https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
สุดทึ่ง! 9 วิธีที่จะทำให้ห่างจากอาการเข่าเสื่อม ด้วยตนเอง ทำไงมาดูกัน MUSLIMTHAIPOST

 

สุดทึ่ง! 9 วิธีที่จะทำให้ห่างจากอาการเข่าเสื่อม ด้วยตนเอง ทำไงมาดูกัน


1,193 ผู้ชม

เข่าเสื่อม เป็นอาการที่รักษาไม่หายขาด และมักจะมีอาการปวดเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ถึงแม้ว่าจะเป็นอาการที่ไม่ร้ายแรงถึงชีวิต ผู้ป่วยมักทุกข์ทรมาน


สุดทึ่ง! 9 วิธีที่จะทำให้ห่างจากอาการเข่าเสื่อม ด้วยตนเอง ทำไงมาดูกัน

วิธีป้องกันเข่าเสื่อมได้ด้วยตนเองกัน กับ 9 วิธีที่จะทำให้ห่างจากอาการเข่าเสื่อม


เข่าเสื่อม เป็นอาการที่รักษาไม่หายขาด และมักจะมีอาการปวดเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ถึงแม้ว่าจะเป็นอาการที่ไม่ร้ายแรงถึงชีวิต ผู้ป่วยมักทุกข์ทรมาน


แนวทางป้องกันไม่ให้เข่าเสื่อม
1. อย่ากินและนั่งมากจนอ้วน พบว่าถ้าลดน้ำหนักตัวลงได้ประมาณ 5 กิโลกรัม สามารถลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเข่าเสื่อมได้ถึงร้อยละ 50 มีหลักฐานยืนยันในผู้มีอาการปวดเข่า พบว่าอาการปวดจะดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญถ้าน้ำหนักตัวลดลง
2.โครงสร้างเข่าผิดปกติ ลักษณะของโครงสร้างเข่าปกติมีหลายชนิด (เข่าโก่ง เข่าชิด หรือเข่าแอ่น) ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางแก้ไขตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น การเสริมรองเท้า การใส่อุปกรณ์ช่วยพยุง หรือถ้าไม่สามารถทำอะไรได้
3. หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาปะทะที่จะนำมาซึ่งอาการบาดเจ็บของเข่า ควรเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ ไม่ใช่เอามัน ไม่ควรเสี่ยงปะทะ เอาชนะกันอย่างเอาเป็นเอาตาย
4.ไม่ควรอยู่ในท่าคุกเข่า นั่งยอง ยืน เป็นเวลานาน ผู้ที่ต้องคุกเข่าทำงานอาจต้องหาวัสดุที่นิ่มมารองบริเวณเข่าเพื่อกระจายแรงกด ถ้าจำเป็นอยู่ในท่าเหล่านี้นานๆ ให้พยายามเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ เพื่อให้แรงกดที่ข้อสลับเปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ ในกิจกรรมทางศาสนาที่ต้องนั่งพับเพียบกับพื้นเป็นเวลานาน ให้สลับนั่งพับเพียบซ้าย-ขวาบ่อยๆ ไม่ควรรอจนเข่าปวดแล้วจึงขยับ
5.เลี่ยงกิจกรรมที่มีแรงกระแทกหรือแรงบิดต่อข้อเข่าสูง เช่น การกระโดดซ้ำๆ การยกของหนักเกินกำลัง การหมุนตัวด้วยการใช้หัวเข่า
6.ลองวัดความยาวขาดู นอนหงาย ปล่อยขาตามสบายแต่ไม่กาง ให้เพื่อนคลำปุ่มกระดูกบริเวณที่เท้าสะเอว และกลางตาตุ่มของเท้าด้านใน วัดระยะห่างจากทั้ง 2 จุดในขาข้างหนึ่ง ถ้าขาสองข้างยาวไม่เท่ากันเกิน 2 เซนติเมตร ต้องเสริมรองเท้าในระยะที่ขาด
7.ออกกำลังกล้ามเนื้อหน้าขาให้แข็งแรง อาจใช้วิธีการที่ทำกันทั่วไป คือ ถุงทรายน้ำหนัก 1-2 กิโลกรัม มาผูกกับข้อเท้า นั่งห้อยขาแล้วยกขึ้น-ลง ช้าๆ ถ้าได้ 10 ครั้ง แล้วเมื่อยพอดี ให้ทำซ้ำอีก 2 เซท หรือจะออกกำลังด้วยการยืนย่อเข่าทั้ง 2 ข้างประมาณ 20 องศา ค้างไว้ 1 วินาที แล้วเหยียดเข่า ทำซ้ำประมาณ 10 ครั้ง ถ้ารู้สึกว่าง่ายไป อาจยืนขาเดียวพิงฝา ปรับจนทำได้ประมาณ 10 ครั้ง แล้วเมื่อยพอดี ทำซ้ำอีก 2 เซท
8. ถ้ามีอาการบาดเจ็บของเข่า มีอาการบวม ต้องทำการรักษา และงดการทำกิจกรรมที่ทำให้มีอาการปวดมากขึ้น เมื่อหายยังไม่สนิทต้องระวังไม่ให้เป็นซ้ำและอย่าปล่อยให้มีอาการเรื้อรัง
9. ไม่ควรใส่ส้นสูง จะทำให้เข่าแอ่น มีโอกาสที่เข่าจะเสื่อมได้ง่าย สวมใส่รองเท้าที่เหมาะกับกีฬาแต่ละประเภท เช่น รองเท้าวิ่งก็ควรมีส้นรองเท้าที่นิ่มรับแรงกระแทกได้ดี รองเท้าสำหรับใส่เล่นแบดมินตันหรือเทนนิสควรมีพื้นบางเพื่อไม่ให้พลิกได้ง่าย เป็นต้น
ข้อมูลจาก:   มูลนิธิหมอชาวบ้าน

อัพเดทล่าสุด