เรื่องน่ารู้ ราคาก่อสร้าง โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ว่ามีอะไรบ้าง? MUSLIMTHAIPOST

 

เรื่องน่ารู้ ราคาก่อสร้าง โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ว่ามีอะไรบ้าง?


1,156 ผู้ชม

โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นโครงการระยะยาว โดยการก่อสร้างนับตั้งแต่เริ่มเทคอนกรีตครั้งแรกจนกระทั่งเดินเครื่องใช้งาน


ราคาก่อสร้าง

  โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นโครงการระยะยาว โดยการก่อสร้างนับตั้งแต่เริ่มเทคอนกรีตครั้งแรกจนกระทั่งเดินเครื่องใช้งาน ได้จะใช้เวลาก่อสร้างนาน 6-8 ปี และยังจำเป็นต้องใช้เวลาดำเนินการล่วงหน้าประมาณ 4 ปีในเรื่องการเลือกสถานที่ตั้งการออกแบบและการวิเคราะห์ความปลอดภัย ดังนั้นหลังจากที่ได้มีการตัดสินใจก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แล้ว ต้องใช้เวลานานประมาณ 8-12 ปี จึงจะสามารถใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ ทำให้ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูงและหากการก่อสร้างเกิดอุปสรรคความล่าช้า อาจส่งผลกระทบโดยตรงกับการลงทุนของโครงการ

  ทั้งนี้จากผลการศึกษาของ OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) ล่าสุดในปี พ.ศ.2541 ปรากฏว่าราคาค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีราคาประมาณ 1,700-3,100 เหรียญสหรัฐ/กิโลวัตต์ ซึ่งเมื่อพิจารณาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาด 1,000 เมกะวัตต์ ใช้เวลาก่อสร้าง 4-6 ปีจะมีค่าก่อสร้างประมาณ 1,700-2,100 ล้านเหรียญสหรัฐ (7.6 - 9.4 หมื่นล้านบาท) ทั้งนี้หากใช้เวลาก่อสร้างล่าช้าถึง 8 ปีจะต้องใช้เงินลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งสิ้น 1.4 แสนล้านบาท (1 เหรียญสหรัฐเท่ากับ 45 บาท) เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละประมาณ 2 หมื่นล้านบาท

  เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กับโรงไฟฟ้าชนิด อื่นนั้น จากผลการศึกษาของ OECD เช่นเดียวกันปรากฏว่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่มีราคาใกล้เคียงกันกับต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน

  อย่างไรก็ตามผลการศึกษาของคณะอนุกรรมการศึกษาความเหมาะสมเศรษฐศาสตร์และโครง สร้างพื้นฐาน ในคณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ของการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศ ไทยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541 ได้สรุปว่า เมื่อเปรียบเทียบโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมถ่านหินนำเข้าและน้ำมันเตา ปรากฏว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่คุ้มค่าการลงทุน

Image
ภาพโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ขณะทำการก่อสร้าง

ที่มา : ศูนย์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology Knowledge Center)

อัพเดทล่าสุด