https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
รักษาซิฟิลิส ด้วย ยารักษาโรคซิฟิลิส ที่ปลอดภัย !! MUSLIMTHAIPOST

 

รักษาซิฟิลิส ด้วย ยารักษาโรคซิฟิลิส ที่ปลอดภัย !!


1,670 ผู้ชม


คุณเคยรู้จักโรคซิฟิลิส Syphilis หรือเปล่า

คนส่วนใหญ่จะเข้าในว่าโรคซิฟิลิส Syphilis กับ หนองใน คือโรคเดี่ยวกัน

เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Treponema pallidum เชื้อนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อเมือกเช่น ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ ปาก เยื่อบุตา หรือทางผิวหนังที่มีแผล เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะเข้ากระแสเลือดและไปจับตามอวัยวะต่างๆทำให้เกิด โรคตามอวัยวะ โรคนี้แบ่งออกเป็น 4 ระยะได้แก่

  • primary
  • secondary
  • latent
  • tertiary (or late)

คนเราติดเชื้อโรคนี้ได้อย่างไร

ทางเพศสัมพันธ์

  • เชื้อโรคสามารถติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยผ่านทางเยื่อบุช่องคลอด ท่อปัสสาวะ
  • เชื้อโรคจะติดต่อได้บ่อยในระยะ primary เนื่องจากระยะนี้จะไม่มีอาการ
  • ในระยะ secondary จะมีหูดระยะนี้จะมีเชื้อโรคปริมาณมากหากสัมผัสอาจจะทำให้เกิดการติดต่อ

การติดต่อทางอื่น

  • เชื้อจะอ่อนแอตายง่ายดังนั้นการสัมผัสมือหรือการนั่งโถส้วมจะไม่ติดต่อ
  • หากผิวหนังที่มีแผลสัมผัสกับแผลที่มีเชื้อก็ทำให้เกิดการติดเชื้อ

จากแม่ไปลูก

  • เชื้อสามารถติดจากแม่ไปลูกขณะตั้งครรภ์และขณะคลอด

อาการของโรค

Primary Syphilis

ในระยะ primary รอยโรคจะปรากฏเป็นแผลริมแข็ง Chancre ซึ่งจะมีลักษณะที่สำคัญดังนี้

  • หลังจากได้รับเชื้อ 10-90 วันจะมีตุ่มแดงแตกออกเป็นแผลที่อวัยวะเพศตรงบริเวณที่เชื้อเข้า
  • แผลมักจะเป็นแผลเดียว ไม่เจ็บ ขอบนูน ต่อมน้ำเหลืองจะโตกดไม่เจ็บ
  • ตำแหน่งที่พบได้บ่อยได้แก่ อวัยวะเพศชาย อัณฑะ ทวารหนัก ช่องคลอด ริมฝีปาก
  • แผลจะอยู่ 1-5สัปดาห์แผลจะหายไปเอง
  • แม้ว่าแผลจะหายไปแต่ยังคงมีเชื้ออยู่ในกระแสเลือด
  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคเอดส์ และมีขนาดใหญ่และมีอาการเจ็บมาก
  • การตรวจเลือกในช่วงนี้อาจจะให้ผลลบได้ร้อยละ30

Secondary Syphilis

  • ระยะนี้จะเกิดหลังได้รับเชื้อ 17วัน- 6 เดือน
  • ผู้ป่วยจะมีอาการอยู่ประมาณ 2-6 สัปดาห์แล้วจะหายไปแม้ว่าจะไม่ได้รับการรักษา
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • ปวดตามข้อเนื่องจากข้ออักเสบ

อาการที่สำคัญมีดังนี้

  • มีผื่นสีแดงน้ำตาลที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ไม่คัน
  • ผื่นนี้สามารถพบได้ทั่วตัว
  • จะพบหูด Condylomata lata บริเวณที่อับชื้น เช่นรักแร้ ทวารหนัก ขาหนีบ
  • จะพบผื่นสีเทาในปาก คอ และปากมดลูก
  • ผมร่วงเป็นหย่อมๆ
  • ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่สบาย
  • อาการเหล่านี้จะอยู่ได้ 1-3 เดือนหายไปได้เอง และอาจจะกลับเป็นซ้ำ
  • การตรวจเลือดในช่วงนี้จะให้ผลบวก

Latent Stage ระยะแฝง

  • ช่วงนี้ผู้ป่วยไม่มีอาการของโรค ช่วงนี้กินเวลา 2-30 ปีหลังจากได้รับเชื้อ
  • ในช่วงนี้จะทราบได้โดยการเจาะเลือดตรวจ
  • ในระยะนี้อาจจะเกิดผื่นเหมือนในระยะ Secondary Syphilis
  • ในระยะนี้หากตั้งครรภ์ เชื้อสามารถติดไปยังลูกได้

Late Stage (Tertiary)

  • ระยะนี้จะกินเวลา 2-30 ปีหลังได้รับเชื้อ
  • ระยะนี้เชื้อโรคจะทำลายอวัยวะต่างๆเช่น หัวใจและหลอดเลือด สมองทำให้อ่อนแรงหรืออาจจะตาบอด กระดูกหักง่าย
  • หากไม่รักษาให้ทัน อวัยวะต่างๆจะถูกทำลายโดยที่ไม่สามารถกลับเป็นปกติ
  • การตรวจเลือดอาจจะให้ผลลบได้ร้อยละ30

Congenital Syphilis

หมายถึงทารกที่ติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เด็กจะมีอาการดังนี้

  • เด็กจะมีอาการหลังคลอด 3-8 สัปดาห์
  • อาการอาจจะมีเล็กน้อยจนไม่ทันสังเกตเห็น ทำให้ไม่ได้รับการรักษา
  • เด็กโตขึ้นจะกลายเป็นระยะ Late Stage (Tertiary)

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นซิฟิลิส

การตรวจวินิจฉัยโรคนี้สามารถทำได้โดยการนำหนองจากแผล หรือเลือดไปตรวจหาตัวเชื้อ การตรวจเชื้อทำได้โดย

>>>>Darkfield Exam<<<<

  • การตรวจทำไดโดยการน้ำเหลืองจากแผลหรือผื่นที่สงสัยไปตรวจ
  • นำน้ำเหลืองนั้นไปส่องกล้องเพื่อหาตัวเชื้อ
  • การตรวจนี้สามารถวินิจฉัยได้ทั้งระยะ Primary Syphilis และ Secondary Syphilis

>>>>การตรวจเลือด<<<<

  • การเจาะเลือดตรวจหาภูมิต่อเชื้อซิฟิลิสทำได้ 2วิธีคือ
  • การ เจาะเลือดเพื่อหาภูมิคุ้มกันซึ่งไม่เฉพาะเจาะจงต่อเชื้อซิฟิลิส ได้แก่การเจาะ VDRL (Venereal Disease Research Laboratory) หรือ RPR (Rapid Plasma Reagent) หากให้ผลบวกต้องเจาะเลือดอีกเพื่อยืนยันการวินิจฉัย
  • การเจาะเลือดเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโดยการเจาะ FTA-ABS (Fluorescent Treponemal Antibody Absorption Test) หรือ MHA-TP (Microhemagglutination-Treponema Pallidum)

ข้อควรระวังสำหรับผู้ที่เคยเป็นซิฟิลิสมาก่อนอาจจะให้ผลบวกหลอกโดยที่ไม่เป็นโรค

  • Cerebrospinal Fluid Test การตรวจน้ำไขสันหลังจะทำในรายสงสัยว่าจะมีการติดเชื้อในระบบประสาท

การรักษาโรคนี้ต้องทำอย่างไร

  • ยาที่ใช้รักษาคือ Penicillin
  • การรักษาต้องรักษาทั้งคู่
  • หลังจากรักษา 6 เดือนต้องตรวจซ้ำหลังจากนั้นตรวจทุกปี

   ข้อมูลจาก  ศูนย์บริการสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร

     ประวัติความเป็นมา
          เมื่อปี  พ.ศ. 2480 ได้ มีพระราชบัญญัติจัดตั้ง “เทศบาลกรุงเทพมหานคร” และพระราชกฤษฎีกามอบกิจการ“กองสาธารณสุขพระนคร” สังกัดกระทรวงมหาดไทยให้แก่เทศบาลกรุงเทพมหานคร  และได้เปิดดำเนินการในวันที่  27พฤษภาคม 2480 โดยใช้ชื่อ “กองสาธารณสุขพระนคร เทศบาลนครกรุงเทพ”และในปี พ.ศ. 2489 :  เริ่มมีการจัดตั้ง “สถานสงเคราะห์แม่และเด็ก” เป็นแห่งแรกที่สะพานมอญ  โดยใช้ที่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นสถานที่ตั้ง  และเน้นให้บริการ เน้นด้านอนามัยแม่และเด็ก การตรวจสุขภาพแม่และเด็ก แนะนำวิธีเลี้ยงบุตร   รวมทั้งการตรวจรักษาโรคแบบผู้ป่วยนอก(OPD)กับประชาชนทั่วไป    ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.2504 :  ได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก “สถานสงเคราะห์แม่และเด็ก”(ในตอนนั้นมี 8 แห่ง)  มาเป็น  “ศูนย์บริการสาธารณสุข”  โดยมีหมายเลขของศูนย์กำกับต่อท้ายชื่อเพื่อแสดงถึงลำดับที่ในการเปิด  เช่น “ศูนย์บริการสาธารณสุข 1 สะพานมอญ”
หลังจากนั้นก็ได้มีการขยายการให้บริการโดยมีการเพิ่มศูนย์อย่างต่อเนื่องซึ่งปีพ.ศ. 2550  มีศูนย์บริการสาธารณสุขทั้งหมด   68 แห่ง

          ปัจจุบัน ศูนย์บริการสาธารณสุข มีหน้าที่รับผิดชอบด้านสุขภาพและอนามัยของประชาชน  การบำบัดรักษาผู้ป่วย  การส่งเสริมสุขภาพ  การควบคุมป้องกันโรค โดยมีบริการเช่น

การบริการภายในศูนย์

คลินิกพิเศษ
(บางศูนย์เท่านั้น)

งานบริการนอกศูนย์

  • คลินิกรักษาโรคทั่วไป
  • คลินิกทันตกรรม
  • คลินิกฝากครรภ์
  • คลินิกวางแผนครอบครัว
  • คลินิกสุขภาพเด็กดี
  • คลินิกสุขภาพสตรี
  • คลินิกส่งเสริมสุขภาพสตรีวัยทอง
  • คลินิกครอบครัว       สมานทฉันท
  • คลินิกโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • คลินิกเบาหวาน
  • คลินิกวัณโรค
  • คลินิกกามโรค
  • คลินิกนิรนาม
  • คลินิกโรคผิวหนัง
  • คลินิกผู้สูงอายุ
  • คลินิกทันตกรรมพิเศษ (ทันตกรรมเฉพาะเช่นทันตกรรมเด็ก  ผ่าตัดฝันคุด เป็นต้น)
  • คลินิกสุขภาพจิต
  • คลินิกยาเสพติด
  • สถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน  รับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน
  • บริการพยาบาลในชุมชน
  • บริการอนามัยในโรงเรียน
  • บริการด้านสังคมสงเคราะห์
  • บริการสาธารณสุขเคลื่อนที่
  • บริการสาธารณสุขมูลฐาน  (อบรบอาสาสมัครสาธารณสุขประจำชุมชน)
ที่มา  learners.in.th

อัพเดทล่าสุด