โรคสะเก็ดเงินที่ศรีษะ >> วิธีรักษาโรคสะเก็ดเงินที่ศรีษะ ที่ถูกต้อง MUSLIMTHAIPOST

 

โรคสะเก็ดเงินที่ศรีษะ >> วิธีรักษาโรคสะเก็ดเงินที่ศรีษะ ที่ถูกต้อง


3,956 ผู้ชม


โรคสะเก็ดเงินที่ศรีษะ

ผู้ป่วยสะเก็ดเงินส่วน หนึ่งจะมีผื่นที่ศีรษะซึ่งอาจเป็นอาการแสดงเริ่มแรก หรือเป็นในภายหลังก็ได้ ผื่นสะเก็ดเงินที่ศีรษะมีความรุนแรงแตกต่างกันได้หลายระดับ ดังนั้นการดูแลรักษาจึงแตกต่างกันตามความรุนแรง

การรักษาสะเก็ดเงินที่ศีรษะ : ควรเลือกใช้ยาให้เหมาะกับความรุนแรงของพื้นที่ศีรษะ ดังนี้

•  ความรุนแรงน้อย - สระผมด้วยแชมพูน้ำมันดิน โดยนวดทิ้งไว้ 5 นาทีแล้วล้างออก

- ทาผื่นที่ศีรษะด้วย ยาสเตียรอยด์ชนิดสารละลาย

•  ความรุนแรงมาก – หมักด้วยน้ำมันมะกอกข้ามคืน เพื่อช่วยให้ขุยและสะเก็ดนุ่ม

- สระผมด้วยแชมพูน้ำมันดินวันเว้นวัน โดยนวดทิ้งไว้ 5 นาทีแล้วล้างออก

- ทาผื่นที่ศีรษะด้วย ยาสเตียรอยด์ชนิดครีมน้ำนม

  ผื่นรุนแรงและมีน้ำเหลือง – ชะแผลด้วยน้ำเกลือ วันละ 3-4 ครั้งจนน้ำเหลืองแห้ง แล้วใช้น้ำมันมะกอกหรือ baby oil ทาเสริมเพื่อเพิ่มการดูดซึมของยา

วิธีการทายา

•  ใช้หวีแสกเส้นผมทีละส่วน แล้วทายาที่หนังศีรษะบริเวณรอยแสก

เทคนิคการทายาให้มีประสิทธิภาพ

  1. ทายาให้ถูกที่,ถูกตำแหน่ง
  2. ทาถูกวิธี
  3. ทาตรงตามเวลา (คือ ทาวันละ 2 ครั้ง)
  4. ทาต่อเนื่อง เป็นเวลานานพอ
สรุป

การรักษาสะเก็ดเงินจะต้องอาศัยการดูแลแบบองค์ รวม คือต้องหลีกเลี่ยงสาเหตุที่กระตุ้นให้โรคกำเริบ เช่นความเครียด พักผ่อนน้อย เป็นหวัดเจ็บคอ การแกะเกา การดื่มสุรา เป็นต้น การรักษาโดยใช้ยา เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการรักษาเท่านั้น

คำถามจากการประชุม

1. แชมพูน้ำมันดิน ต้องใช้ต่อเนื่องหรือไม่?

ควรสระผมด้วยน้ำมันดินอย่าง ต่อเนื่องจนผื่น ขุย และสะเก็ดบนศีรษะลดลง โดยทั่วไปใช้วันเว้นวัน ถ้าอาการดีขึ้น ก็ลดความถี่ลง อาจใช้สลับกับแชมพูอื่นได้

2. สามารถใช้น้ำอุ่นสระผม ได้หรือไม่?

ได้ แต่ไม่ควรร้อนมาก เพราะน้ำร้อนทำให้หลอดเลือดขยาย และทำให้เม็ดเลือดขาวซึ่งก่อให้เกิดการอักเสบมาที่ผิวหนังเพิ่มขึ้นด้วย

3. โรคสะเก็ดเงิน เป็นสาเหตุทำให้ผมร่วงได้หรือไม่?

สะเก็ดเงินมีพยาธิสภาพเกิดที่ผิวหนังชั้น นอก (หนังกำพร้าและหนังแท้ส่วนบน) แต่ รากผมอยู่ในชั้นลึกจึงไม่เกิดการอักเสบด้วย ผมจึงไม่ร่วง

ในกรณีที่เกาจนผมร่วง ผมจะขึ้นใหม่ได้ เพราะเซลล์ที่สร้างรากผมยังอยู่

4. การไดร์ผม ดัดผม ทำให้โรคสะเก็ดเงินกำเริบได้หรือไม่?

ถ้าร้อนเล็กน้อยไม่เป็นไร แต่ถ้าร้อนมาก ทำให้หลอดเลือดขยายตัว เม็ดเลือดขาวมาที่ผิวหนังมากขึ้น

5. ถ้าหนังศีรษะเป็นปกติแล้ว จำเป็นต้องใช้แชมพูน้ำมันดินเพื่อควบคุมอาการหรือไม่?

ไม่จำเป็นต้องสระผมด้วยแชมพูน้ำมันดินตลอด ไปดูตามอาการอักเสบที่หนังศีรษะ ว่าเป็นมากหรือน้อย แล้วสระผมด้วยแชมพูน้ำมันดินรวมกับทายาครีมสเตียรอยด์ เมื่ออาการหนังศีรษะอักเสบสงบ อาจใช้แชมพูน้ำมันดินสระเป็นครั้งคราว เช่น สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เป็นต้น

6. ควรเลือกใช้น้ำมันมะกอกหรือ baby oil ?

ใช้ชนิดไหนก็ได้ ขึ้นกับความชอบของแต่ละบุคคล แต่ baby oil บางชนิดผสมเครื่องหอม อาจทำให้เกิดผื่นแพ้สัมผัสได้

7. อยากทราบความสัมพันธ์ของโรคผิวหนังอักเสบ (seborrheic dermatitis) กับโรคสะเก็ดเงิน?

Seborrheic dermatitis เป็นโรคผิวหนังอักเสบในบริเวณที่มีต่อมไขมัน เช่น ศีรษะ หน้าหน้าอก หลังส่วนบน สะดือ หัวเหน่า และรักแร้ โรคสะเก็ดเงินก็เป็นใน บริเวณ เหล่านี้ได้

ผู้ป่วยบางคนสงสัยเป็นผิวหนังอักเสบ seborrheic dermatitis เมื่อติดตามต่อไป อาจ เป็น seborrheic dermatitis หรือเป็นสะเก็ดเงินก็ได้ แต่ถ้าเป็นตำแหน่งที่มีต่อมไขมันมากๆ ไม่เป็นที่อื่นเลยจะสงสัยเป็น seborrheic dermatitis มากกว่า ถ้าเป็นโรคสะเก็ดเงินผื่นมักเกิดได้ทุกตำแหน่งของผิวหนัง

ที่มา  www.si.mahidol.ac.th

อัพเดทล่าสุด