การเขียนโครงการ ลักษณะการเขียนโครงการฝึกอบรม พร้อม ตัวอย่างการเขียนโครงการฝึกอบรม MUSLIMTHAIPOST

 

การเขียนโครงการ ลักษณะการเขียนโครงการฝึกอบรม พร้อม ตัวอย่างการเขียนโครงการฝึกอบรม


46,346 ผู้ชม

แผนงานที่จัดทำขึ้นอย่างมีระบบ ประกอบด้วยกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรม ที่ต้องใช้ทรัพยากรในการดำเนินงาน และคาดหวังว่า จะได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า


การเขียนโครงการ

การเขียนโครงการ ลักษณะการเขียนโครงการฝึกอบรม พร้อม ตัวอย่างการเขียนโครงการฝึกอบรม

โครงการ (Project) หมายถึง แผนงานที่จัดทำขึ้นอย่างมีระบบ ประกอบด้วยกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรม ที่ต้องใช้ทรัพยากรในการดำเนินงาน และคาดหวังว่า จะได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดในการดำเนินงาน และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแน่นอน

ลักษณะของโครงการที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้

  1. สามารถช่วยแก้ปัญหาขององค์กรได้
  2. มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ชัดเจน สามารถดำเนินการได้จริง
  3. รายละเอียดของโครงการต้องเข้าใจได้ง่าย และมีความสัมพันธ์กัน เช่น วัตถุประสงค์ต้องสัมพันธ์กับปัญหา, วิธีดำเนินการก็ต้องสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ เป็นต้น
  4. สามารถติดตามและประเมินผลได้
  5. เกิดจากข้อมูลที่ได้รับการวิเคราะห์มาอย่างรอบคอบแล้ว จากข้อเท็จจริง
  6. ได้รับการสนับสนุนทางด้านทรัพยากรและการบริหารอย่างเหมาะสม
  7. มีระยะเวลาในการดำเนินการที่แน่ชัด

ลักษณะการเขียนโครงการ

มีรูปแบบการเขียนที่พอจะจำแนกได้ เป็น 2 ลักษณะ คือ การเขียนโครงการแบบประเพณีนิยม (Conventional Method) และการเขียนโครงการแบบตารางเหตุผลสัมพันธ์ (Logical Framework Method) ซึ่งในที่นี้ จะขอกล่าวถึงวิธีการเขียนโครงการแบบประเพณีนิยมเพียงอย่างเดียวก่อน ส่วนแบบตารางเหตุผลสัมพันธ์นั้น จะได้กล่าวถึงในโอกาสต่อไป

การเขียนโครงการแบบประเพณีนิยม (Conventional Method)

โครงการทุกโครงการที่กำหนดขึ้น จะต้องมีบุคคล หรือกลุ่มบุคคลเป็นผู้ดำเนินงาน บุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม อาจได้รับการแต่งตั้ง เพื่อให้เป็นผู้เขียนโครงการขึ้น จากข้อมูลที่ได้รับการจัดเตรียมหรือวิเคราะห์โดยบุคคลอีกกลุ่มหนึ่ง ครั้นเมื่อได้เขียนโครงการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็อาจต้องมอบให้กับบุคคลอีกกลุ่มหนึ่ง เพื่อนำไปใช้ หรือนำไปดำเนินงาน โดยกลุ่มที่เขียนอาจไม่ต้องเกี่ยวข้องอีกเลยก็ได้

บุคคลกลุ่มที่กล่าวถึงนี้ อาจได้รับมอบหมายให้ดำเนินการโครงการ ทั้งเป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูล เป็นผู้เขียนโครงการ และเป็นผู้นำโครงการไปใช้ หรือไปปฏิบัติก็ได้ ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ขนาดและชนิดของโครงการ, ลักษณะของโครงการ เป็นต้น อย่างไร ก็ตามไม่ว่าโครงการจะมีขนาดเช่นใด ชนิดและประเภทใด ย่อมมีรูปแบบ (From) หรือโครงสร้าง (Structure) ในการเขียนดังนี้

  1. ชื่อโครงการ
  2. หลักการและเหตุผล
  3. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
  4. วิธีดำเนินการ
  5. ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
  6. งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้
  7. ผู้รับผิดชอบโครงการ
  8. การบริหารโครงการ หรือการประเมินผลโครงการ
  9. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

รายละเอียดของรูปแบบ หรือโครงสร้าง อาจแตกต่างกันไปบ้าง ตามลักษณะ หรือประเภทของโครงการ โครงการบางโครงการ มีรายละเอียดมาก บางโครงการมีรายละเอียดน้อย ทั้งนี้แล้วแต่ผู้เขียนโครงการ จะพยายามจัดทำขึ้นหรือยึดถือ โดยมุ่งหวังให้ผู้อ่านโครงการ หรือผู้ปฏิบัติตามโครงการ มีความเข้าใจได้โดยง่ายที่สุด

นอกจากส่วนประกอบทั้ง 9 รายการที่ได้กล่าวแล้ว การเขียนโครงการแบบประเพณีนิยม ยังอาจมีส่วนประกอบอื่นๆ อีกเช่น

  1. หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน หมายถึง หน่วยงานที่ให้ความร่วมมือประสานงาน เพื่อให้โครงการบรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
  2. ผู้เสนอร่างโครงการ หมายถึงบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เขียน และนำโครงการขึ้นเสนอให้ผู้มีอำนาจในการอนุมัติโครงการเป็นผู้พิจารณา
  3. ข้อเสนอแนะ หมายถึง คำแนะนำของผู้รับผิดชอบ ที่อาจเห็น และทราบปัญหาการดำเนินโครงการ ต่อหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้สนับสนุนการดำเนินงานให้เป็นไปด้วยดี หรือข้อเสนอแนะ อาจเป็นการแจงให้เห็นถึงปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการแก้ไข เพื่อการดำเนินโครงการต่อไป หรือในโครงการอื่นที่จะมีขึ้นในภายหลัง

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตัวอย่างการเขียนโครงการฝึกอบรม

ชื่อองค์การ บริษัทอเมรัน-เจแปนคอนซูเมอร์ จำกัด

แผนงาน การตลาด

ชื่อโครงการ โครงการฝึกอบรมพนักงานขาย

หน่วยงานที่รับผิดชอบ ฝ่ายบุคคล

  1.  
    1. หลักการและเหตุผล
    2. การขายเป็นหัวใจของบริษัทในการที่จะจำหน่ายสินค้าออกไป บริษัทจะดำรงอยู่ได้และเจริญเติบโตมีกำไรจะต้องมีทีมขายที่มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจโดยเฉพาะการแข่งขันด้านการตลาดเพื่อครองส่วน แบ่งทางการตลาดให้ได้มากที่สุดมีความเข้มแข็งสูงมาก พนักงานขายจะสามารถขายสินค้าได้มาก มีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น จำเป็นจะต้องเป็นพนักงานขายที่มีความรู้ความสามารถ ขยันขันแข็ง มีขวัญและกำลังใจดี มีความรู้เรื่องคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของบริษัทเป็นอย่างดี มีทักษะในการเสนอขายสินค้า ดังนั้นการฝึกอบรมพนักงานขายจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง

    3. วัตถุประสงค์
      1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถและทักษะด้านการขายให้แก่พนักงานขาย
      2. เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้แก่พนักงานขาย
      3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างพนักงานด้วยกันเองและบริษัท
      4. เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้สูงขึ้น
    4. เป้าหมาย
    5. ฝึกอบรมพนักงานขาย 2 รุ่น รุ่นละ 40 คน รวม 80 คน

      ใช้ระยะเวลาอบรมรุ่นละ 5 วัน

    6. หลักสูตรในการฝึกอบรม 30 ชั่วโมง แยกเป็นหัวข้อดังนี้
      1. นโยบายการตลาดของบริษัท 3 ชั่วโมง
      2. ผลิตภัณฑ์ของบริษัท 3 ชั่วโมง
      3. กลยุทธ์การขาย 3 ชั่วโมง
      4. จิตวิทยาการขาย 3 ชั่วโมง
      5. ความต้องการของมนุษย์ 3 ชั่วโมง
      6. เทคนิคการจูงใจลูกค้า 3 ชั่วโมง
      7. การบริการหลังการขาย 2 ชั่วโมง
      8. การฝึกภาคสนาม 10 ชั่วโมง (2 วันทำการ)
    7. วิธีการฝึกอบรม ใช้วิธีการฝึกอบรมหลายแบบ ดังนี้
      1. การบรรยาย
      2. การประชุมกลุ่มอภิปราย
      3. กรณีศึกษา และเกม
      4. ฝึกปฏิบัติจริง
    8. วิทยากร เชิญวิทยากรทั้งภายในและภายนอกบริษัท ดังนี้
      1. ผู้จัดการฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
      2. ผู้ชำนาญการจากสมาคมการตลาด
      3. อาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษา
    9. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
  •  
    • รุ่นที่ 1 พนักงานขายที่เข้าใหม่
    • รุ่นที่ 2 พนักงานขายเก่าของบริษัท
  1.  
    1. วุฒิบัตร
    2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับวุฒิบัตรต่อเมื่อมีเวลาเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาฝึกอบรมทั้งหมด

    3. ผู้รับผิดชอบโครงการ
    4. นายนิคม ชำนาญค้า ผู้จัดการฝ่ายบุคคล (หัวหน้าโครงการ)

      นายอนุวัฒน์ ทองดี ผู้จัดการขาย

      นางชไมพร กาญจนาวรรณ์ ฝ่ายบุคคล

      นายกรวิทย์ อัศดรพันธ์ ฝ่ายบุคคล

    5. ระยะเวลาโครงการ
    6. 1 ต.ค. 2537 – 30 มิ.ย.2538

      อบรมรุ่นที่ 1 6 –10 มีนาคม 2538

      อบรมรุ่นที่ 2 20 –24 มีนาคม 2538

    7. สถานที่ฝึกอบรม
      1. ใช้ห้องประชุมของบริษัท
      2. ตลาด
    8. ขั้นตอนการดำเนินการ มีดังนี้
      1. รวบรวมข้อมูลและหาความจำเป็นในการฝึกอบรม
      2. สร้างหลักสูตรการฝึกอบรม
      3. เสนอโครงการขออนุมัติจัดดำเนินการฝึกอบรม
      4. ประชุมกรรมการโครงการและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนดำเนินการฝึกอบรม
      5. จัดเตรียมกาในการฝึกอบรม ติดต่อวิทยากร สถานที่ เตรียมเอกสาร และอุปกรณ์ต่าง ๆ
      6. ดำเนินการฝึกอบรม
      7. ประเมินผลการฝึกอบรม
    9. ปฏิทินการดำเนินการฝึกอบรม
 

พ.ศ.2537

พ.ศ.2538

 

ขั้นตอนดำเนินงาน

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

ม.ค.

ก.พ.

มี.ค.

เม.ย.

พ.ค.

มิ.ย.

หมายเหตุ

  1.  
    1. รวบรวมข้อมูล
    2. สร้างหลักสูตรฝึกอบรม
    3. เสนอโครงการขออนุมัติ
    4. ประชุมคณะกรรมการ
    5. จัดเตรียมการฝึกอบรม
    6. ดำเนินการฝึกอบรม
    7. ประเมินผล

xxxxxxx

Sxxxxxxx

Sxxxxxxx

Sxxxxxxx

Sxxxxxxx

Sxxxxxxx

 

xxxxxxxx

Xxxxxxxx

Sxxxxxxx

Sxxxxxxx

   

xxxxxxxx

 
  1.  
    1. งบประมาณที่ใช้ในการฝึกอบรม
    2. ค่าตอบแทน 5,000 บาท

      ค่าวัสดุ 1,000 บาท

      ค่าใช้สอย 20,000 บาท

      รวม 26,000 บาท

    3. การประเมินโครงการ
      1. ประเมินผลระหว่างการฝึกอบรม
  1. สังเกตความกระตือรือร้น ความสนใจ และการมีส่วนร่วมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
  2. ใช้แบบสอบถามผู้เข้ารับการฝึกอบรมเมื่อเสร็จสิ้นการฝึกอบรม
  1.  
    1. ประเมินเมื่อกลับไปปฏิบัติงานแล้ว 2 เดือน
  1. ใช้แบบสอบถามถามพนักงานขายและหัวหน้าฝ่ายขาย
  2. ศึกษาส่วนแบ่งการตลาด
  3. ดูยอดขายผลิตภัณฑ์ของบริษัท

ตัวอย่างการเขียนโครงการฝึกอบรม , การเขียนโครงการฝึกอบรม , การเขียนโครงการฝึกอบรมพร้อมตัวอย่าง , ตัวอย่างการเขียนโครงการ , การเขียนโครงการ , ตัวอย่างการเขียนโครงการอบรม , แบบฟอร์มการเขียนโครงการฝึกอบรม

ที่มา freehomepage.com

อัพเดทล่าสุด