https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
มองเทรนด์บริหารจัดการ 2010 ในมุมที่ปรึกษา MUSLIMTHAIPOST

 

มองเทรนด์บริหารจัดการ 2010 ในมุมที่ปรึกษา


756 ผู้ชม


มองเทรนด์บริหารจัดการ 2010 ในมุมที่ปรึกษา




"อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา" ที่ปรึกษางานด้านการพัฒนาองค์ชี้ 5 เทรนด์บริหารจัดการองค์กรในปี 2010

จากนี้จะมีศัพท์แสงแปลกใหม่ทางด้านการพัฒนาคนโดยอาศัยเทคโนโลยี นอกเหนือ E-Learning ที่คุ้นเคยแล้ว ก็คือ Webinar,Teleclass,podcast

ทิศทางการบริหารจัดการสำหรับปี ค.ศ. 2010 มีอยู่ 5 ข้อสำคัญที่องค์กรธุรกิจต้องพิจารณาจัดหากลยุทธ์มาตั้งรับ หรือเพื่อเดินเชิงรุก

นี่คือมุมมองของ อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออคิด สลิงชอท จำกัด ซึ่งปัจจุบันเขายังเป็นที่ปรึกษางานด้านการพัฒนาองค์กร  (Organization Development) หรือ  ODให้กับองค์กรธุรกิจชั้นนำไทยหลายแห่ง

และในวินาทีก็คงไม่ต้องชี้แจงกันอีกต่อไปว่าทำไมองค์กรธุรกิจต้องตระหนักถึงเรื่องความเปลี่ยนแปลง  ด้วยมีบาดแผลจากความเสียหายจำนวนมากที่ยังทิ้งร่องรอยและยังไม่หายสนิท   ซึ่งเทรนด์ 5 ข้อดังกล่าวก็คือ

ข้อแรก  การโยกย้ายงาน จะมีมากขึ้น ดังนั้นเรื่องการบริหารพนักงานดาวเด่น (Talent Management) ในองค์กรจะมีความสำคัญมากขึ้น ทั้งในเรื่องของการสรรหา พัฒนา และรักษาพนักงานเหล่านี้  นอกจากนั้นการสรรหาทายาท (Succession Planning) ก็จะเป็นอีกหนึ่ง โปรแกรมที่จะเป็นจุดสนใจของทุกๆ องค์กร

"ผมเชื่อว่าเศรษฐกิจปี 2010 จะมีแนวโน้มดีขึ้น  เพราะมองเห็นว่ามีข่าวด้านบวกมากกว่าด้านลบทำให้ทุกธุรกิจจะกระเตื้องขึ้นพร้อมๆ กับแผนขยายตัว    ดังนั้นจำนวนพนักงานย่อมต้องมีเพิ่มขึ้นเช่นกัน เรียกว่าปีหน้าจะเป็นปีทองของบริษัทจัดหางาน ส่วนองค์กรก็ต้องคำนึงถึงเรื่อง Employee Engagement หรือ ความผูกพันของพนักงาน เพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียพนักงานเก่งและดีไป"

ข้อที่สอง  สหภาพแรงงานจะมีความสำคัญและเข้มแข็งมากขึ้น สาเหตุมาจากในช่วงเศรษฐกิจไม่ดีทำให้มีการเลิกจ้าง หรือปรับลดค่าจ้างและสวัสดิการ พนักงานค่อนข้างมาก จึงทำให้พนักงานรวมกลุ่มกันเพื่อต่อรองกับนายจ้าง และหลายๆ องค์กร การรวมกลุ่มดังกล่าวค่อนข้างได้ผลเลยทำให้พนักงานจำนวนมากเห็นประโยชน์ของการมีสหภาพแรงงาน

อภิวุฒิบอกว่าแนวทางในการรับมือที่ดีที่สุดก็คือ ต้องสื่อสารให้มากขึ้น  สหภาพแรงงานส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นเพราะพนักงานคิดว่าถ้าไม่รวมตัวกันก็หมายถึงไม่มีอำนาจ  องค์กรจึงควรเปิดให้มีช่องทางในการสื่อสารใหม่ๆ หลายๆ ช่องทาง โดยเฉพาะช่องทางที่พนักงานสามารถสื่อสารถึงผู้บริหารระดับสูงได้โดยปลอดภัย 

อีกปัจจัยหนึ่งที่เขาเชื่อว่าทำให้บรรยากาศผ่อนคลายได้ก็คือ ผู้บริหารควรต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติตัวเองเสียใหม่ โดยเปิดรับความคิดเห็นจากพนักงานข้างล่างให้มากยิ่งขึ้น ไม่แค่ใช้อำนาจเอาแต่ "สั่ง" เพียงอย่างเดียว


ข้อที่สาม ช่องว่างระหว่างวัยในองค์กรเพิ่มขึ้นจนก่อให้เกิดเป็นความขัดแย้ง เพราะในช่วงที่ผ่านมาพนักงานที่มีอายุมาก (Baby Boom  และGen X) ทยอยออกจากองค์กรไป และการรับพนักงานใหม่ถูกอั้นไว้เป็นเวลาพอสมควร เมื่อเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น แนวโน้มการจ้างงานจะมีสูงขึ้น และพนักงานที่รับเข้ามาใหม่ มักเป็น Gen Y อายุยังน้อย

องค์กรจึงควรมีการส่งเสริมให้พนักงานรุ่นเก่า กับพนักงานรุ่นใหม่สามารถทำงานร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น เช่น  มีโครงการพี่เลี้ยง ให้คนรุ่นเก่านำทักษะและประสบการณ์สอนคนรุ่นใหม่  ซึ่งในทางกลับกันก็ควรมีโครงการ "พี่เลี้ยงกลับด้าน" (Reverted Mentoring) ซึ่งหมายถึงการให้คนรุ่นใหม่ชี้แนะในเรื่องที่คนรุ่นเก่าไม่ค่อยรู้เช่น เทคโนโลยี  เป็นต้น

นอกจากนั้นระบบการบริหารบุคลากร เช่น สวัสดิการ และผลประโยชน์ต่างๆ ก็ต้องออกแบบให้เหมาะกับพนักงานในแต่ละรุ่นด้วย เพราะความคาดหวังของ คนรุ่น Baby Boom&Gen X ย่อมแตกต่างจากคนรุ่น Gen Y อย่างแน่นอน

ข้อที่สี่  องค์กรให้ความสนใจในเรื่อง จริยธรรม จรรยาบรรณ การรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น  อย่างไรก็ตามที่ผ่านมากระแสสังคมเริ่มพูดถึงความเก่ง และความดีของคนกันอย่างกว้างขวาง และมีแนวโน้มเหมือนว่าจะกลายเป็นวาระของชาติไปแล้วสำหรับการให้ความสำคัญกับความดี ความมีจรรยาบรรณ  และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ประเทศชาติ สิ่งแวดล้อม

ทั้งได้ยกตัวอย่าง มาบตาพุด ว่าน่าเป็นกรณีที่จุดชนวนความตื่นตัวในเรื่องดังกล่าวได้อย่างมหาศาล และทำให้ทุกคนในองค์กรหันมาสนใจความรู้ความเข้าใจในเรื่องของ CSR, Ethic, Code of  Conduct, Good Governance  มากขึ้น และร่วมไม้ร่วมมือกันทำอย่างจริงจัง

ข้อที่ห้า  องค์กรต้องเร่งฝีเท้าไล่กวดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี   ไม่ว่าจะ 3G เรื่อง Web 2.0 หรือ แม้แต่กระแสของ Social Network  ดังนั้นการบริหารจัดการต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับแนวโน้มในข้อนี้ อาทิเช่น  การสรรหาพนักงานอาจต้องอาศัยช่องทางที่เป็น 
Social  Networking,Facebook,Twitter และ  Linkedin  แทนที่ช่องทางเดิมๆ อย่างหนังสือพิมพ์ หรือเว็บไซต์หางานทั่วๆ ไป เป็นต้น

"ไม่เว้นในเรื่องการพัฒนาบุคคล ที่เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เดิมเราทำเรื่องนี้กันในห้องเรียนเท่านั้น แต่จากนี้จะมีศัพท์แสงแปลกใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคนโดยอาศัยเทคโนโลยี  นอกเหนือจาก E-Learning ที่เราคุ้นเคยแล้ว Webinar,Teleclass,podcast ก็กำลังจะกลายเป็นคำที่คุ้นชินในเร็ววันนี้"

อภิวุฒิยังบอกด้วยว่า เมื่อเร็วๆ นี้เขามีโอกาสอ่านบทความในนิตยสารต่างประเทศฉบับหนึ่งซึ่งสัมภาษณ์เด็กวัยรุ่นชาวอเมริกัน และพบว่ามีข้อความหนึ่งที่สะดุดตาสะดุดใจเป็นอันมาก เพราะคำกล่าวของวัยรุ่นอเมริกันที่ว่า คนรุ่นเก่า (ในสายตาของพวกเขา) นั้นยังคงใช้ Email ในการสื่อสาร แต่สำหรับพวกเขาจะสื่อสารกันทางเอ็ม (MSN) และ Short Message  (ทั้งๆ ที่คนไทยเพิ่งจะใช้ Email ได้คล่องกันเมื่อไม่นานมานี่เอง)

ซึ่งเป็นหน้าที่องค์กรที่จะต้องฝึกฝีเท้า (อย่างหนักหน่วง) เพื่อไล่ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่วันนี้อาจจะไวกว่าแสงไปแล้ว

ที่มา : bangkokbiznews.com

อัพเดทล่าสุด