https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ข่า ประโยชน์ของข่า สมุนไพร กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน MUSLIMTHAIPOST

 

ข่า ประโยชน์ของข่า สมุนไพร กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน


885 ผู้ชม


ข่า ประโยชน์ของข่า สมุนไพร กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

 

กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

ข่า

ข่า ประโยชน์ของข่า สมุนไพร กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Alpinia  galanga   (L.) Willd.

ชื่อสามัญ   Galanga

วงศ์   Zingiberaceae

ชื่ออื่น :  ข่าหยวก  ข่าหลวง (ภาคเหนือ) , กฏุกกโรหินี (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตร เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน ใบ  เดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก  ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล  เป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม

สรรพคุณ :

  1. เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม
  2. แก้อาหารเป็นพิษ
  3. เป็นยาแก้ลมพิษ
  4. เป็นยารักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ติดเขื้อแบคทีเรีย เชื้อรา

    วิธีและปริมาณที่ใช้ :

    1. รักษาท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม แก้ท้องเดิน (ที่เรียกโรคป่วง) แก้บิด อาเจียน ปวดท้อง
      ใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1-1 ½ นิ้วฟุต (หรือประมาณ 2 องคุลี) ตำให้ละเอียด เติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่ม ครั้งละ ½ ถ้วยแก้ว วันละ 3 เวลา หลังอาหาร

    2. รักษาลมพิษ
      ใช้เหง้าข่าแก่ๆ ที่สด 1 แง่ง ตำให้ละเอียด เติมเหล้าโรงพอให้แฉะๆ ใช้ทั้งเนื้อและน้ำ ทาบริเวณที่เป็นลมพิษบ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น

    3. รักษากลากเกลื้อน โรคผิวหนัง
      ใช้เหง้าข่าแก่ เท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเหล้าโรง ทาที่เป็นโรคผิวหนัง หลายๆ ครั้งจนกว่าจะหาย

    สารเคมี
               1 - acetoxychavicol acetate น้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วยmonoterene  2 - terpineol, terpenen  4 - ol, cineole, camphor, linal
    ool, eugenol

ข่า ประโยชน์ของข่า สมุนไพร กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน

อัพเดทล่าสุด