https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
BRAND ของผู้บริหาร MUSLIMTHAIPOST

 

BRAND ของผู้บริหาร


807 ผู้ชม


BRAND ของผู้บริหาร




ศ.ดร.นพ.วิทยา นาควัชระ (จิตแพทย์)
       
        ผู้เขียนได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษให้ผู้บริหารของกรมประมงจากทั่วประเทศ เกือบ 500 คนฟัง ในหัวข้อ "จิตวิทยานักบริหาร" ที่ห้องประชุมใหญ่ของโรงแรมแห่งหนึ่ง เมื่อเร็ว ๆ นี้
       
        จิตวิทยาการบริหารนี้ คนละเรื่องกับยุทธวิธีการบริหาร (แนวใหม่หรือเก่าก็ตาม)
       
        เพราะการมีจิตวิทยาในการบริหารได้ ต้องใช้ "จิต" ของผู้บริหาร ( จิต คือความคิด ความรู้สึก อารมณ์ ทัศนคติ) เข้าไปผูกพันหรือสัมผัสกับจิตของผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า หรือนาย
       
        จิตของคนนั้นแปรเปลี่ยนได้ตลอด ไม่หยุดนิ่ง ต้องรู้จักนำ "ด้านที่ดีของจิต" ของผู้บริหารไปกระตุ้นผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมทำงานด้วย ให้หัน "จิตส่วนที่ดี" ของเขาออกมาสัมผัสกันให้ได้
       
        ถ้าผู้บริหารส่งจิตหรือหันจิตด้านไม่ดีของตัวเอง (ความก้าวร้าว อหังการ อิจฉา ริษยา หยิ่ง อวดรู้ ฯลฯ) เข้าหาคนอื่น คนอื่นๆ ก็จะระดมส่งจิตส่วนที่ไม่ดีออกมาต่อต้านทันที
       
        การจะปรับระดับและทิศทางของ "จิต" ของผู้บริหารได้นั้นเป็นสิ่งยาก เพราะผู้บริหารมักจะมีอคติ เข้าข้างตัวเอง ชินต่อการเป็นผู้รับ (Taker) ชอบการสั่งการ แสดงอำนาจ ทำให้เคยชินหรือเผลอสั่งจิตด้านไม่ดีไปหาผู้อื่นเสมอ จนเป็นนิสัยหรือสันดาน ทำให้เกิดอุปสรรคในการบริหารมากมาย
       
        วันนั้นผมได้ประยุกต์การบรรยายให้เข้าใจง่าย โดยใช้วิธีการจิต-พฤติกรรมวิเคราะห์ ร่วมกับการพัฒนาจิตใต้สำนึกให้มีสุขภาพจิตดี (EQ ดี) และเสริมด้วยหลักการบริหารจัดการองค์กร (คนส่วนใหญ่จะชินการฟังหลักการบริหารจัดการอยู่แล้ว แต่ถ้าผสมผสานด้วยหลักอีก 2 หลักดังกล่าว จะได้รสชาติและเนื้อหาที่แปลกออกไป)
       
        ข้อแนะนำต่าง ๆ จึงโดนใจผู้ฟัง ทั้งที่เป็นชั่วโมงตอนบ่าย แต่ไม่มีคนหลับ ทุกคนสนใจรับฟังด้วยท่าทางสนใจมาก
       
        ตอนท้าย ผมได้กล่าวเสริมเรื่องการสร้างลักษณะพิเศษเฉพาะของผู้บริหารแต่ละคน ที่จะก้าวหน้า โดดเด่น ต่อไป (อย่างที่ชอบเรียกผู้บริหารกันว่า CEO) ซึ่งจำเป็นต้องสร้างลักษณะเฉพาะตัวที่เด่น ทำให้คนจำได้แม่น ที่เรียกว่า "BRAND" ชนิดที่พอเอ่ยชื่อคนทั่วไปก็นึกลักษณะเด่นของผู้บริหารคนนั้นออก เช่น การรับผิดชอบ กล้าพูด กล้าทำ กล้าทวนกระแส
       
        หลัง ๆ นี้มีผู้บริหารพยายามสร้าง BRAND กันมาก ทั้งนักการเมืองระดับประเทศ ระดับท้องถิ่น หรือผู้บริหารทั่วไป ขนาดมีบริษัทรับจ้างสร้าง Brand ให้ผู้บริหารแล้ว
       
        แต่ยังมีผู้บริหารอีกจำนวนมากที่ไม่พัฒนา BRAND ของตนเอง ยังใช้ BRAND เก่า ๆ คิดว่าโก้ดีแล้ว แต่หารู้ไม่ว่าพอเอ่ยชื่อเขาก็รู้ว่าคนนี้มี BRAND เป็นอะไร เช่น จอมรีดไถ เจ้าอารมณ์ เผด็จการ เต่าล้านปี ครึ่งผีครึ่งคน น้ำกลิ้งบนใบบัว ฯลฯ
       
        BRAND อย่างนี้จะไปขายใคร......ต้องถึงอวสานของตัวเองในเร็ว ๆ วันแน่ ๆ
       
        ลักษณะการสร้างแบรนด์กับพื้นฐานการศึกษาของผู้บริหารก็มีส่วนสำคัญ
       
        นักบริหารที่มาจากการศึกษาสายวิทยาศาสตร์ อาจจะสร้าง Brand ให้งดงามได้ยากกว่าพวกที่มาจากสายสังคมศาสตร์
       
        เพราะพวกเรียนวิทยาศาสตร์มักเอาจริงเอาจัง เป็นเหตุเป็นผล ยอมหักไม่ยอมงอ มองอะไรเป็นสีดำ-ขาว ไม่ผิดก็ถูก ไม่ดีก็เลว ทำให้แลดูเป็นคนตรง ๆ พูดตรงโผงผาง ไม่พลิ้วไหว
       
        แต่พวกที่เรียนมาทางด้านสังคมศาสตร์ หรือการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การตลาด น่าจะพลิ้วไหวตัวเองได้ง่ายกว่า บางคนกลมเป็นลูกปิงปอง จะบริหารอะไรก็ใส่ Brand ให้ตัวเองแลดูโดดเด่น โดยแฝงการประชาสัมพันธ์ตัวเองเข้าไปเต็มที่ ใช้รูปลักษณ์ หน้าตา ภาษาพูดที่เฉียบคม ท่วงทีท่วงท่าเหมือนนักแสดง ทำให้คนหลงเชื่อ เทใจชอบ เทคะแนนให้มากมาย
       
        แต่ผลสุดท้ายของงานบริหารก็ไม่มีอะไร แลดูเหมือนเป็นพระเอกลิเก รำป้อ หน้าหล่อ พูดเพราะ เปิดงาน – ปิดงาน ไปวัน ๆ
       
        แต่ก็ยังมีแม่ยกตามเชียร์กันอีกมาก
       
        เมื่อไรเมืองไทยจะพ้นวิบากกรรม จะได้มีผู้บริหารดี ๆ มีคุณภาพมาบริหารสังคมในระดับต่าง ๆ ได้มีประสิทธิภาพเสียที
       
        โดยประชาชนสามารถมองเห็นความมีคุณภาพได้ชัดเจน มากกว่าการมองเพียงแค่ Brand และการโฆษณา

 

แหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ


อัพเดทล่าสุด