https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ประวัติฟุตบอล ประวัติฟุตบอลไทย และ ประวัติฟุตบอลในประเทศ ประวัติฟุตบอลย่อ MUSLIMTHAIPOST

 

ประวัติฟุตบอล ประวัติฟุตบอลไทย และ ประวัติฟุตบอลในประเทศ ประวัติฟุตบอลย่อ


2,427 ผู้ชม


กีฬาฟุตบอลในประเทศไทย ได้มีการเล่นตั้งแตสมัย"พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"รัชกาลที่5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากสมัยรัชกาลที่5 พระองค์ทรงส่งพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าพระหลานยาเธอ และข้าราชบริพารไปศกษาวิชาการต่างๆ ที่ประเทศอังกฤษและผู้นำกีฬาฟุตบอลกลับมายังประเทศไทยเป็นคนแรกคือ "เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)"หรือที่ประชาชนเรียกกันว่า "ครูเทพ" ซึ่งท่านได้แต่งเพลงกราวกีฬาที่พร้อมไปด้วยเรื่องน้ำใจนักกีฬาอย่างแท้จริง ผู้เขียนมีความเชื่อว่าเพลงกราวกีฬาที่ครูเทพแต่งไว้นี้จะต้องเป็น "เพลงอมตะ" และจะต้องคงอยู่คู่ฟ้าไทย เมื่อปี พ.ศ.2454-2458

ท่านได้ดำรงค์ตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการครั้งแรก เมื่อท่านได้นำฟุตบอลเข้าไปเล่นในประเทศไทย ได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ มากมายโดยหลายคนกล่าวว่า ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ไม่เหมาะสมกับประเทศที่มีอากาศร้อน เหมาะสมกับประเทศที่มีอากาศหนาวมากกว่า และเป็นเกมที่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้เล่นและผู้ชมได้ง่าย ซึ่งข้อวิจารณ์ดังกล่าวถ้ามองอย่างผิวเผินอาจคล้อยตามได้ แต่ภายหลังข้อกล่าวหาก็ได้ค่อยหมดไปจนกระทั่งกลายเป็นกีฬายอดนิยมที่สุดของประชาชนชาวไทย และชาวโลกทั่วทุกมุมโลกในปัจจุบัน ซึ่งมีวิวัฒนาการดังต่อไปนี้
พ.ศ.2440 รัชกาลที่5 ได้เสด็จนิวัตรพระนคร กีฬาฟุตบอลได้รับความสนใจจากบรรดาข้าราชการ ครู อาจารย์ตลอดจนชาวอังกฤษในประเทศไทย และผู้สนใจชาวไทยจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับกอปรกับครูเทพท่านได้เพียรพยายามปลูกฝังการเล่นฟุตบอลอย่างจริงจังและแพร่หลายมากในโอกาศต่อมา


พ.ศ.2443 การแข่งขันฟุตบอลเป็นทางการครั้งแรกของประเทศไทย ได้เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2443 ณ สนามหลวง ซึ่งเป็นสถานที่ออกกำลังกายและประกอบงานพิธีต่างๆ การแข่งขันฟุตบอลคู่ประวัติศาตร์ของไทยระหว่าง "ชุดบางกอก" กับ "ชุดกลมศึกษาธิการ" จากกระทรวงธรรมการ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "การแข่งขันฟุตบอลตามข้อบังคับของแอสโซซิเอชั่น"เพราะสมัยก่อนเรียกว่า "แอสโซซิเอชั่นฟุตบอล" (Associations Football)สมัยปัจจุบันเรียกว่า "การแข่งขันฟุตบอลของสมาคม" หรือ "ฟุตบอลสมาคม" ผลการแข่งขันฟุตบอลนัดพิเศษปรากฏว่า 2:2 ต่อมาครูเทพได้วางแผนการจัดการแข่งขันฟุตบอลนักเรียนอย่างเป็นทางการพร้อมแปลงกติกาแบบสากลมาใช้ในการแข่งขันฟุตบอลในครั้งนี้ด้วย
พ.ศ.2444 หนังสือวิทยาจารย์ เล่มที่1ตอนที่7 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2444 ได้ตีพิมพ์เผยแพร่เรื่องกติกาการแข่งขันฟุตบอลสากลและการแข่งขันอย่างเป็นสากล


การแข่งขันฟุตบอลนักเรียนครั้งแรกของประเทศไทย ได้เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2444นี้ ผู้เข้าแข่งขันต้องเป็นนักเรียนชาย อายุไม่เกิน20ปี ใช้วิธีการแข่งขันแบบน็อกเอาต์ หรือแบบแพ้คัดออก (Knockout or Eliminations)ภายใต้การดำเนินงานของ "กรมศึกษาธิการ" สำหรับทีมชนะเลิศติดต่อกัน3ปี จะได้รับโล่รางวัลเป็นกรรมสิทธิ์
พ.ศ.2448 เดือนพฤสจิกายน สามัคยาจารย์สมาคมได็เกิดขึ้นครั้งแรกเป็นการแข่งขันฟุตบอลขอบรรดาครูและสมาชิกครู โดยใช้ชื่อว่า "ฟุตบอลสามัคยาจารย์"
พ.ศ.2450-2452 ผู้ตัดสินชาวอังกฤษชื่อ "มร.อี.เอส.สมิธ" อดีนักฟุตบอลอาชีพ ได้มาทำการตัดสินในประเทศไทยเป็นเวลา2ปี ทำให้คนไทยโดยเฉพาะครู อาจารย์ และผู้สนใจ ได้เรียนรู้กติกาและสิ่งใหม่ๆเพิ่มขึ้นมาก
พ.ศ.2451 มีการจัดการแข่งขัน "เตะฟุตบอลไกล" ครั้งแรก
พ.ศ.2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2452 นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของผู้สนับสนุนฟุตบอลไทยในยุคนั้น ซึ่งต่อมาในปีนี้ กรมศึกษาธิการก็ได้ประกาศใช้วิธีการแข่งขัน "แบบพบกันหมด" (Round Robin)แทนวิธีการแข่งขันแบบแพ้คัดออก สำหรับคะแนนที่ใช้นับเป็นแบบของแคนนาดา (Candian System)คือ ชนะ2คะแนน เสมอ1คะแนน แพ้0คะแนน และยังคงใช้อยู้จนถึงปัจจุบัน
พ.ศ.2453 กรมศึกษาธิการได้ปรับปรุงกติกาฟุตบอลให้ทันสมัยยิ่งขึ้น
พ.ศ.2454 กรมการศึกษาธิการได้จัดการแข่งขันฟุตบอล"รุ่นเล็ก"สำหรับนักเรียนอายุไม่เกิน 18 ปี ชิงโล่เงิน"มร. ดับบลิว. ยี. จอห์นสัน" ชาวอังกฤษ วึ่งเป็นที่ปรึกษากระทรวงธรรมการในขณะนั้น และชุดฟุตบอลใดได้ชนะเลิศติดต่อกัน 3 ปีจะได้รับโล่เป็นกรรมสิทธิ์
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงมีความสนพระทัยกีฬาฟุตบอลเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงกีฬาฟุตบอลเอง และทรงตั้งทีมฟุตบอลส่วนพระองค์ ชื่อทีม "เสือป่า" และได้เสด็จพระราชดำเนินประทับทอดพระเนตรการแข่งขันฟุตบอลเป็นพระราชกิจวัตรเสมอมา โดยเฉพาะมวยไทย พระองค์ทรงเคยปลอมพระองค์เป็นสามัญชนขึ้นต่อยมวยไทยจนได้ฉายาว่า "พระเจ้าเสือป่า" พระองค์ท่านทรงพระปรีชาสามารถมากจนเป็นที่ยกย่องของพสกนิกรทั่ไทยจนตราบทุกวันนี้
จากพระราชกิจวัตรของพระองค์รัชกาลที่ 6 ทางด้านฟุตบอล นับได้ว่าเป็นยุคทองของไทยอย่างแท้จริง อีกทั้งยังมีการเผยแพร่ข้าวสาร หนังสือพิมพ์ และบทข่าวต่างๆทางด้านฟุตบอลดังรายละเอียดต่อไปนี้
พ.ศ.2457 "พระยาโอวาทวรกิจ" (แหม ผลพันชิน) หรือนามปากา "ครูทอง" ได้เขียนบทนำข่าวกีฬา "เรื่องจรรยาของผู้เล่นฟุตบบอล" และ "คุณพระวรเวทย์พิสิฐ" (วรเวทย์ ศิวะศริยานนท์) ได้เขียนบทความกีฬา "เรื่องการเล่นฟุตบอล" และ "พระยาพาณิชศาสตร์วิธาน" (อู่ พรรธนแพทย์) ได้เขียนบทความกีฬาที่ประทับใจชาวไทยอย่างยิ่ง "เรื่องอย่าสำหรับนักเลงฟุตบอล"
พ.ศ.2458 ประชาชนชาวไทยสนใจฟุตบอลอย่างกว้างขวาง เนื่องจากกรมศึกษาธิการได้พัฒนาวิธีการเล่น วิธีการจัดแข่งขัน การตัดสิน กติกาฟุตบอลที่สากลยอมรับตลอดจนระเบียบการแข่งขันที่รัดกุมยิ่งขึ้น และผู้ใหญ่ในวงการให้ความสนใจอย่างแท้จริง นับตั้งแต่ องค์รัชกาลที่ 6 ลงมาถึงพระบรมวงศานุวงศ์ จนถึงสามัญชนและชาวต่างชาติ และในปี พ.ศ. 2458จึงได้มีการแข่งขันฟุตบอลประเภทสโมสรครั้งแรก เป็นการชิงถ้วยพระราชทานและเรียกชื่อการแข่งขันฟุตบอลประเภทนี้ว่า "การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยทองของหลวง" การแข่งขันฟุตบอลสโมสรนี้เป็นการแข่งขันระหว่าง "ทหาร-ตำรวจ-เสือป่า" ซึงผู้เล่นจะต้องมมีอายุเกินเกินกว่าระดับทีมนักเรียนนับว่าเป็นการเพิ่มประเภทการแข่งขันฟุตบอล
ราชกรีฑาสโมสร หรือสปอร์ตคลับ นับได้ว่าเป็นสโมสรแรกของประเทศไทยเป็นศูนย์รวมของชาวต่างประเทศในกรุงเทพฯ ซึ่งยังอยู่ในปัจจุบัน และศูนย์รวมสปอร์ตคลับเป็นศูนย์กลางของกีฬาหลายประเภท โดยเฉพาะกีฬาฟุตบอลได้มีผู้เล่นระดับชาติจากประเทศอังกฤษเข้าร่วมทีมอยู่หลยคน อาทิเช่น มร.เอ.พลี.โคลบี. อาจารย์โรงรียนราชวิทยาลัย นับว่าเป็นทีมที่ดีมีความพร้อมมากทั้งทางด้านผู้เล่นงบประมาฌ และสนามแข่งขันมาตรฐาน จึงต้องเป็นเจ้าภาพให้ทีมต่างๆของไทยเรามาเยือนอยู่เสมอทำให้วงการฟุตบอลไทยในยุคนั้นได้พัฒนายิ่งขึ้น และรัชกาลที่ 6 ทรงสนพระทัยโดยเสด็จมาเป็นองค์ประธานพระราชทานรางวัลเป็นพระราชกิจวัตร ทำให้ประชาชนเรียกการแข่งขันสมัยนั้นว่า "ฟุตบอลหน้าพระที่นั่ง" และระหว่างพักครึ่งเวลามีการแสดง "พวกฟุตบอลตลกหลวง" นับเป็นที่ชื่นชอบของปวงชนชาวไทยสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่ง และการแข่งขันฟุตบอลสโมสรครั้งแรกนี้ มีทีมสมัครเข้าร่วมแข่งขัน 12 ทีม ใช้เวลาในการแข่งขัน 46 วัน (11 กันยายน-27 ตุลาคม 2458) จำนวน 29 แมตช์ ณ สนามเสือป่า ถนนหน้าพระลานสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร หรือสนามหน้ากองอำนวยการรักษาการปลอดภัยแห่งชาติปัจจุบัน พระองค์รัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขณะกรรมการดำเนินการแข่งขัน นับว่าฟุตบอลไทยมีระบบในการบริหารมานานถึง 77 ปีแล้ว
ความเจริญก้าวหน้าของฟุตบอลภายในประเทศ ได้แผ่ขยายกว้างขว้างทั่วประเทศไปสู่สโมสรกีฬาต่างจังหวัด หรือชนบทอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นที่นิยมกันทั่วไปภายใต้การสนับสนุนของรัชกาลที่ 6 และพระองค์ท่านทรงเล็งเห็นการณ์ไกลว่าควรที่จะตั้งศูนย์กลางหรือสมาคมอย่างมีระบบแผนที่ดีโดยมีคณะกรรมการบริหารสมาคมและทรงมีพระบรมราชโองการก่อตั้ง "สโมสรคณะฟุตบอลสยาม" ขึ้นมาโดยพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเล่นฟุตบอลเอง
รัชกาลที่ 6ได้ทรงมีวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามดังนี้ คือ
1. เพื่อให้ผู้เล่นฟุตบอลมีพลานามัยที่สมบูรณ์
2. เพื่อให้เกิดความสามัคคี
3. เพื่อให้เกิดไหวพริบ และเป็นนักกีฬาที่ประหยัดดี
4. เพื่อเป็นการศึกษากลยุทธในการรุกและรับเช่นเดียวกับกองทัพทหาร
จากวัตถุประสงค์ดังกล่าว นับเป็นสิ่งที่ผลักดันให้สมาคมฟุตบแลแห่งสยามดำเนินกิจการเจริญก้าวหน้ามาจนตราบถึงทุกวันนี้ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
พ.ศ.2458 การแข่งขันระหว่างชาติครั้งแรกของประเทศไทย เมื่อวันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2458 ณ สนามราชกรีฑาสโมสร (สนามม้าปทุมวันปัจจุบัน) ระหว่าง "ทีมชาติสยาม" กับ "ทีมราชกรีฑาสโมสร" ต่อหน้าพระที่นั่ง และมี "มร.ดักลาส โรเบิร์ตสัน" เป็นผู้ตัดสินซึ่งการแข่งขันปรากฏว่า ทีมชาติสยาม ชนะทีมราชกรีฑาสโมสร 2:1ประตูและครั้งที่2 เมื่อวันเสาร์ที่18 ธันวาคม พ.ศ.2458เป็นการแข่งขันระหว่างชาตินัดที่2 แบบเหย้าเยือนต่อหน้าพระที่นั่ง ณ สนามเสือป่าดุสิต และผลปรากฏว่าทีมชาติสยามเสมอกับทีมราชกรีฑาสโมสรหรือทีมรวมต่างชาติ 1:1ประตู
สมาคนฟุตบอลแห่งประเทศไทย (The Football Association of Thailand) ได้วิวัฒนาการตามลำดับต่อไปนี้
พ.ศ.2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามขึ้นเมื่อ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2459 และตราข้อบังคับขึ้นใช้ในสมาคมฟุตบอลแห่งสยามด้วยซึ่งมีชื่อว่า ส.ฟ.ท. และเขีนยเป็นภาษาอังกฤษว่า "The Football Association of Thailand Under The Pratonage of His The King" ใช้อักษรย่อว่า F.A.T. และสมาคมฯจัดการแข่งขันถ้วยใหญ่และถ้วยน้อยเป็นครั้งแรกในปีด้วย
พ.ศ.2468 เป็นภาคีสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลระหว่างชาติ เมื่อ วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2468 ซึ่งมีชื่อย่อว่า ฟีฟ่า และเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "Faderation Internation De Football Association" ใช้อักษรย่อว่า F.I.F.A.
พ.ศ.2471 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับครั้งที่ 1
พ.ศ.2475-2490 งดการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน เพราะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
พ.ศ.2477 เริ่มการแข่งขันฟุตบอลประเพณี จุลาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ.2493 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับครั้งที่ 2
พ.ศ.2495 สมาคมฟุตบอลฯได้จัดการแข่งขันฟุตบอลถ้วยน้อยและถ้วยใหญ่
พ.ศ.2499 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับครั้งที่ 3 และเรียกว่าข้อบังคับลักษณะปกครอง
พ.ศ.2499 สมาคมฟุตบอลฯได้สิทธิ์ส่งทีมฟุตบอลชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขัน "กีฬาโอลิมปิก" ครั้งที่ 16 นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน เมื่อ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 ณ นครเมลเบอร์น ประเทศออสเตรเลีย
พ.ศ.2500 เป็นภาคีสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย ซึ่งมีชื่อย่อว่า เอ เอฟ ซี และเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "Asian Football Confederation" ใช้อักษรย่อว่า A.F.C.
พ.ศ.2501 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับลักษณะปกครองครั้งที่ 4
พ.ศ.2503 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับลักษณะปกครองครั้งที่ 5
พ.ศ.2504-ปัจจุบัน สมาคมฟุตบอลได้จัดแข่งขันฟุตบอลถ้วยน้อยและถ้วยใหญ่ ซึ่งภายหลังได้จัดการแข่งขันแบบเดียวกับสมาคมฟุตบอลอังกฤษ คือ จัดเป็นประเภทถ้วยพระราชทาน ก ข ค และ ง และยังจัดการแข่งขันประเภทอื่นๆอีก เช่น ฟุตบอลนักเรียน ฟุตบอลเตรียมอุดม ฟุตบอลอาชีวะ ฟุตบอลเยาวชนและอนุชน ฟุตบอลอุดมศึกษา ฟุตบอลเอฟ.เอ.คัพ และฟุตบอลควีนส์คัพ ฟุตบอลคงส์คัพ เป็นต้น ฯลฯ นอกจากนี้ ยังได้จัดการแข่งขันและส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันกับทีมนานาชาติมากมายจนถึงปัจจุบัน


ดาวยิงสูงสุดในประวัติฟุตบอลไทย


1. ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน - 103 ประตู
2. เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง - 91 ประตู
3. นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ - 55 ประตู
4. เจษฎาภรณ์ ณ พัทลุง - 42 ประตู
5. เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์ - 35 ประตู

ราชกรีฑาสโมสร หรือสปอร์ตคลับ นับได้ว่าเป็นสโมสรแรกของไทยและเป็นศูนย์รวมของชาวต่างประเทศในกรุงเทพฯ ซึ่งยังอยู่ในปัจจุบัน และสโมสรสปอร์ตคลับเป็นศูนย์กลางของกีฬาหลายประเภท โดยเฉพาะกีฬาฟุตบอลได้มีผู้เล่นระดับชาติจากประเทศอังกฤษมาเข้าร่วมทีมอยู่หลายคนเช่น มร.เอ.พี.โคลปี. อาจารย์โรงเรียนราชวิทยาลัย นับได้ว่าเป็นทีมฟุตบอลที่ดี มีความพร้อมมากทั้งทางด้านผู้เล่นงบประมาณและสนามแข่งขันมาตรฐาน จึงต้องเป็นเจ้าภาพให้ทีมต่างๆของไทยเรามาเยือนอยู่เสมอทำให้วงการฟุตบอลไทยในยุคนั้นได้พัฒนายิ่งขึ้น และรัชกาลที่ 6 ทรงสนพระทัยโดยเสด็จมาเป็นองค์ประธานพระราชทานรางวัลเป็นพระราชกิจวัตร ทำให้ประชาชนเรียกการแข่งขันสมัยนั้นว่า"ฟุตบอลหน้าพระที่นั่ง" และระหว่างพักครึ่งเวลามีการแสดง "พวกฟุตบอลตลกหลวง"นับเป็นพิธีชื่นชอบของปวงชนชาวไทยสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่ง และการแข่งขันฟุตบอลสโมสรครั้งแรกนี้ มีทีมสมัครเข้าร่วมแข่งขันจำนวน 12 ทีม ใช้เวลาในการแข่งขัน 46 วัน (11 ก.ย.-27 ต.ค. 2458) จำนวน 29 แมตช์ ณ สนามเสือป่า ถนนหน้าพระลาน สวนดุสิต กรุงเทพมหานครหรือสนามหน้ากองอำนวนการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติปัจจุบันพระองค์รัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการแข่งขันนับว่าฟุตบอลไทยมีระบบในการบริหารมานานนับถึง 72 ปีแล้ว

ความเจริญก้าวหน้าของฟุตบอลภายในประเทศได้แผ่ขยายกว้างขวางทั่วประเทศไปสู่สโมสรกีฬา-ต่างจังหวัดหรือชนบทอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นที่นิยมกันทั่วไปภายใต้การสนับสนุนของรัชกาลที่ 6 และพระองค์ท่านทรงเล็งเห็นกาลไกลว่าควรที่ตะตั้งศูนย์กลางหรือสมาคมอย่างมีระบบแบบแผนที่ดีโดยมีคณะกรรมการบริหารสมาคมและทรงมีพระบรมราชโองการก่อตั้ง "สโมสรคณะฟุตบอลสยาม" ขึ้นมาโดยพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเล่นฟุตบอลเอง

รัชกาลที่ 6 ได้ทรงมีวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามดังนี้คือ
1. เพื่อให้ผู้เล่นฟุตบอลมีพลานามัยที่สมบูรณ์
2. เพื่อก่อให้เกิดความสามัคคี
3. เพื่อก่อให้เกิดไหวพริบและเป็นกีฬาที่ประหยัดดี
4. เพื่อเป็นการศึกษากลยุทธ์ในการรุกและการรับเช่นเดียวกับกองทัพทหารหาญ

จากวัตถุประสงค์ดังกล่าว นับเป็นสิ่งที่ผลักดันให้สมาคมฟุตบอลแห่งสยามดำเนินกิจการเจริญก้าวหน้ามาจนตราบถึงทุกวันนี้ ซึ่งมีกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลดังนี้ พ.ศ. 2458 (ร.ศ. 134) การแข่งขันระหว่างชาติครั้งแรกของประเทศไทย เมื่อวันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 ณ สนามราชกรีฑาสโมสร(สนามม้าปทุมวันปัจจุบัน) ระหว่าง "ทีมชาติสยาม" กับ "ทีมราชกรีฑาสโมสร" ต่อหน้าพระที่นั่ง และมี "มร.ดักลาส โรเบิร์ตสัน" เป็นผู้ตัดสิน ซึ่งผลการแข่งขันปรากฏว่าทีมชาติสยามชนะทีมราชกรีฑาสโมสร 2-1 ประตู (ครึ่งแรก 0-0) และครั้งที่ 2 เมื่อวันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2458เป็นการแข่งขันระหว่างชาตินัดที่ 2 แบบเหย้าเยือนต่า หน้าพระที่นั่ง ณ สนามเสือป่าสวนดุสิตและผลปรากฏว่า ทีมชาติสยามเสมอกับทีมราชกรีฑา สโมสร หรือทีมรวมต่างชาติ 1-1 ประตู (ครึ่งแรก 0-0)

สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย(THE FOOTBALL ASSOCIATION OF THAILAND)

มีวิวัฒนาการตามลำดับต่อไปนี้
พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน พุทธศักราช 2459 และตราข้อบังคับขึ้นใช้ในสนามฟุตบอลแห่งสยามด้วยซึ่งมีชื่อย่อว่า ส.ฟ.ท. และเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "THE FOOTBALL ASSOCIATION OF THAILANDUNDER THE PATRONAGE OF HIS MAJESTY THE KING" ใช้อักษรย่อว่า F.A.T.และสมาคมฯ จัดการแข่งขันถ้วยใหญ่และถ้วยน้อยเป็นครั้งแรกในปีนี้ด้วย

พ.ศ. 2468 เป็นภาคีสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลระหว่างชาติ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พุทธศักราช 2468 ชุดฟุตบอลเสือป่าพรานหลวง ได้รับถ้วยของพระยาประสิทธิ์ศุภการ (เจ้าพระยารามราฆพ) ซึ่งเล่นกับชุดฟุตบอลกรมทหารรักษาวัง เมื่อ พ.ศ. 2459-2460 ได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ โดยชนะ 2 ปีติดต่อกัน
รายนามผู้เล่น
1. ผัน ทัพภเวส
2. ครูเพิ่ม เมษประสาท (พระดรุณรักษา)
3. ครูเธียร วรธีระ (หลวงวิเศษธีระการ)
4. จรูญฯ (พระทิพย์จักษุศาสตร์)
5. ก้อนดิน ราหุลหัต (หลวงศิริธารา)
6. ครูสำลี จุโฬฑก (หลวงวิศาลธีระการ)
7. ครูหับ ปีตะนีละผลิน (หลวงประสิทธิ์นนทเวท)
8. ตุ๋ย ศิลปี (หลวงจิตร์เจนสาคร)
9. แฉล้ม กฤษณมระ (พระประสิทธิ์บรรณสาร)
10. จิ๋ว รามนัฎ (หลวงยงเยี่ยงครู)
11. ลิ้ม ทูตจิตร์ (พระวิสิษฐ์เภสัช)

ชุดฟุตบอลสโมสรกรมหรสพ ได้รับพระราชทาน "ถ้วยใหญ่" ของสมาคมฟุตบอลแห่งสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2459
รายนามผู้เล่น
1. ครูเพิ่ม เมษประสาท (พระดรุณรักษา)
2. ครูเธียร วรธีระ (หลวงวิเศษธีระการ)
3. เจ็ก สุนทรกนิษฐ์
4. บุญ บูรณรัฎ
5. ใหญ่ มิลินทวณิช (หลวงมิลินทวณิช)
6. ครูหับ ปีตะนีละผลิน (หลวงประสิทธิ์นนทเวท)
7. ผัน ทัพภเวส
8. ถม โพธิเวช
9. แฉล้ม พฤษณมระ (พระประสิทธิ์บรรณสาร)
10. หลวงเยี่ยงครู (ถือถ้วยใหญ่)
11. เกิด วัชรเสรี (ขุนบริบาลนาฎศาลา)

พ.ศ. 2499 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ ครั้งที่ 3 และเรียกว่าข้อบังคับ ลักษณะปกครอง

พ.ศ. 2499 สมาคมฟุตบอลฯ ได้สิทธิ์ส่งทีมฟุตบอลชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขัน "กีฬาโอลิมปิก" ครั้งที่ 16 นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2499 ณ นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย

พ.ศ. 2500 เป็นภาคีสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย ซึ่งมีชื่อย่อว่า เอเอฟซี และเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า"ASIAN FOOTBALL CONFEDERATION" ใช้อักษรย่อว่า A.F.C.

พ.ศ. 2501 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับลักษณะปกครอง ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2503 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับลักษณะปกครอง ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2504-ปัจจุบันสมาคมฟุตบอลฯได้จัดการแข่งขันฟุตบอลถ้วยน้อย และถ้วยใหญ่ซึ่งภายหลังได้จัดการแข่งขันแบบเดียวกันของสมาคมฟุตบอลอังกฤษคือจัดเป็นประเภทถ้วยพระราชทาน ก, ข, ค, และ ง และยังจัดการแข่งขันประเภทอื่นๆ อีกเช่น ฟุตบอลนักเรียน ฟุตบอลเตรียมอุดม ฟุตบอลอาชีวะ ฟุตบอลเยาวชนและอนุชน ฟุตบอลอุดมศึกษา ฟุตบอลเอฟเอ คัพ ฟุตบอลควีส์ คัพ ฟุตบอลคิงส์คัพ เป็นต้น ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้จัดการแข่งขันและส่งทีมเข้าร่วมกับทีมนานาชาติมากมายจนถึงปัจจุบัน

พ.ศ. 2511 สมาคมฟุตบอลได้สิทธิ์ส่งทีมฟุตบอลชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งที่ 2เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2511 ณ ประเทศเม็กซิโก

พ.ศ. 2514 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับลักษณะปกครอง ครั้งที่ 6 ชุดฟุตบอลทีมชาติไทย ชุดแรกที่เดินทางไปแข่งขัน "กีฬาโอลิมปิก"ครั้งที่ 16 ณ นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2499

พ.ศ. 2531 สมาคมฟุตบอลฯ ได้มีโครงการจัดการแข่งขันฟุตบอลภายในประเทศ รวมทั้งเชิญทีมต่างประเทศเข้าร่วมแข่งขัน และส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันในต่างประเทศตลอดปี

จากสภาพการณ์ปัจจุบันสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศฯ ได้สร้างเกียรติยศชื่อเสียงเป็นที่ปรากฏและประจักษ์แจ้งแก่มวลสมาชิกฟุตบอลนานาชาติ ตัวอย่างประเทศเกาหลีได้จัดฟุตบอลเพรสซิเด้นคัพปี 2530 นี้ได้เชิญทีมฟุตบอลชาติไทยเท่านั้นแสดงว่าแสดงว่าสมาคมฟุตบอลของไทยได้บริหารทีมฟุตบอลเป็นทีมที่มีมาตรฐานสูงสุดจนเป็นที่ยอมรับของเอเชียในปัจจุบันและต่อจากนี้ไป ในปีพุทธศักราช 2530 นี้ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้วางแผนพัฒนาทีมฟุตบอลชาติไทยให้ยิ่งใหญ่ยิ่งขึ้น โดยมีโครงการทีมฟุตบอลชาติไทยชุดถาวรของสมาคมฟุตบอลฯเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลชาติไทย ซึ่งนักฟุตบอลทุกคนของสมาคมฯจะได้รับเงินเดือนเดือน ละ 3,000 บาท ในช่วงปี 2530-2531 นอกจากนี้สมาคมฟุตบอลฯได้วางแผนพัฒนาเกี่ยวกับการฝึกซ้อมและแข่งขันฟุตบอลโดยนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการฝึกด้วยตลอดจนหาช้างเผือกมาเสริมทีมชาติเพื่อเป็นตัวตายตัวแทนสืบไป ขอใหสโมสรสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านโปรดติดตามและเอาใจช่วยให้สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยจงเจริญรุ่งเรืองสืบไปชั่วนิจนิรันดร์

เครดิต บาย !! mOobOy Cheerthai !!

www.cheerthai.com

อัพเดทล่าสุด