https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ฮาร์ดดิสก์เสียทำยังงัยดี เรามีวิธี วิธีกู้ข้อมูลจาก harddisk ที่เสียแล้ว MUSLIMTHAIPOST

 

ฮาร์ดดิสก์เสียทำยังงัยดี เรามีวิธี วิธีกู้ข้อมูลจาก harddisk ที่เสียแล้ว


987 ผู้ชม

            พวกเราหลายคนเคยเจอ harddisk เสีย กันมาแล้ว ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วสุดท้ายของมันก็เสียกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่เราเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมาแล้วเจอหน้าจอสีฟ้า


วิธีกู้ข้อมูลจาก harddisk ที่เสียแล้ว

            พวกเราหลายคนเคยเจอ harddisk เสีย กันมาแล้ว ไม่ว่าจะช้าหรือเร็วสุดท้ายของมันก็เสียกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่เราเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมาแล้วเจอหน้าจอสีฟ้าบอกเรา ว่า harddisk ของเราไม่สามารถใช้งานได้ ทำให้เราไม่สามารถกู้ข้อมูลที่มีค่า และมีความหมายต่อเราออกมาได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปถ่ายต่าง ๆ ที่อุตส่าห์ถ่ายเก็บไว้มาหลายปี หรือข้อมูลทางธุรกิจต่าง ๆ เป็นต้น

ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับคุณ อย่างพึ่งตกใจไป เพราะคุณสามารถกู้ข้อมูลจาก harddisk ที่เสียไปแล้วได้ด้วยตัวคุณเอง อย่างไรก็ตามบทความนี้ไม่สามารถนำไปใช้ได้กับ harddisk ที่เสียชนิดที่ตัว disk ข้างในไม่ยอมหมุน หรือมีการชำรุดทางกายภาพของตัว harddisk ถ้าเสียแบบนี้ก็คงทำอะไรกับมันไม่ได้มากนัก หากปัญหาของคุณเกิดจากการที่ตัว harddisk ได้รับการชำรุดเสียหายทางกายภาพแบบนี้แล้ว ให้คุณติดต่อผู้เชี่ยวชาญในการกู้ข้อมูลดีกว่า

ถ้าคุณเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมาแล้วเจอหน้าจอสีฟ้า ก่อนที่จะทำการ boot เข้า Windows โดยปกติแล้วมักจะแปรว่าคอมพิวเตอร์ของคุณมีปัญหา และถ้า harddisk ของคุณเสียขึ้นมาหน้าจอสีฟ้าที่ว่านี้ก็จะแสดงขึ้นมาเช่นกัน เพราะระบบไม่สามารถทำการ boot ตัว Windows ซึ่งเป็น Operating System ขึ้นมาได้

ปัญหาดังกล่าวอาจเกิดมาจากการทำงานที่ผิดพลาดของ harddisk driver หรืออาจจะเกิดจากปัญหาการเชื่อมต่อระหว่างตัวคอมพิวเตอร์กับ harddisk ก็เป็นไปได้เช่นกัน ดังนั้นก่อนเริ่มต้นขั้นตอนต่าง ๆ คุณควรจะตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า harddisk ได้ เสียบสายเชื่อมต่อเป็นที่เรียบร้อยไม่ผิดพลาดแต่อย่างใด ถ้าหากว่าสายเชื่อมต่ออุปกรณ์ไม่ได้หลวมหรือมีปัญหา ก็สามารถทำตามคำแนะนำในบทความนี้ได้เลย

เมื่อเกิดปัญหาคอมพิวเตอร์ boot ไม่ได้เนื่องจาก harddisk มีปัญหา ก่อนที่จะเข้าหน้าจอแจ้งเตือนปัญหาสีฟ้า ที่หน้าจอสีดำซึ่งแสดงเมื่อตอนเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมาให้คุณเลือกไปที่ Last Known Good Configuration ซึ่งจะเริ่มการทำงานคอมพิวเตอร์ของคุณที่ข้อมูล back up ของ harddisk (แต่มันคงจะไม่มีประโยชน์เท่าไหร่ ถ้าคุณไม่เคจ back up ข้อมูลไว้เลย)


โดยวิธีการนี้จะช่วยให้คุณเรียกใช้งานในสถานะที่ได้ทำการ back up ข้อมูลล่าสุดไว้ได้ แต่จะไม่ถึงกับ 100% อย่างไรก็ตามคุณก็ยังได้ข้อมูลส่วนใหญ่กลับมา หลังจากนั้นให้คุณใช้ ScanDisk หรือ CheckDisk ที่มีอยู่แล้วบน Windows ทำการตรวจสอบ harddisk ของคุณอีกที

ถ้าหากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่แสดงหน้า start-up option หรือตัวเลือกต่าง ๆ ดังที่เห็นในภาพข้างบน คุณอาจจะต้อง boot คอมพิวเตอร์ผ่านแผ่น disk หรือแผ่น CD ของ Windows และเพื่อให้คอมพิวเตอร์ของคุณเปลี่ยนการ boot เครื่องให้ boot ผ่านแผ่น disk หรือแผ่น CD คุณอาจจะต้องไปที่ BIOS เพื่อเปลี่ยนการตั้งค่าให้ start-up ทำงานที่ CD-ROM Drive

เมื่อคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถ boot ผ่านแผ่นโปรแแกรม Windows Disk จะมี option ให้คุณเลือกซึ่งหนึ่งในนั้นคือ Recovery Console ให้คุณเลือกอันนี้โดยการกด “R” ดังตัวอย่างที่เห็นในรูป



จากนั้นหน้าจอจะไปสู่หน้าสีดำที่มีตัวหนังสือสีขาว เมื่อขึ้นหน้าจอสีดำแล้วให้คุณพิมพ์ chkdsk/r เพื่อเริ่มต้นการทำงาน CheckDisk ซึ่งสามารถช่วยในการตรวจสอบปัญหา และซ่อมแซม harddisk ได้ หลังจากที่คุณทำการ CheckDisk ไปเรียบร้อยแล้วถ้าได้ผลคอมพิวเตอร์ของคุณจะทำการ reboot แล้วทำงานได้เป็นปกติ อย่างไรก็ตามจะเป็นการดีที่สุดถ้าคุณพยายาม back up ข้อมูลไว้เป็นระยะ ๆ เนื่องจากการใช้วิธีนี้ได้ผลแค่ครั้ง หรือสองครั้งเท่านั้นถ้าอาการเกิดขึ้นบ่อย ๆ แนะนำให้ซื้อ harddisk ใหม่ไปเลยดีกว่า แล้วค่อยโอนข้อมูลที่ได้ทำการ back up ไว้แล้วถ่ายโอนไปที่ harddisk ลูกใหม่

ถ้าใช้วิธี CheckDisk แล้วไม่ได้ผลให้กลับไปเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงหน้าจอ Recovery Console แล้วให้เลือก Fixboot ซึ่งถ้าคุณเลือกตัวนี้มันจะทำการ rewrite ตัว startup sector บน harddisk ขงอคุณใหม่ และถ้าคุณเลือก Fixmbr ระบบก็จะทำการซ่อมแซม Master Boot Record

ที่กล่าวมาสองตัวหลังนี้เป็นคำสั่งการทำงานที่ค่อนข้างจะ advance ซักหน่อย จำไว้ว่าถ้าคุณเลือกสองข้อนี้ก็ต้องลุ้นกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

นอกจากนี้ถ้ามันไม่ได้ผลจริง ๆ ให้คุณถอด harddisk ออกมาแล้วทำการต่อ harddisk ตัวนี้เข้ากับ คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นผ่าน USB port ซึ่งคอมพิวเตอร์เครื่องนี้จะมอง harddisk ที่ต่อผ่าน USB port เป็น slave หรือพูดให้เข้าใจง่ายก็คือเอา harddisk ออกมาแล้วทำเป็น external harddisk เสียบเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเพื่อทดลองอ่านข้อมูลนั่นเอง


ข้อมูลจาก : www.techxcite.com  

อัพเดทล่าสุด