https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เรื่องน่ารู้ แท้จริงแล้ว โอโซน คืออะไร ? MUSLIMTHAIPOST

 

เรื่องน่ารู้ แท้จริงแล้ว โอโซน คืออะไร ?


977 ผู้ชม

เคยมีใครชักชวนท่านไปสูดโอโซนริมทะเลหรือในแหล่ง ท่องเที่ยวที่มีการประชาสัมพันธ์ว่ามีปริมาณโอโซนสูงติดระดับโลกบ้างไหม ถ้าเคยลองมาทำความรู้จักกับโอโซนกันก่อน!


แท้จริงแล้ว "โอโซน" คืออะไร?

เรื่องน่ารู้ แท้จริงแล้ว โอโซน คืออะไร ?


             เคยมีใครชักชวนท่านไปสูดโอโซนริมทะเลหรือในแหล่งท่องเที่ยวที่มีการประชา สัมพันธ์ว่ามีปริมาณโอโซนสูงติดระดับโลกบ้างไหม ถ้าเคยลองมาทำความรู้จักกับโอโซนกันก่อน!
             ความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรารู้ว่าโอโซนเป็นก๊าซที่เกิดขึ้นตาม ธรรมชาติบนพื้นผิว โลกและในชั้นบรรยากาศสูงขึ้นไป ที่เรียกว่า Lower Stratosphere ในระดับความสูง 14.4-30.4 กม. จากพื้นพิวโลก ก๊าซออกซิเจนมีออกซิเจนอะตอมอยู่รวมกัน 2 อะตอม (O2) ในขณะที่ในรูปของโอโซนมีอยู่ 3 อะตอม (O3) โอโซนมีประโยชน์และมีโทษขึ้นอยู่กับแหล่งที่เกิดโอโซนตามธรรมขาติเป็นก๊าซ ที่ไม่คงรูป จะมีการเปลี่ยนแปลงกลับไปอยู่ในสภาพของก๊าซออกซิเจนในช่วง 10-20 นาที
             เป็นที่น่าสังเกตว่าสภาพอากาศที่แจ่มใสหลังจากเกิดพายุฝนฟ้าคะนองส่วนหนึ่ง เป็นผลมาจากโอโซนที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีการผลิตก๊าซโอโซนโดยกระแสไฟฟ้าแรงสูงผ่านอากาศที่มีก๊าซ ออกซิเจน ทำให้โมเลกุลของออกซิเจนแตกตัวเป็นออกซิเจนอะตอม (O) และรวมตัวกับก๊าซออกซิเจนเป็นโอโซนมีสภาพเป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไปจนถึงมีสีน้ำเงิน มีกลิ่นฉุน


เรื่องน่ารู้ แท้จริงแล้ว โอโซน คืออะไร ?
Stratosphere เป็นชั้นบรรยกาาศที่มีปริมาณโอโซนเข้มข้นมาก


คุณสมบัติของโอโซน
             โอโซนจัดเป็นตัวออกซิไดส์ (oxidizing agent) ที่แรงที่สุดที่อนุญาตให้นำมาใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน โดยมีฤทธ์ิสูงกว่าก๊าซคลอรีนถึง 51% และมีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ได้เร็วกว่า 3.125 เท่าตัว สารอินทรีย์ที่มีอยู่ในเยื่อเมมเบรนของแบคทีเรียเมื่อทำปฏิกิริยากับโอโซนทำ ให้ผนังเซลล์อ่อนแอและแตกออก ทำให้เซลล์ตาย โอโซนสามารถเกิดปฏิกิริยากับสารอินทรีย์ส่วนใหญ่รวมทั้งสารอนินทรีย์ ทำให้เกิดการแตกตัวและสลายตัวในกระบวนการสลายตัวทางชีวภาพได้ง่าย สารอินทรีย์บางชนิดทำปฏิกิริยากับโอโซนอย่างสมบูรณ์ได้คาร์บอนไดออกไซด์และ น้ำ
             โอโซนสามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส สปอร์ ราเมือก ราน้ำค้าง เชื้อรา อะมีบา และเชื้อที่อยู่ในรูปของถุงน้ำ ตามปริมาณความเข้มข้นและระยะเวลาที่ใช้ต่างกัน


เรื่องน่ารู้ แท้จริงแล้ว โอโซน คืออะไร ?
โอโซนในบรรยากาศปกป้อง อันตรายที่เกิดจากรังสีอัลตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์


             ชั้นโอโซนในบรรยากาศมีประโยชน์ปกป้องอันตรายที่เกิดจากรังสีอัลตราไวโอเลต จากดวงอาทิตย์ ก๊าซโอโซนส่วนใหญ่บนพื้นผิวโลกเกิดจากการทำปฏิกิริยาของแสงแดดกับของเสีย (pollutant) จากเครื่องยนต์ โรงงานผลิตพลังงาน เครื่องผลิตไอน้ำในโรงงานอุตสาหกรรรม โรงงานผลิตเคมีภัณฑ์ รวมไปถึงจากอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เป็นต้นเหตุของมลภาวะมีการนำโอโซนไปใช้ประโยชน์ในการกำจัดเชื้อ จุลินทรีย์ในอากาศและน้ำ ใช้ประโยชน์ในกระบวนการกำจัดของเสียในอุตสาหกรรม ทำให้สารเคลือบไม้และหมึกพิมพ์แห้งเร็วขึ้น ขจัดกลิ่นในขนนก ใช้ฟอกสีในไข รวมทั้งใช้ในการกำจัดราเมือกและแบคทีเรียในห้องเย็น
             มีการจำแนกโอโซนเป็น oxidising biocide ใน L8 มีรายงานผลการทดสอบอย่างเป็นทางการของ Department of Environment ในคุณสมบัติที่เป็นไบโอไซด์ (biocide) โดยไม่มีความจำเป็นในการใช้สารไบโอไซด์ (biocide) ชนิดอื่นๆ มาประกอบการใช้
             มีการใช้ประโยชน์โอโซนในการกำจัดเชื้อโรคในน้ำที่นำมาใช้ประโยชน์เพื่อการ บริโภคมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2447 ในปัจจุบันยังคงมีการใช้ประโยชน์ในวัตถุประสงค์เดียวกันอย่างกว้างขวางโดย เฉพาะในการกำจัดคราบแบคทีเรียและอะมีบาในระบบทำความเย็นด้วยน้ำ ทั้งนี้ปริมาณและความเข้มข้นของโอโซนที่ใช้ขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำ อุณหภูมิ และอัตราการหมุนเวียนของน้ำในระบบ


อันตรายของโอโซนเรื่องน่ารู้ แท้จริงแล้ว โอโซน คืออะไร ?
             โอโซนจัดเป็นก๊าซพิษ การมีปริมาณโอโซนสูงมากผิดปกติในบางพื้นที่น่าจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพมากกว่า ที่จะเป็นผลดี มีการกำหนดเกณฑ์ปริมาณความเข้มข้นสูงสุดที่ได้รับโดยเฉลี่ยไม่เกิน 0.1 ppm ในช่วงระยะเวลาของการทำงานนาน 8 ชั่วโมง
             อันตรายจากการได้รับโอโซนเป็นประจำอาจจะเป็นอันตรายต่อปอด โดยเฉพาะในวัยเด็กที่ปอดกำลังพัฒนา อาจก่อให้เกิดความเสียหายกับระบบสืบพันธุ์และพันธุกรรม อาจจะเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ ทำให้เกิดโรคปอดกำเริบ เช่น กลีบปอดพองลม และโรคหลอดลมอักเสบ ทำให้ภูมิคุ้มกันในระบบหายใจลดลง อาการหอบหืดและโรคหัวใจกำเริบ ลดปริมาณลมหายใจ รวมทั้งทำให้ปริมาณของเหลวในปอดเพิ่มขึ้นทำให้หายใจขัด
             ก๊าซโอโซนทำให้เกิดอาการระคายเคืองในระบบหายใจ ทำให้ไอระคายคอหรือแน่นหน้าอก ปวดศีรษะ ท้องเสีย แน่นท้อง มีอาการป่วยและอาเจียน การสัมผัสโอโซนที่อยู่ในสภาพของเหลวที่มีความเข้มข้นสูงที่ผิวหนังหรือดวงตา อาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง อาการไหม้รุนแรง ปวดแสบปวดร้อน
             ต่อไปนี้หากมีใครมาชวนไปสูดโอโซนชายทะเลหรือตามป่าเขาลำเนาไพร ก็ต้องคิดกันหน่อย


ขอขอบคุณข้อมูลดีจากMy firstbrain

อัพเดทล่าสุด