย่างไม่คาดฝัน มีประสิทธิภาพประสิทธิผลและเพิ่มหน่วยความจำในสมองได้เป็นอย่างดี ด้วยการฝึกสมองทั้งสองซีกให้สมดุลกัน เน้นความคิดสร้างสรรค์ และเพิ่มพูนทักษะการคำนวณ
       
        "ลูกค้าคือเครื่องมือในการแปลงสินค้ามาเป็นเงิน ดังนั้นเราก็ต้องขายสินค้าในราคาที่ลูกค้าเต็มใจจะจ่าย เมื่อซื้อสินค้ามาในราคาหนึ่งและขายออกไปในราคาหนึ่ง ทำให้เกิดผลกำไรคืนกลับมา สินค้าจึงถือเป็นเงินอีกรูปแบบหนึ่ง เพราะเปลี่ยนรูปได้ และเงินก็เหมือนเลือดมาหล่อเลี้ยงธุรกิจ ทำธุรกิจแล้วไม่มีเงินก็เจ๊งแน่นอน ฉะนั้นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการบัญชีไม่มีอะไรมาก แค่เก็บข้อมูลของรายการที่เกิดขึ้นจากเงิน สินค้า และลูกค้ามาเท่านั้น"
       
        โฮบอกต่อว่า สินค้าเดินเข้ามาแล้วเดินออกไปหาลูกค้า จากนั้นเงินก็คืนกลับมาหาเจ้าของ แล้วก็ออกไปซื้อสินค้าวนเวียนเป็นวัฏจักรอยู่แบบนี้ การที่มียอดขายเยอะๆ ถือเป็นสิ่งที่ดี แต่ว่าการขายโดยไม่มีเงินสด ก็ไม่ต่างอะไรกับการฆ่าตัวตายดีๆ นี่เอง
       
        ดังนั้นต้องรู้จักบริหารเวลาที่ขายสินค้าออกไปแล้วได้เงินสดเข้ามาทันที หรือต้องมีเวลาในการเรียกเก็บ ขณะเดียวกันการชำระค่าสินค้าให้ซัปพลายเออร์ ก็ต้องมองต่อว่าเราจะจ่ายเป็นเครดิตดีหรือว่าเป็นเงินสดดี และสิ่งสำคัญก็คือ การบริหารเงินที่ได้มาจากลูกค้า ต้องบริหารให้เร็วกว่าเงินที่จ่ายออกไป
       
       จะเทคโอเวอร์ควรดูอะไร?
       
        โฮบอกว่า เวลาดูว่าเราควรซื้อบริษัทหนึ่งดีไหม? ต้องดูว่าสถานภาพทางการเงินเป็นอย่างไร? ดูเรื่องของกำไรขาดทุนซึ่งเป็นความสามารถในการประกอบการ แสดงถึงการเติบโต ถัดมาดูงบดุล ที่เปรียบเหมือนสุขภาพองค์กร ว่าเข้าข่ายต้องรัดเข็มขัดไหม? สุดท้ายดูกระแสเงินสด ว่าแต่ละเดือนเงินเข้ามาสม่ำเสมอหรือไม่? เพราะต้องไม่ลืมว่า การขายที่เก็บเงินไม่ได้คือการฆ่าตัวตาย บางครั้งตัวเลขในกำไรขาดทุนก็เป็นแค่ตัวเลข ไม่ได้สะท้อนข้อเท็จจริง และกำไรไม่ได้หมายถึงเงินสดเสมอไป
       
        "ถ้าดูว่าบริษัทมีประสิทธิภาพดำเนินงานหรือเปล่า? ให้ดู input กับ output ให้ดูค่าใช้จ่ายทั้งหมดหารด้วยรายได้ที่เข้ามา เปรียบเทียบบริษัทว่าดีหรือไม่ดี ให้เปรียบเทียบกับปีที่แล้ว เทียบกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ตั้งแต่ต้นปี การดูแค่เปอร์เซ็นต์ตอบไม่ได้ว่าบริษัทนี้ดีหรือไม่ดี แต่ต้องมีตัวเปรียบเทียบด้วย งบการเงินหลายอันดูเผินๆ แล้วดูดี แต่บางทีไม่มีเงินสด เราต้องเน้นมากในเรื่องกระแสเงินสด" โฮกล่าว
       
        เขากล่าวอีกว่า การวิเคราะห์ศักยภาพบริษัทก่อนคิดจะซื้อกิจการ ต้องดู 4 อย่าง 1. what ดูว่าบริษัททำอะไร ขายสินค้าประเภทไหน? 2. worth บริษัทมีค่าเท่าไหร่? ดูงบดุล งบการเงิน ดูกระแสเงินสด 3. analysis วิเคราะห์ในเชิงลึก และ 4. audit ตรวจสอบ equity ที่มีน้อยหรือเยอะว่ามีสาเหตุมาจากอะไร? อย่าให้ตัวเลขมาเป็นตัว drive ความคิด แต่ต้องรู้จัก drive ตัวเลขให้เป็น don''''t let numbers drive you crazy, you drive them to what you want.
       
       ซื้อสินทรัพย์ต้องก่อเกิดรายได้
       
        ในการทำธุรกิจ เจ้าของเงินคือคนลงทุนเบื้องต้น แต่เมื่อเงินไม่พอก็ต้องไปกู้เขามา จะเป็นใครก็ได้ ผลตอบแทนของเจ้าของเงินเหล่านี้ก็คือดอกเบี้ย สุดท้ายก็คือเงินทั้งสองส่วนก็คือต้นทุนในการทำธุรกิจ เป็นเงินที่มีค่าใช้จ่ายไม่ได้เอามาฟรีๆ ดังนั้นสิ่งที่คืนกลับมาต้องทำให้ได้มากกว่า เพื่อให้คุ้มค่ากับดอกเบี้ยและต้นทุนของเงินที่เอามาใช้ "เงินที่ไปยืมมาดีที่สุดคือเงินของพ่อแม่ญาติพี่น้อง เพราะไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเหมือนเงินแบงก์ อย่างเช่นเงินแม่ยายก็ถือเป็นการหยิบยืมที่น่าสนใจ" โฮแนะนำ
       
        เขาบอกต่อว่า เงินที่ได้ต้องเอามาซื้อสินทรัพย์ นอกเหนือไปจากสินค้าที่จะขาย ต้องหมดไปกับอาคารบ้านเรือน อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน ดังนั้นจึงต้องซื้อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ อย่าเอาไปจมกับรถยนต์ราคาแพงๆ แต่ไม่ช่วยในการหารายได้ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ อย่างเงินเดือนพนักงาน ก็ถือเป็นอุปกรณ์สิ้นเปลืองใช้แล้วหมดไป ต้องบริหารให้ดี ถ้ารับคนเข้ามาทำงานแล้วไม่ก่อให้เกิดรายได้ ก็ถือเป็นเส้นเลือดอุดตันในบริษัทอีกเส้น ขณะที่สิ่งสำคัญอีกอย่างคือสินค้าคงคลังหรือสต็อก ถ้ามีเยอะแล้วปล่อยออกมาเป็นเงินไม่ได้ก็ทำให้บริษัทอุดตันอีกเช่นกัน หรือขายดีเป็นเทน้ำเทท่าแต่ยังเก็บเงินไมได้ ก็ถือเป็นเส้นเลือดอุดตัน เป็นเรื่องอันตราย
       
        กูรูการเงินกล่าวต่อว่า ในระดับบริษัท วิธีดูกำไร ดูยอดขาย ดูต้นทุนในการขาย จะได้กำไรเบื้องต้นหักค่าใช้จ่ายเป็นกำไรสุทธิ ในระดับสินค้าให้มองแต่ละชิ้นว่า ชิ้นไหนทำกำไรได้มากสุด ไม่ใช่หลับหูหลับตาขายแต่สินค้าที่ทำกำไรน้อย จึงต้องเริ่มวิเคราะห์ระดับสินค้าด้วย โดยใช้วีธีคำนวณแบบเดียวกับระดับบริษัท
       
        คือเอาราคาขายหักด้วยต้นทุนผกผัน จะได้ตัวที่เรียกว่า contribution (ตัวทำเงิน) ลบด้วยค่าใช้จ่ายคงที่ ก็จะได้กำไรสุทธิ จะได้รู้ว่าจะฉลาดขายอะไร? แล้วเวลาใครมาต่อสินค้า จะลดราคาสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้ เพราะของบางอย่างลดได้เยอะเพราะกำไรเยอะ แต่บางอย่างก็ลดไม่ได้ ต้องเน้นขายของหลายๆ อย่างผสมปนกันไป ต้องตั้งราคา ลดราคาให้เป็น ไม่ใช่ทำไปแล้วไม่ได้กำไร หรือถึงขั้นขาดทุนก็มีถ้าคิดแบบนี้ไม่เป็น
       
        "วิธีเพิ่มกำไรวิธีไหนฉลาดสุด คือเพิ่มราคา เพราะไม่กระทบตัวอื่น เพียงแต่ต้องหามูลค่าเพิ่มให้สินค้าให้ได้ ก็ต้องไปดูเรื่องของการวิจัยพัฒนาเพิ่มมูลค่าให้สินค้า ไปดูว่าลูกค้าเต็มใจที่จะจ่ายอะไร? ดีกว่ามานั่งแข่งขันลดราคา แต่ถ้าลดราคาแล้วขายเพิ่มขึ้นก็ต้องไปดูว่าจะไปกระเทือนต้นทุนคงที่แค่ไหน? ขายมากขึ้นแต่ราคาลดลง ไม่ได้เป็นตัวบอกว่ากำไรเพิ่มขึ้น แล้วต้องขายเท่าไหร่ถึงจะคุ้มกับที่ลดราคาไป
       
        การลงทุนใดๆ ต้องมั่นใจให้ได้ว่าทำให้เรามีกำไรหรือคืนกลับมามากขึ้น ไม่ใช่มารองรับความหรูหราอลังการ์ส่วนตัว การลงทุนในสินทรัพย์ที่ต้องใช้เงิน ต้องวิเคราะห์การที่จะตัดสินใจลงทุน ต้องดูว่าภายในกี่ปีถึงจะคืนกำไรกลับมาได้เท่าไหร่ แล้วสินค้าหรืออุปกรณ์ที่ซื้อมามีอายุการใช้งานกี่ปี และรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนครั้งนี้มีอะไรบ้าง?"
       
       เงินวันนี้ VS เงินอนาคต
       
        โฮพยายามสอนให้คิดว่าเงินวันนี้กับเงินในอนาคตมีค่าต่างกันหรือไม่? เพียงไร? ถ้าเรามองว่า เงืนคือเลือด ก็เป็นการสอนให้คิดว่า เรามีกระแสเงินสดเป็นเท่าไหร่? ก็ต้องมาดูเรื่องรายได้และเงินที่จะเข้ามาในอนาคต
       
        สุดท้ายแล้วนักธุรกิจต้องสร้างสมดุล การวางแผน การลงบัญชี ขณะที่การลงบัญชีเป็นเพียงแค่บันทึกสิ่งที่ผ่านมาแล้ว เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหรือเจอปัญหาอะไร? นักบริหารต้องลงมือปฏิบัติ และเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น เวลาสต็อกเยอะก็อย่าดูแค่ว่าสต็อกเยอะ แต่ดูเลยไปว่าเกิดจากอะไร? จะแก้ไขได้ที่จุดไหน? แล้วมาทำแผนรับมือประกอบกัน
       
        โฮสรุปว่า ผลกำไรทางธุรกิจจะเกิดขึ้นได้ และบริษัทจะมีค่ามากน้อยแค่ไหน? ก็ต้องดูใน 3 เรื่องประกอบกันคือ กำไรสุทธิ งบดุล กระแสเงินสด ตรวจสอบว่าตัวเลขบางตัวถ้ามีปัญหา ดูว่าเกิดอะไรขึ้น? ไม่ใช่ดูแล้วบอกเลยว่าแย่ แต่ต้องถามลึกลงไปอีก ดูตัวเลขว่าปัญหามาจากที่ไหน?เปรียบเทียบกับปีที่แล้ว กับตลาด กับงบที่ตั้งไว้ เพราะบอกไม่ได้หรอกว่าอัตราส่วนการเงินเหล่านี้ดีหรือไม่ดี อย่าไปบ้ากับตัวเลข แต่ต้องวิเคราะห์ให้ดี
       
        "บัญชีไม่ยากหรอกแค่การลงบันทึก กำไรสุทธิ งบดุล และกระแสเงินสด" คาถาการเงิน chill chill ที่โฮบอกเอาไว้สั้นๆ
       
       เรียบเรียงจากงานสัมมนา "Profitable Financial Management in Action by Peter Ho" จัดโดย บริษัท Results Plus International จำกัด ต้นเดือนต.ค. ที่ผ่านมา ณ โรงแรม Swissotel Le Concorde รัชดาภิเษก กรุงเทพฯ

 

 

 

แหล่งข้อมูล  : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ


อัพเดทล่าสุด