https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การปฏิสนธิและการตั้งครรภ์ (สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ) MUSLIMTHAIPOST

 

การปฏิสนธิและการตั้งครรภ์ (สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ)


716 ผู้ชม


การปฏิสนธิและการตั้งครรภ์ โดย นายแพทย์เสบียง ศรีวรรณบูรณ์

          เมื่อหญิงย่างเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ หรือ เริ่มมีประจำเดือน จะมีไข่สุกและหลุดออกจากรังไข่ ในระยะนี้ถ้ามีการร่วมเพศ ตัวอสุจิของชายจำนวนหลายล้านตัวจะแหวกว่ายผ่านปากมดลูกเข้าไปในโพรงมดลูกจน ถึงท่อนำไข่ และจะมีอสุจิเพียงตัวเดียวเท่านั้น  ที่สามารถเข้าผสมกับไข่ได้ การผสมระหว่างไข่และอสุจิ เรียกว่า การปฏิสนธิ ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งครรภ์
          หลังจากเกิดการปฏิสนธิเรียบร้อยแล้ว  ตัวอสุจิกับไข่จะรวมเป็นเซลล์เดียวกัน เรียกว่า ไซโกต ต่อมาไซโกตจะแบ่งตัวแบบทวีคูณจาก ๑ เซลล์เป็น ๒ เซลล์จาก ๒ เซลล์เป็น ๔ เซลล์ จาก ๔ เซลล์เป็น ๘ เซลล์เรื่อยไปตามลำดับจนได้หลายเซลล์  มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นก้อน การบีบตัวของท่อนำไข่จะทำให้ก้อนนี้เคลื่อนเข้าสู่โพรงมดลูก โดยใช้เวลาประมาณ ๗-๘ วัน แล้วฝังตัวที่ผนังชั้นในของมดลูกหรือเยื้อบุโพรงมดลูก เพื่อเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนต่อไป ซึ่งจะใช้เวลาอีกประมาณ ๒๖๐ วัน หรือ ๓๗ สัปดาห์ จึงจะครบกำหนดคลอด

การปฏิสนธิและการตั้งครรภ์ (สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ)
ขั้นตอนการปฏิสนธิ : การปฏิสนธิ การปฏิสนธิและการตั้งครรภ์ (สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ)

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]

หัวข้อ

อาการของการตั้งครรภ์

          เมื่อมีการตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีอาการต่างๆ เกิดขึ้นหลายอย่าง ซึ่งอาจช่วยให้ทราบได้ว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นหรือไม่   อาการเหล่านี้ ได้แก่
          ๑. ประจำเดือนขาดหายไป เป็นการเปลี่ยนแปลงขั้นแรกของการตั้งครรภ์สำหรับผู้ที่แต่งงานแล้วและเคยมี ประจำเดือนมาตรงตามเวลา แต่โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ หรือความวิตกกังวลก็อาจเป็นสาเหตุให้ประจำเดือนขาดหายไป หรือไม่มาตามกำหนดได้
          ๒. มีอาการแพ้ท้อง เช่น คลื่นไส้ อาเจียนเวียนศีรษะ น้ำลายออกมากกว่าปกติ อยากกินของเปรี้ยวๆ หรือของแปลกๆ ได้กลิ่นต่างๆ มากผิดธรรมดาบางครั้งมีอารมณ์อ่อนไหว โกรธง่าย ใจน้อย อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ประมาณสองในสามของผู้ตั้งครรภ์และเกิดขึ้นมาก หรือน้อยแตกต่างกันไป
          ๓. มีอาการเปลี่ยนแปลงของเต้านมและหัวนม ตามปกติก่อนประจำเดือนจะมาเล็กน้อย เต้านมจะคัดตึง และกดเจ็บ เมื่อตั้งครรภ์จะมีอาการเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น  เต้านมอาจมีขนาดโตขึ้น หัวนมและผิวหนังบริเวณลานหัวนมจะมีสีคล้ำมากขึ้น โดยเฉพาะครรภ์แรกจะสังเกตเห็นได้ง่าย และในระยะครรภ์แก่อาจจะมีน้ำนมไหลออกมา
          ๔. ถ่ายปัสสาวะบ่อย แต่ไม่แสบ ไม่ขัด หรือขุ่น อาการนี้จะพบในอายุครรภ์ ๒-๓ เดือนแรก เนื่องจากมดลูกไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ และจะมีอาการนี้อีกครั้งในเดือนสุดท้ายของครรภ์ เนื่องจากศีรษะเด็กไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ
          ๕. คลำพบก้อนที่บริเวณเหนือหัวหน่าว ซึ่งจะคลำได้เมื่ออายุครรภ์เกิน  ๓ เดือนไปแล้ว แต่ในคนผอมอาจจะคลำพบก่อนระยะนี้ก็ได้
          ๖. เด็กดิ้น ในครรภ์แรกแม่จะรู้สึกว่าเด็กดิ้นเมื่ออายุครรภ์ประมาณ ๒๐ สัปดาห์ สำหรับผู้ที่เคยมีบุตรมาแล้วจะรู้สึกเร็ว  คือ อายุครรภ์ประมาณ ๑๘ สัปดาห์

การวินิจฉัยการตั้งครรภ์

          มีหลายวิธี อาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือใช้หลายวิธีประกอบกัน ได้แก่
          ๑. การซักประวัติได้ว่าขาดประจำเดือนและมีอาการต่างๆ ของการตั้งครรภ์ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
          ๒. การตรวจหน้าท้อง คลำได้ส่วนต่างๆ ของเด็ก และฟังได้ยินเสียงหัวใจเด็ก
          ๓. การตรวจภายใน พบการเปลี่ยนแปลงของผนังช่องคลอดและปากมดลูก และพบว่าขนาดของมดลูกโตขึ้น
          ๔. การตรวจระดับฮอร์โมนในเลือดหรือในปัสสาวะ ระดับของฮอร์โมนนี้จะสูงขึ้นเมื่อมีการตั้งครรภ์และจะสูงสุดเมื่ออายุครรภ์ ประมาณ ๘-๑๐ สัปดาห์
          ๕. การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง  (ultrasound)  สามารถวินิจฉัยการตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่อายุครรภ์ ๕-๖ สัปดาห์

การคะเนวันคลอด

          โดยปกติ ทารกจะคลอดเมื่ออายุครรภ์ครบกำหนด คือ ๔๐ สัปดาห์ หรือ ๒๘๐ วัน นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย ดังนั้น ในหญิงที่มีประจำเดือนมาตรงและสม่ำเสมอทุก ๒๘ วัน เราจะสามารถคะเนวันคลอดได้ โดยนับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายไป  ๒๘๐ วัน ซึ่งในทางปฏิบัติเรานิยมนับย้อนหลังไป ๓ เดือน แล้วบวกอีก ๗ วัน ก็จะคะเนวันที่และเดือนที่จะคลอดได้
          ในกรณีที่จำวันที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายไม่ได้เราอาจคะเนวันคลอดได้จาก วันแรกที่แม่เริ่มรู้สึกว่าเด็กดิ้น โดยทั่วไป แม่จะเริ่มรู้สึกว่าเด็กดิ้นเมื่ออายุครรภ์ได้  ๒๐ สัปดาห์ ในครรภ์แรก และ ๑๘ สัปดาห์ในครรภ์หลัง ดังนั้น  เราสามารถคะเนวันคลอดโดยนับจากวันแรกที่เริ่มรู้สึกว่าเด็กดิ้นไปอีก ๒๐ สัปดาห์ ในครรภ์แรกและ ๒๒ สัปดาห์ในครรภ์หลัง วิธีนี้มีโอกาสคลาดเคลื่อนได้มากกว่าวิธีแรก เพราะอาศัยความรู้สึกของแม่เป็นหลัก
          นอกจากนี้  แพทย์สามารถคะเนวันคลอดได้จากการประมาณอายุครรภ์ขณะตรวจ โดยดูจากขนาดของมดลูก รวมทั้งการวัดขนาดของศีรษะและลำตัวของเด็กในครรภ์ โดยอาศัยเครื่องมือตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง


การฝากครรภ์

          การฝากครรภ์ถือเป็น เวชศาสตร์ป้องกันอย่างหนึ่ง เพื่อการป้องกันรักษา และลดอันตรายจากโรคแทรกซ้อน  อันอาจเกิดขึ้นได้กับมารดาและทารกทั้งทางร่างกายและจิตใจในระยะก่อนคลอด ระยะคลอด และหลังคลอด
          เมื่อทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ ควรรีบไปฝากครรภ์เพื่อรับคำแนะนำการปฏิบัติตัวของมารดาและการดูแลทารกจาก แพทย์หรือพยาบาลอย่างใกล้ชิด โดยแพทย์จะนัดตรวจเป็นระยะๆ ซึ่งมีความสำคัญมากเพราะแพทย์สามารถตรวจพบและเปรียบเทียบได้ว่า ครรภ์นั้นผิดปกติหรือไม่ เด็กเจริญเติบโตตามปกติหรืออยู่ในท่าปกติหรือเปล่า อีกทั้งเพื่อป้องกันและรักษาโรคแทรกซ้อนซึ่งอาจเกิดขึ้นในระยะต่างๆ ของการตั้งครรภ์

การปฏิสนธิและการตั้งครรภ์ (สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ)


ที่มา  https://guru.sanook.com

อัพเดทล่าสุด