https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อ่านแล้วจด จดแล้วจำ จำแล้วทำให้ได้ MUSLIMTHAIPOST

 

อ่านแล้วจด จดแล้วจำ จำแล้วทำให้ได้


715 ผู้ชม


การอ่านเป็นกุญแจนำทางสู่ความสำเร็จในชีวิตได้ เด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ และพัฒนาการอ่าน   

ประเด็นข่าว
                                                                      อ่านแล้วจด จดแล้วจำ จำแล้วทำให้ได้
                                                                 มาร์คพิชิตข้อสอบ  ๑๐๐ เต็มเคมบริดจ์

        ล่าสุด เด็กชายวัย ๑๑ ขวบ นักเรียนชั้นประถม ๕ จากที่นี่ ทำคะแนนข้อสอบของ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้ ๑๐๐ คะแนน เต็ม และถือเป็นนักเรียนไทยคนเดียวที่ทำได้ "เต็มร้อย"  "ดีใจมากครับที่สอบได้คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน เป็นการสอบวัดผล
วิชาภาษาอังกฤษตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเคม บริดจ์ครับ"   
น้องมาร์ค ด.ช.พรเลิศ พูลทวี เด็กชายคนเก่งเล่าพร้อม
รอยยิ้มใสแบบเด็กชายวัยซน

                                  ที่มา : https://campus.sanook.com/u_life/showroom_05881.php

          อ่านแล้วจด จดแล้วจำ จำแล้วทำให้ได้   ขอแสดงความยินดีกับน้องมาร์ค  ที่สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียน และสังคมการเรียนรู้ของไทย  เชื่อว่าน้องมาร์ค
จะต้องเป็นนักอ่าน  และมีวิธีการอ่านที่เป็นแบบฉบับของตัวเอง  ซึ่งเด็กเก่งๆ มักสร้างวิธีการเรียนรู้ของตัวเองเสมอ  
ซึ่งเด็กทุกคนสามารถเรียนรู้  และพัฒนาการอ่าน  และใช้การอ่านเป็นกุญแจนำทางสู่ความสำเร็จในชีวิตได้อ่านแล้วจด จดแล้วจำ จำแล้วทำให้ได้

ประเด็นการศึกษา  อ่านแล้วจด จดแล้วจำ จำแล้วทำให้ได้
 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย   ระดับชั้นมัธยมศึกษา

อ่านแล้วจด จดแล้วจำ จำแล้วทำให้ได้
 
           การที่เราจะจำเนื้อหาของเรื่องที่เรียนไปได้แม่น มันต้องเกิดจากความเข้าใจในเนื้อหานั้นก่อน ไม่ใช่สักแต่ว่าจำ  จำอย่างเดียว จำแบบไม่เข้าใจอะไรเลย การจำแบบนี้เป็นการจดจำระยะสั้น และไม่สามารถนำไปใช้ในการทำข้อสอบแบบวิเคราะห์ได้ เพราะในขั้นตอนการจำ ไม่มีกระบวนการคิดวิเคราะห์ถึงสิ่งต่าง ๆ   ที่ทำให้เป็นไป เลยทำให้ไม่รู้หลักเหตุและผล ว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น หากข้อสอบออกมาไม่ตรงกับที่จำไป ก็จบกัน....
                                                 อ่านแล้วจด จดแล้วจำ จำแล้วทำให้ได้
                                                                       ภาพจาก : widemagazine.com

๑. การเขียนหรือการจดโน้ต  เป็นวิธีที่จะทำให้เราจำได้ง่ายขึ้น  การจดเป็นการถ่ายความรู้ความคิดจากสมอง ลงกระดาษ  
๒. วิธีการจดโน้ต เราทุกคนต้องเข้าใจอยู่แล้วว่าจะเขียนอะไรลงไป  
        อย่าลอกตามหนังสือไปทั้งดุ้น 
        และอย่าจดแบบให้มันเสร็จ ๆ ไป หรือจดแบบให้มีตามเพื่อน (เป็นกระแสนิยม) เพราะมันจะไม่ได้ผลอะไรเลย 
        ควรจะสรุปประมวลออกมาเป็นเนื้อความ ตามที่เราเข้าใจ ซึ่งต้องเข้าใจอย่างถูกต้องด้วย อาจตรวจสอบโดยการผลัดกันตอบคำถามกับเพื่อน หรือถามครูอาจารย์ 
                    ** ดังนั้นอย่าขี้เกียจเขียนเลย เขียนเอง อ่านเอง ผลที่ได้ก็อยู่ที่ตัวเองทั้งนั้นแหละ

๓. คราวนี้ก็มาถึงการท่องจำ
             
ส่วนใหญ่เมื่อเรารู้เรื่อง เราก็จะจำบางส่วนของเนื้อหาได้แล้ว นอกจากบางวิชา เช่น ชีวะฯ สังคม ที่เป็นวิชาท่องจำซะส่วนใหญ่ อาจต้องมีการมาท่องจำเพิ่มเติม 
              การอ่านออกเสียงดัง ๆ ก็ช่วยให้จำดีขึ้น แต่ไม่ควรจะรบกวนผู้อื่น (มิฉะนั้นอาจจะได้รับสิ่งไม่พึงปรารถนา) 
การจำศัพท์ภาษาอังกฤษ อาจใช้วิธีเขียนใส่กระดาษแล้วแปะตามข้างฝาที่เรามองเห็นหรือผ่านตาเป็นประจำ เช่น ฝาข้างที่นอน ประตูห้องสุขา (ที่บ้านของตัวเองนะ) ตามที่ที่เราต้องเห็นทุกวัน อ้อ... ประตูของตู้เย็นก็ดีนะ เพราะเปิดบ่อย ก็หันมาเหลียวแลศัพท์ที่ตัวเองแปะไว้บ้าง เห็นบ่อย ๆ เดี๋ยวก็เข้าสมอง

                             อ่านแล้วจด จดแล้วจำ จำแล้วทำให้ได้

                                                                  ภาพจาก : masterorg.wu.ac.th

เวลาที่ดีสำหรับการอ่านแล้วจำได้
                    ๑. ตอนเช้า  เคยมีคนบอกว่าเวลาที่ดีที่สุด คือ ตอนเช้า เพราะร่างกายและสมองของเราได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ มีการจัดระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้พร้อมกับการใส่ข้อมูลใหม่ ๆ เข้าไป อันนี้เป็นเรื่องจริง แต่

                    ๒. ดึก ๆ เงียบ ๆ   สำหรับคนที่ตื่นเช้าไม่ไหว เวลาดึก ๆ ที่เงียบ ๆ ก็ได้ เพราะความเงียบทำให้สมองเราสามารถคิดสิ่งต่างๆ ได้ดี แต่อาจจะไม่เท่าตอนเช้า เพราะสมองเราต้องเหนื่อยจากการเรียนมาแล้วทั้งวัน บางคนยังมีการเรียนพิเศษตอนเย็นอีก การอ่านหนังสือตอนกลางคืน ควรจะอ่านเท่าที่ร่างกายรับได้ พอเริ่มง่วงสัก 5 ทุ่มก็ควรเข้านอน แล้วก็ตั้งนาฬิกาปลุกตอนตี 3 ตี 4 ตี 5 แนะนำให้ตั้งนาฬิกาปลุกก่อนเวลาที่ต้องตื่นไปสักครึ่งชั่วโมง เพื่อที่เราจะได้มีเวลาเกลือกกลิ้งอยู่บนที่นอนก่อนสักพัก ถึงค่อยลุกไปล้างหน้าล้างตา มานั่งอ่าน ขอย้ำว่าควรทำให้ตัวเองตื่นเต็มที่ก่อนจะอ่าน เพราะไม่งั้นเดี๋ยวก็หลับคาหนังสืออีกจนได้

                  ๓. เวลาที่ไม่เหมาะสำหรับการอ่านหนังสือเรียนเลย 
 คือ ช่วงบ่ายหลังจากกินข้าวเสร็จอิ่ม ๆ เคยได้ยินสุภาษิตไทยที่ว่า... พอหนังท้องตึง หนังตาก็หย่อน หรือเปล่า เพราะช่วงบ่ายจะเป็นช่วงที่คนเรามีความง่วงนอน อ่านไปก็หลับ ยิ่งหนังสือเรียนด้วย และไม่ควรนอนอ่านหนังสือ โดยเฉพาะบนเตียง ขอบอกว่าหลับแน่ ๆ ไม่ใช่อ่านนิยายนี่ มันจะน่าติดตาม จนอยากอ่านให้จบ

     “การอ่านหนังสือ ควรจะอ่านในสถานที่ที่สงบเงียบ และสมองของเราต้องพร้อมที่จะรับเรื่องใหม่ ๆ  นั่นแหละการอ่านถึงจะได้ผลสูงสุด”
                               อ่านแล้วจด จดแล้วจำ จำแล้วทำให้ได้
                                                                  ภาพจาก : dailygizmo.tv

     อ่านหนังสือให้จำ
            ๑. ใช้สีช่วยเพิ่มสีสันกับตัวหนังสือ  มีปากกาหลากสีให้เลือกซื้อมาเป็นตัวช่วยมากมาย
            ๒. แบ่งอ่านทีละนิด อย่าอ่านทีเดียวชุดใหญ่  แบ่งเนื้อหาเป็นส่วนส่วน อ่านและทำความเข้าใจที่ละส่วน
            ๓.กินอาหารเสริมสมอง พวกแบรนด์ ช่วยได้จริงๆนะ
            ๔.นี่สำคัญมาก ต้องมีเวลาพักผ่อน รีแล๊กซ์ ไปเที่ยวดูหนังฟังเพลง สักสัปดาห์ละ ๑-๒ ครั้ง
            ๕.นอนให้เต็มอิ่ม
            ๖.เวลาที่อยู่โรงเรียนเป็นเวลาที่ใช้กอบโกยความรู้ทุกอย่าง ใช้มันให้คุ้มค่า อย่าหลงใหลกับสิ่งอื่นจนเกินไป
            ๗.ถ้าคิดจะตั้งใจเรียนจริง ๆ   ต้องห้ามมีแฟน เพราะจะทำให้จิตใจเราคิดถึงแต่เขา
            ๘.หลังเรียนลองทำสมุดโน้ตเอาไว้ใช้อ่านก่อนสอบ ช่วยเตือนความจำแล้วยังมีไว้อ่านยามต้องการ
            ๙.อย่าขี้เกียจทำการบ้าน เพราะการบ้านทำให้เราแตกฉานในความคิด
          ๑๐.ไม่ต้องเรียนพิเศษ ถ้ายังไม่เข้าใจในบทเรียนที่เรียนในชั่วโมงเพราะติวเตอร์สอนวิธีทำข้อสอบให้เร็ว ไม่ใช่ สอนให้เข้าใจในบทเรียน
          ๑๑.ขยัน ขยัน ต้องขยัน  และต้องขยัน  ....เพราะ  ขยัน เท่านั้นที่ครองโลก
          ๑๒.ถ้าท้อ ให้เอารูปพ่อรูปแม่ หรือคนที่ส่งเราเรียน ออกมาดู ช่วยเพิ่มกำลังใจอย่างดีเลยแหละ
         
 ๑๓.ถ้า วิชาที่เราเรียนไม่ดี เป็นเพราะเราไม่ชอบครู เปลี่ยนทัศนคติ แล้วประจบท่านเข้าไว้ เธอจะเรียนดีขึ้น เกรดก็ดีขึ้นทันทีเลยแหละ

ความคิดสร้างสรรค์แบ่งปันหลังเรียน
        ๑. ให้แต่ละคนกำหนดปฏิทินการอ่าน  วิธีการบันทึกความรูู้  และก่อนเรียนนำบันทึกมาแลกเปลี่ยนกันอ่าน
 
กิจกรรมเสนอแนะ
       ๑.  กำหนดให้นักเรียนบันทึกการอ่านตามปฏิทิน

สรรถนะที่ต้องการเน้น
       ๑. มีความสามารถในการคิด
       ๒. มีความสามารถในกาใช้ทักษะชีวิต

กิจกรรมบูรณาการ   
        ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

          ที่มา :  เพลินพิศ   สุพพัตกุล   แผนการจัดการเรียนรู้  ภาษาไทย  ชั้นม.๕
          ที่มา :  เพลินพิศ   สุพพัตกุล  คู่มือการสอนภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4639

อัพเดทล่าสุด