https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
รวม ความหมายอัตลักษณ์ของโรงเรียน ความหมายของคำว่าอัตลักษณ์ของโรงเรียน MUSLIMTHAIPOST

 

รวม ความหมายอัตลักษณ์ของโรงเรียน ความหมายของคำว่าอัตลักษณ์ของโรงเรียน


947 ผู้ชม


รวม ความหมายอัตลักษณ์ของโรงเรียน ความหมายของคำว่าอัตลักษณ์ของโรงเรียน

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา คืออะไร จำเป็นอย่างไร

        ในอดีตที่ผ่านมา เมื่อมีผู้กล่าวถึงโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย หลายท่านจะนึกถึง "ความเป็นสุภาพบุรุษของลูกวชิราวุธวิทยาลัย"  เมื่อกล่าวถึงโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย จะนึกถึง "ความเป็นกุลสัตรีของลูกวัฒนาวิทยาลัย"  ฯลฯ   ในระยะหลัง จากการที่ทุกโรงเรียนมุ่งเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ หรือ จากการบริหารหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาสาระเป็นหลัก ประกอบกับเมื่อมีระบบประกันคุณภาพภายนอก โรงเรียนส่วนใหญ่ได้หันมาพัฒนาสถานศึกษา เน้นให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการประเมินภายนอก(ที่รับผิดชอบโดย สมศ.) โดยจากการสำรวจในเชิงปริมาณ เมื่อมีการสอบถามสถานศึกษากลุ่มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพในรอบที่ 2 (2549-2553)ในระดับดี-ดีมาก ว่า "สถานศึกษาได้ทำการกำหนดมาตรฐานการประกันคุณภาพภายในของตนเอง โดยได้เพิ่มมาตรฐานพิเศษ นอกเหนือจากมาตรฐานการประกันคุณภาพภายนอกของ สมศ. หรือไม่"  จากคำตอบที่ได้ พบว่า มีสถานศึกษาเพียงประมาณร้อยละ 40 เท่านั้น ที่มีการกำหนดมาตรฐานการประกันคุณภาพภายใน โดยเพิ่มมาตรฐานพิเศษ นอกเหนือไปจากมาตรฐานที่กำหนดโดย สมศ. ซึ่งในอนาคต หากโรงเรียนส่วนใหญ่ หันมาพัฒนาสถานศึกษาตามกรอบการประกันคุณภาพภายนอกของ สมศ.เพียงอย่างเดียว เช่นนี้  ก็อาจเกิดปัญหาที่ตามมา คือ คุณภาพหรือคุณสมบัติของเด็กไทยก็จะเหมือนกันทั่วประเทศ โดยมีคุณภาพขั้นต่ำตามที่ประเทศ(โดย สมศ.)เป็นผู้กำหนด คุณลักษณะเฉพาะ หรือความโดดเด่นเป็นพิเศษของบางโรงเรียนที่เคยโดดเด่นในอดีต ก็อาจจะสูญหายไป อย่างน่าเสียดาย
        ด้วยความกังวลใจของนักการศึกษาที่เห็นว่า ในอนาคต "หากโรงเรียนไม่ตระหนักในเรื่องความเป็นเลิศเฉพาะทาง หรือ ลักษณะโดดเด่นเฉพาะทางของเยาวชนที่สำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษานั้น ๆ ความโดดเด่นใด ๆ ของนักเรียนก็จะสูญหายไป"  ในการนี้ ในระยะหลัง จึงมีการกล่าวถึง "อัตลักษณ์ของสถานศึกษา" หรือ "เอกลักษณณ์ของสถานศึกษา" กันอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น  โดยมีความเห็นร่วมกันว่า "นอกจากมาตรฐานขั้นต่ำของเด็กไทย ที่เป็นมาตรฐานแกนกลางเหมือนกันทั่วประเทศ" แล้ว  สถานศึกษาแต่ละแห่งหรือแต่ละกลุ่ม ควรมีการพัฒนาคุณสมบัติของนักเรียนที่มีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเอง  เป็นอัตลักษณ์ของสถานศึกษาแห่งนั้น ๆ หรือกลุ่มโรงเรียนกลุ่มนั้น ๆ
        "อัตลักษณ์ของสถานศึกษา" ควรเน้นไปที่การกำหนดภาพความสำเร็จ(Image of Success)ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน หรือเป็นลักษณะหรือคุณสมบัติโดดเด่นของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษาแห่งนั้น  ตัวอย่างเช่น  โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย  กำหนดว่าอัตลักษณ์ของลูกสวนกุหลาบ คือ  "มีภาวะผู้นำและสุภาพบุรุษ"   โรงเรียนสตรีวิทยา กำหนดคุณสมบัติ "ยอดนารี สตรีวิทยา"(โดยมีการอธิบายอย่างชัดเจนว่า มีคุลักษณะที่สำคัญ ๆ อย่างไรบ้าง) เป็นต้น
        ในการทำหน้าที่วิทยากรเสริมความรู้ในเรื่องการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ในระยะที่ผ่านมา โดยเฉพาะในปี 2553 ผมได้พยายามเน้นและเสนอแนะให้สถานศึกษา กำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะเฉพาะหรือลักษณะโดดเด่นของลูกศิษย์ของตน ให้ชัดเจน เช่น เสนอว่า
        -โรงเรียนในเครือไทยรัฐวิทยา อาจเน้นคุณสมบัติ "ประชาธิปไตย ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง และกล้าต่อสู้ในสิ่งที่ถูกต้อง"(วิเคราะห์จากคุณสมบัติของผู้สื่อข่าว)
        -โรงเรียนในจังหวัดนนทบุรี เน้น "จิตสำนึกรักเมืองนนท์  รักษ์สิ่งแวดล้อม"(เพื่อให้นนทบุรีเป็นเมืองน่าอยู่ชั้นดี)
        -โรงเรียนในเครือ "เบญจมะฯ"  เช่น  เบญจมราชูทิศ  เบญจมราชาลัย  เบญจมราชานุสรณ์  เบญจมเทพอุทิศ ฯลฯ อาจเน้น "ประชาธิไตย เคารในสิทธิความเป็นมนุษย์"(ร.5 ทรงให้ความสำคัญกับศักด์ศรีความเป็นมนุษย์ จึงทรงประกาศให้มีการเลิกทาส)
        -โรงเรียนในเครือ "จุฬาภาณ์"  เน้น "บุคลิกนักวิทยาศาสตร์"
        ฯลฯ
        โดยสรุป  อัตลักษณ์ คือ ลักษณะเฉพาะที่เป็นตัวตนของสถานศึกษา หรือกลุ่มสถานศึกษา ที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการจัดตั้งสถานศึกษา  หรือลักษณะโดดเด่นของสถานศึกษา โดยควรเน้นที่ การกำหนดภาพความสำเร็จในตัวผู้เรียน(อาจเป็นคุณลักษณะ หรือสมรรถนะ)  ในการกำหนดอัตลักษณ์ สถานศึกษาควรทำการวิเคราะห์ความเป็นมาของสถานศึกษา เจตนารมณ์ในการจัดตั้ง หรือบริบทของสถานศึกษา  แล้วกำหนดอัตลักษณ์หรือคุณสมบัติเฉพาะที่ผู้สำเร็จการศึกษาจะต้องมีก่อนสำเร็จการศึกษา  ทั้งนี้ ควรมีการประชาพิจารณ์ให้เห็นพ้องร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องกลุ่มต่าง ๆ  รวมทั้งจะต้องมีกิจกรรมการส่งเสริมหรือพัฒนาที่เป็นรูปธรรม และ มีการประเมินหรือตรวจสอบอย่างเป็นระบบ ว่า ผู้เรียนหรือผู้สำเร็จการศึกษา ได้มีคุณสมบัติหรือผ่านเกณฑ์แล้ว หรือไม่ 

อัพเดทล่าสุด