https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
สร้างเด็กอัจฉริยะ เด็กอัจฉริยะวิธีสร้างเด็กอัจฉริยะ วิธีเลี้ยงเด็กอัจฉริยะ MUSLIMTHAIPOST

 

สร้างเด็กอัจฉริยะ เด็กอัจฉริยะวิธีสร้างเด็กอัจฉริยะ วิธีเลี้ยงเด็กอัจฉริยะ


876 ผู้ชม


สร้างเด็กอัจฉริยะ เด็กอัจฉริยะวิธีสร้างเด็กอัจฉริยะ วิธีเลี้ยงเด็กอัจฉริยะ
“วัดแววอัจฉริยะ” กิจกรรมเสริมทักษะ สร้างวิธีคิด

ปัจจุบัน กิจกรรมการเสริมสร้างทักษะทางความคิดให้กับเด็กและเยาวชนไทยมีอยู่ด้วยกัน หลายรูปแบบ ล่าสุดภายในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน ครั้งที่ 5 ซึ่ง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี(สสวท.) คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกันจัดขึ้น ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ในระหว่างวันที่ 19-20 มีนาคม ที่ผ่านมา ก็มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย หนึ่งในนั้นคือ “กิจกรรมการวัดแววอัจฉริยะ” ของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ที่มีเยาวชนแวะเวียนเข้าไปร่วมสนุกกับเกมการทดสอบทักษะความคิดรูปแบบต่างๆ อยู่ไม่ขาดสาย

อาจารย์ทรรศนัย โกวิทยากร จากมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต กล่าวว่า กิจกรรมการวัดแววอัจฉริยะนี้ได้รับความสนใจจากเด็กๆเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากความสนุกสนานแล้ว ยังเป็นการฝึกฝนให้รู้จักแยกแยะ และยังบ่งบอกได้ถึงความสามารถเฉพาะด้านอย่างชัดเจน โดยจะมีวิธีการทดสอบความถนัดที่แตกต่างกันออกไป เช่น เกมโดมิโน่ จะเป็นการทดสอบเรื่องมิติสัมพันธ์ ความถนัดด้านทิศทาง, ลูกเต๋ากับบัตรตัวเลข ทดสอบเรื่องการคิด คำนวณ, บัตรภาพ ช่วยฝึกฝนด้านความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ, บัตรภาพแยกแยะ ช่วยฝึกทักษะการแยกประเภทของสิ่งต่างๆ นอกจากนี้ยังมีวิธีการทดสอบประสาทการรับรู้กลิ่น, การทดสอบเรื่องของภาษาผ่านลูกเต๋าภาษาอังกฤษ และแบบทดสอบความถนัดอื่นๆ อีกมากมายที่แตกต่างกัน

จักรี เสนเมือง นักศึกษาจากคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาเอกการศึกษาพิเศษ ปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฎ สวนดุสิต กล่าวเสริมว่า กิจกรรมการฝึกทักษะการวัดแววอัจฉริยะ สามารถนำไปใช้ฝึกเด็กได้ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ โดยการตอบคำถามของเด็ก ๆ หลังจากการทดสอบจะสามารถบอกถึงความถนัดพิเศษของเด็กแต่ละคนได้ ซึ่งข้อมูลนี้สามารถนำมาพัฒนาและฝึกฝนความคิดของเด็กให้เหมาะสมกับความถนัด ของเขาต่อไปในอนาคตได้เป็นอย่างดี ซึ่งแรงสนับสนุนจากผู้ปกครองนับเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้เด็กรู้และเข้าใจตัว เอง ด้านครูอาจารย์ ก็จะเป็นคนเลือกสรร วิธีการทดสอบที่เสริมสร้างทักษะความสามารถพิเศษที่จะทำให้เด็กกลายเป็น เยาวชนที่มีคุณภาพของประเทศต่อไปได้อย่างสมบูรณ์แบบ”

เด็กชายฐิติวัชร์ จันทร์สุวรรณ์ อายุ 13 ปี จากโรงเรียนโพฒิสาร จังหวัดนครสวรรค์ ที่เดินทางมาร่วมกิจกรรมพร้อมกับคณะครูและเพื่อน ๆ อีกกว่า 40 คน กล่าวว่า “ ผมได้ร่วมฝึกทดสอบการสังเกตว่า มีอะไรผิดปกติ หรือมีอะไรต่างกันบ้าง ซึ่งมันทำให้ได้ฝึกประสาทการรับรู้และการแยกแยะได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย สำหรับการมาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ก็รู้สึกสนุก ตื่นเต้นและท้าทายมาก อยากให้มีการจัดงานแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ อยากให้ทุกคนสนใจงานวิทยาศาสตร์กันเยอะๆ เพราะวิทยาศาสตร์สามารถช่วยในเรื่องการทดลอง หรือการประดิษฐ์สิ่งต่างๆให้เป็นที่รู้จักของทั่วโลกได้ ผมอยากให้ประเทศไทยมีนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกครับ” เด็กชายฐิติวัชร์ กล่าวทิ้งท้าย

ที่มา : เว็บไซต์ scimath

อัพเดทล่าสุด