https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
นวดอาการปวดต้นคอ ปวดหลัง กดจุดแก้ปวดต้นคอ ง่ายๆบรรเทาได้ MUSLIMTHAIPOST

 

นวดอาการปวดต้นคอ ปวดหลัง กดจุดแก้ปวดต้นคอ ง่ายๆบรรเทาได้


1,877 ผู้ชม


การนวดลดอาการปวดบ่าและคอ
ประโยชน์ของการนวด
ในปัจจุบันการนวดได้รับความนิยมเพราะเมื่อได้รับการนวดแล้วทำให้สุขภาพดีขึ้น (กรุงไกรเจนพาณิชย์. 2534ซ 40-41) ได้อธิบายไว้ดังนี้
1. ผลของการนวดไทย
มีผลดีต่อทุกระบบร่างกาย
1.1 เพิ่มการไหลเวียน : เลือดน้ำเหลือง
1.2 เพิ่มการทำงานของหัวใจ กล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อเรียบ สมอง, ระบบประสาท
1.3 ลดความเครียด ความกังวล
1.4 ลดการบีบเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อลาย ฯลฯ
2. คนไข้ได้ผลดีทั้งร่างกายและจิตใจ เพราะ
2.1 อาการปวดเมื่อยตามตัวหายไป
2.2 กินได้ - นอนหลับ - ผ่อนคลายทั้งตัว
2.3 รู้สึกแจ่มใส หายปวดหัว วิงเวียน
2.4 ตาสว่าง สดชื่น กระปรี้กระเปร่า
2.5 หายเหนื่อยเร็ว (หัวใจ ปอด)
2.6 ท้องเบาสบาย ไม่อึดอัด
2.7 หายใจเต็มอิ่ม มีความคล่องตัว ฯลฯ
2.8 การนำ "นวดไทย" มาประยุกต์ใช้ (ยามจำเป็น ลางเนื้อชอบลางยา)
2.9 การป้องกัน - กินไม่ได้ นอนไม่หลับ วิตกกังวล (เครียด) นวดถนอมสายตา
2.10 การรักษาอาการ - ปวดเมื่อย ปวดหัว มึนงง วิงเวียน นวดรักษา สายตา ฯลฯ
2.11 การรักษาสาเหตุ - ปวดข้อมือ ข้อไหล่ติด ตกหมอน หลังแข็ง ข้อ แพลง ฯลฯ
2.12 การพิเคราะห์แยกโรค - ปวดท้อง แน่นอก หายใจขัด ตามัว
2.13 การรักษาเร่งด่วน (ปัจจุบันพยาบาล) - ปวดกระเพาะ - ลำไส้, หอบเหนื่อย (หืด) ปวดหัวอย่างรุนแรง (ความดัน ไมเกรน) ฯลฯ
2.14 การฟื้นฟูสภาพ - เป็นโรคที่ทำให้ต้องนอนนาน ผู้ป่วยสูงอายุหลังหายจากหวัด ลดอาการท้องอืดหลังผ่าตัด ฯลฯ
2.15 การทำให้มีอายุยืน - ช่วยจัดการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ให้เหมาะสม ฯลฯ
2.16 ข้อสังเกต
2.17 การใช้สมาธิร่วมด้วยจะทำให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
2.18 ควรอนุรักษ์การนวดไทยและพัฒนาด้วยการค้นคว้าวิจัยต่อไปให้ก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น
2.19 โปรดร่วมมือร่วมใจพัฒนาการนวดไทย ให้ข้อความต่อไปนี้เป็นจริงให้จงได้
อาการการปวดบ่าและต้นคอ
คอ ซึ่งมีลักษณะบอบบางกะทัดรัดเมื่อเปรียบเทียบกับศีรษะและลำตัวที่มัน เชื่อมอยู่นี้ เป็นชุมทางใหญ่ของระบบประสาทจากสมอง ที่ควบคุมสั่งการไปยังส่วนของร่างกายทั้งหมดนับจากคอลงมา คอจึงมีหน้าที่สำคัญที่จะปกป้องคุ้มครองไขสันหลัง เส้นประสาทต่าง ๆ ที่ออกจากสมอง หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง รวมทั้งทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักของหัวกระโหลกและมันสมองซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่ หนักและสำคัญที่สุดของคนเรา
เนื่องจากส่วนคอ ต้องทำหน้าที่ที่สำคัญ และยิ่งใหญ่ประกอบกับโครงสร้างที่บอบบางและละเอียดอ่อน ทำให้คอมีโอกาสได้รับความชอกช้ำหรือบาดเจ็บได้ง่าย และบ่อยมาก การปวดคอหรือบริเวณใกล้เคียง จึงพบได้มากรองลงมาจากภาวะปวดหลัง
การ บาดเจ็บของคอที่พบบ่อย และค่อนข้างมีอาการเจ็บปวดมาก คือ อาการคอแข็ง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ตกหมอน" ซึ่งเกิดเนื่องจากมีการเคลื่อนของข้อต่อกระดูก เพียงเล็กน้อยเป็นผลทำให้เอียงคอหรือเคลื่อนไหวศีรษะไปในทางใดทางหนึ่งไม่ ได้ และอาจมีการหดเกร็งแข็งของกล้ามเนื้อคอร่วมด้วย อาการเหล่านี้จะหายได้เองภายใน 2-3 วัน ภายหลังจากคอได้
"พักผ่อน" ตัวเอง โดยไม่ต้องรอว่าเจ้าของจะยอมอนุญาตหรือไม่ เพราะการที่คอไม่ยอมเคลื่อนไหวเลยก็เป็นการหยุดพักในตัวเบ็ดเสร็จอยู่แล้ว
สาเหตุของการปวดคอที่พบบ่อย
1. อิริยาบถหรือท่าที่ผิดสุขลักษณะ
ใน กิจวัตรประจำวันที่กล้ามเนื้อของคอบางมัดถูกใช้งานจนเมื่อยล้าเกินไป เช่น คนที่ชอบยืนทำท่าหลังค่อม พุงยื่นจะทำให้คอต้องก้มมาข้างหน้ามาก ซึ่งพบได้บ่อยในคนอ้อนที่มีไขมันหน้าท้องมากและกล้ามเนื้อหน้าท้องอ่อนแอ การนั่งก้มหน้าก้มตาทำงานทั้งวัน เช่น งานนั่งโต๊ะเขียนหนังสือ งานเย็บจักร ซักผ้าหรือตรงกันข้าม พวกกรรมกรก่อสร้าง ช่างไม้ที่ต้องเงยหน้าทำงานอยู่นาน ๆ การเงยคออยู่ตลอดเวลาก็ทำให้ปวดคอได้เช่นกัน
การนอนในท่าที่นอนคอพับหรือบิดไปข้างใดข้างหนึ่ง นอนหนุนหมอนที่สูงเกินไป ฯลฯ จะทำให้ปวดคอหรือคอเคล็ดหลังจากตื่นนอนได้
2. ความเครียดทางจิตใจ
การ ดำรงชีวิตในปัจจุบันทำให้เกิดความเครียดได้ง่ายและได้มาก เช่น จากหน้าที่การงานที่ทำประจำ เศรษฐกิจที่รัดตัว ปัญหาชีวิตครอบครัว ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทำลายสุขภาพทางกายหรือใจ และการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ฯลฯ อาจทำให้กล้ามเนื้อคอเกิดการหดเกร็งมากและนานผิดปกติ ทำให้เกิดอาการปวดต้นคอหรือปวดศีรษะบริเวณท้ายทอยภายหลังจากการทำงาน หรือมีปัญหาขัดแย้งดังกล่าว
3. ภยันตรายบริเวณกระดูกคอ
3.1 คอเคล็ดหรือยอก
ไม่ ว่าในขณะเคลื่อนไหวร่างกายในการทำกิจวัตรประจำวัน หรือทำงานตามปกติอาจเกิดเหตุบังเอิญทำให้คอต้องเคลื่อนไหวมาก หรือรวดเร็วรุนแรงกว่าปกติ ซึ่งมีผลทำให้เส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อต้องถูกยึดมากจนมีการฉีกขาดบางส่วน เกิดอาการปวดและกล้ามเนื้อหดตัวเกร็งในทิศใดทิศหนึ่ง ทำให้เคลื่อนไหวไม่ถนัด ภาวะที่ทำให้เกิดคอเคล็ดหรือยอกได้บ่อย ๆ ได้แก่ การนั่ง หรือยืนโหนรถเมล์ เมื่อรถหยุดกระทันหันคอจะถูกเหวี่ยงไปข้างหลังแล้วพับมาข้างหน้าอย่างแรง การยึดหรือก้มคอเพื่อมองหาของที่ตกใต้โต๊ะ ใต้เตียง ตลอดจนการหกล้มศีรษะถูกกระแทกทำให้คอพัก นอกจากนี้ที่พบได้บ่อยคือ การนอนบนหมอนที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ภายหลังจากตื่นนอนแล้วจะพบว่ามีอาการ "ตกหมอ " ได้
3.2 การบาดเจ็บของกระดูกคอ
อาจเกิดขึ้นได้จาก อุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น ตกจากที่สูง ถูกทำร้ายร่างกาย รถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์พลิกคว่ำหรือชนกัน ฯลฯ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดคอรุนแรง หรือร่วมกับการบาดเจ็บส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยที่ใกล้ที่สุด ต้องระวังในขณะโยกย้ายผู้ป่วย อย่าพับคอผู้ป่วยหรือให้คออยู่ในท่าก้มศีรษะโดยเด็ดขาด ควรหาไม้กระดานรองรับส่วนศีรษะ คอ และทรวงอกให้อยู่ในท่านอนราบตรง ๆ มิฉะนั้นผู้ป่วยอาจถึงตายหรือเกิดอัมพาตของแขนขาทั้งสองข้างอย่างทันทีทันใด ได้ เนื่องจากกระดูกคอหักเคลื่อนที่ไปกดทับถูกไขสันหลังเข้า
4. ภาวะข้อเสื่อม
จาก ภาระหน้าที่ที่กระดูกคอต้องแบกตลอดเวลาตั้งแต่เด็กเมื่อเริ่มชันคอได้ ข้อต่อของกระดูกย่อมเสื่อมสภาพไปตามสังขารและความสมบุกสมบันในการใช้งาน การเสื่อมเกิดขึ้นได้ทั้งข้อต่อของหมอนรองกระดูกที่อยู่ด้านหน้าและที่อยู่ ด้านหลัง การเปลี่ยนแปลงของข้อเสื่อมคือ มีปุ่มกระดูกหรือกระดูกงอกที่ขอบ ๆ ของข้อต่อ ซึ่งอาจไปกดทับถูกปลายประสาทที่ออกมาจากช่องระหว่างป้องกระดูกหรือการเสื่อม ของหมอนกระดูกเองที่เคลื่อนไปกดทับถูกไขสันหลังหรือเส้นประสาท
5. ข้ออักเสบ
โรค ข้ออักเสบเรื้อรัง บางชนิดจะทำให้ข้อต่อที่กระดูกอักเสบด้วย เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ เกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ข้อกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้ผู้ป่วยมักปวดข้อรุนแรง ไม่ควรรักษาตนเอง ควรรีบไปปรึกษาแพทย์
6. กลุ่มอาการปวดเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ
เป็น สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดคอได้มากกว่าสาเหตุใด ๆ ดังกล่าวข้างต้น พบได้ตั้งแต่วัยหนุ่มสาวจนถึงวัยสูงอายุ โดยเฉพาะในวันสูงอายุ มักทำให้เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าเกิดจากกระดูกคองอกไปกดทับเส้นประสาท ซึ่งความจริงแล้วเกิดจากมีปัญหาหรือพยาธิสภาพที่กล้ามเนื้อบริเวณคอหรือ สะบักโดยตรง ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป นอกจากจะมีอาการปวดคอแล้ว อาจมีอาการปวดมึนศีรษะร่วมด้วย หรือมีอาการปวดร้าวไปที่ไหล่ แขน มือ และร่วมกับมีความรู้สึกชาที่แขนและปลายนิ้วมือ คล้ายกับเส้นประสาทถูกกดทับด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกลุ่มกล้ามเนื้อที่มีปัญหา ซึ่งมีอาการแสดงแตกต่างกันออกไปของแต่ละ กลุ่มกล้ามเนื้อ
อาการและอาการแสดง
มี อาการปวดในกล้ามเนื้อและปวดมากขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อนั้นถูกใช้งานมากมีบริเวณ (โซน) ของการปวดร้าว พบจุดกดเจ็บในกล้ามเนื้อ เมื่อกดจะเจ็บมากขึ้นและอาจปวดร้าวได้ คลำพบพึงผืดลักษณะเป็นก้อน หรือแถบแข็งเป็นลำ บริเวณจุดกดเจ็บ อาจพบว่ามีการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อต่อใกล้เคียง และกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้
การรักษาตนเองเมื่อมีอาการปวดคอ
1. สำหรับผู้ที่มีอาการปวดคอหรือคอแข็งอย่างเฉียบพลัน หลังจากการเอี้ยว บิดผิดท่าหรือภายหลังการตื่นนอน
- พยายามพักผ่อนให้มาก ทางที่ควรหาโอกาสนอนราบชั่วคราว เพราะจะทำให้คอไม่ต้องแบกน้ำหนักของศีรษะ
- กินยาแก้ปวด ถ้าปวดไม่มากอาจกินยาพาราเซตามอล ขนาด 500 มิลลิกรัม 1 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง หรือถ้าปวดมากให้กินแอสไพริน ขนาด 300 มิลลิกรัม 2-3 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง โดยเฉลี่ยไม่เกิน 12 เม็ดต่อวัน ต้องกินยาพร้อมกันกับหรือหลังอาหารทันที อาจกินควบกับยาลดกรด เช่น อัลมาเจล อะลั่มมิลค์ ฯลฯ อาการปวดจะทุเลาลงภายใน 2 ชั่วโมง บางครั้งกินยาเพียง 1-2 วัน อาการก็จะหายสนิท หยุดยาได้
- การประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำร้อนในระยะแรกอาจใช้น้ำแข็งทุบใส่ถุงพลาสติกห่อ ผ้าขนหนูบริเวณที่ปวด หรือจะใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบประมาณ 10-15 นาทีก็ได้ จะบรรเทาอาการปวดได้
- การดัดยืดกระดูกคอด้วยตนเอง ใช้สองมือประสานกันที่บริเวณท้ายทอย ค่อย ๆ ออกแรงดัดกระดูกคอในท่าก้มหรือดัดในท่าก้มร่วมกับบิดศีรษะไปในทิศทางที่หัน ไปไม่ได้เต็มที่ ทำเป็นจังหวะอย่างช้า ๆ จนรู้สึกเจ็บเสียวเล็กน้อย แล้วค้างไว้ประมาณ 30 วินาที ทำชุดละ 5-10 ครั้ง วันละ 3 ชุด ภายหลังการดัดยืดแล้วอาการเจ็บปวดจะลดลงการเคลื่อนไหวคอจะมากขึ้นแล้วจะหาย ดีภายใน 3 วัน
- การใส่ปลอกคอ มักไม่มีความจำเป็น ยกเว้นในรายที่ปวดมากจริง ๆ กินยาแล้วยังไม่ทุเลาอาจทำปลอกคอง่าย ๆ โดยใช้ผ้าขนหนูขนาดกลางพับเป็นแถบกว้าง 3-4 นิ้ว พันรอบคอแล้วใช้เข็มกลัดซ่อนปลายกลัดให้แน่นพอที่จะกันไม่ให้ก้มหรือตะแคงคอ ได้ แต่ต้องไม่แน่นมากจนอึดอัดหายใจไม่สะดวก
- การยึดกล้ามเนื้อ ท่านต้องทราบว่ากล้ามเนื้อมัดใดที่มีปัญหา
โดยคำขอปรึกษาจากนักกายภาพบำบัดแล้วค่อย ๆ ยืดเนื้อเยื่อไปตามความยาวของกล้ามเนื้อ
ยืดค้างนาน 10-20 วินาทีแล้วพัก ทำชุดละ 10 ครั้ง วันละ 2-3 ชุด
- หลีกเลี่ยงการใช้งานหลักของกล้ามเนื้อมัดที่มีปัญหา
หรือท่าทางที่ทำให้มีอาการปวดมากขึ้น
ลำดับการเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อจนอวัยวะไม่สามารถทำงานได้
การออกแรงทำงาน
กล้ามเนื้อทำงานซ้ำซากหรือทำงานนานเกินไป
กล้ามเนื้อล้า
มีการสะสมของเสียในกล้ามเนื้อ
การขาดโลหิตหล่อเลี้ยงทำให้บวม ร้อน
ปวดกล้ามเนื้อ
ปวดเกร็ง
ข้อต่อเคลื่อนไหว
ไม่สะดวก
1. ปฏิกิริยาของใยกล้ามเนื้อ
2. การหดตัวของกล้ามเนื้อ
3. ข้อต่อเคลื่อนไหวลำบาก
4. ลดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
5. เอ็นเคลื่อนไหวลำบาก
อวัยวะส่วนนั้นไม่สามารถใช้งานได้
อาการปวดศีรษะ
การ ปวดศีรษะ เป็นอาการป่วยอย่างหนึ่งซึ่งแพทย์มักจะได้รับคำบอกเล่าจากคนไข้บ่อยที่สุด เป็นอาการที่พบได้บ่อยโดยปราศจากโรคร้ายแรง แต่สามารถคุกคามต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ได้ (Diamond, Solomon, Frietag 1989:249) ปวดศีรษะ หมายถึง ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นตั้งแต่ระดับหน้าผากขึ้นไป อาจเป็นอาการตึง ๆ หนัก ๆ มึนงงจนถึงปวดศีรษะ และมักจะรวมความเจ็บปวดบริเวณใบหน้าและต้นคอ อาการปวดศีรษะมีอยู่หลายชนิดและหลายรูปแบบเป็นอาการแสดงของโรค แต่มิใช่ตัวโรคสามารถเป็นผลมาจากการได้รับบาดเจ็บ การเปลี่ยนแปลงของสารฮอร์โมน ฯลฯ (ลีออน ไซเทา 2537:8) นิพนธ์ พวงวรินทร์ (2533) ได้จำแนกสาเหตุของอาการปวดศีรษะไว้เป็นกลุ่ม ๆ ดังนี้
1. ปวดศีรษะจากเส้นเลือด (Vascular headache) เกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดแดงบริเวณศีรษะที่พบบ่อยได้แก่ ไมเกรน (Migraine) กลุ่มอาการปวดศีรษะ (cluster headache) เป็นต้น
2. ปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัว ความเครียด (muscle contration headache, tension headache) เป็นอาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อยที่สุดและเป็นสาเหตุของการปวดศีรษะในประชาชน ทั่วไป
3. ปวดศีรษะจากการบาดเจ็บของศีรษะ (headache associated with head trauma)
4. ปวดศีรษะจากความดันในสมองเพิ่มขึ้น (meningeal irritation type of headache)
5. ปวดศีรษะจากความดันในสมองเพิ่มขึ้น (increase intracranial pressure type of headache)
6. ปวดศีรษะจากการติดเชื้อ (headache associated with systemic of focal infetion)
7. ปวดศีรษะจากโรคตา หู จมูก ฟัน และอวัยวะในช่องปาก เช่น ต้อหินเฉียบพลัน โพรงอากาศอักเสบเฉียบพลัน เป็นต้น
8. ปวดศีรษะจากประสาทอักเสบ (cranial neuralgia) จะมีอาการปวดเฉพาะเหมือนถูกไฟดูดหรือถูกลวดไฟเผา จะปวดช่วงสั้น ๆ เป็นวินาทีในแต่ละครั้ง
9. ปวดศีรษะจากภาวะจิตใจ (psychogeicheadache) เกิดจากสาเหตุทางจิตใจ ไม่สามารถปรับชีวิตให้เข้ากับสังคม สิ่งแวดล้อมได้
10. ปวดศีรษะจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ปวดศีรษะจากการไอ จากการได้รับยาบางอย่างจากการขาดออกซิเจน เป็นต้น
กลไกการปวดศีรษะจากความเครียด
ความ เครียดสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ โดยเป็นสิ่งที่อยู่ในร่างกายและจิตใจเป็นเวลานานซึ่งจะกระตุ้นกล้ามเนื้อให้ หดตัวโดยตรง หรือกระตุ้นเส้นเลือดให้หดตัวในกรณีร่วมกับไมเกรนซึ่งมีผลส่งเสริมให้การปวด ศีรษะยังคงอยู่ต่อไป
อาการปวดศีรษะจากความเครียดเป็นอาการผิดปกติทาง กายที่มีสาเหตุมาจากจิตใจเนื่องจากความถี่ ความรุนแรง และระยะเวลาที่ปวดศีรษะมีความสัมพันธ์กับความเครียด (Gannon et al. 1981 : 272) เมื่อบุคคลเกิดความเครียดจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิต อารมณ์ โดยมีกลไกคือสิ่งก่อความเครียด เช่น ความคับข้องใจ ความวิตกกังวลจะกระตุ้นประสาทการรับรู้ (sensory receptors) จะมีสัญญาณประสาทส่งผ่านไปยังสมองส่วนคอร์เท็กซ์ (cerebral cortex) ซึ่งทำหน้าที่แปลผลสิ่งก่อความเครียด และทำให้มีการตอบสนองทางด้านพฤติกรรม นอกจากนั้นบริเวณของด้านบนของสมองส่วนคอร์เท็กซ์ มีการเชื่อมต่อกับระบบลิมบิค (limbic system) ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่มีหน้าที่ตอบสนองต่อความเครียดทางด้านอารมณ์ และเชื่อมติดต่อกับ เรติคิวลาร์ฟอร์เมชั่น (reticular formation) ซึ่งควบคุมระบบของการตื่นตัวดังนั้น แรงกระตุ้นหรือสัญญาณประสาทจากสมองส่วนคอร์เท็กซ์จะถูกส่งมายังระบบลิมบิ คก่อให้เกิดการตอบสนองด้านอารมณ์และส่งต่อไปยังไฮโบธาลามัส ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติ นอกจากนี้ไฮโปธาลามัส ยังเชื่อมต่อกับต่อมพิทูอิตารี ซึ่งควบคุมการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต (Boore, et al. 1987 : 162)
ผลของความเครียดต่อการเปลี่ยนแปลงทาง สรีระซึ่งเป็นผลจากการกระตุ้นสมองส่วนคอร์เท็กซ์ ทำให้ร่างกายมีการเตรียมพร้อมโดยการหดตัวของกล้ามเนื้อลาย และการกระตุ้นไอโปธาลามัสกับต่อมพิทูอิตารีทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนอิพิเนฟ รินจากต่อมหมวกไตชั้นในเข้าสู่กระแสเลือดเพิ่มมากขึ้นทำให้หลอดเลือดที่มา เลี้ยงกล้ามเนื้อลายหดลง (Boore,et al. 1987:166) เมื่อกล้ามเนื้อลายหดตัวจะทำให้หลอดเลือดที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อนั้นถูกกดให้ ตีบตันร่วมกับการหดตัวของหลอดเลือดเองด้วย ทำให้ปริมาณ การไหลเวียนของโลหิตมายังกล้ามเนื้อดังกล่าว ลดลงเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนลดลงไปด้วย ในขณะที่การเผาผลาญเพิ่มขึ้น เนื้อเยื่อของร่างกายจึงเกิดการเผาผลาญ แบบไม่ใช้ออกซิเจน ยังผลให้มีกรดแลคติคสะสมอยู่ในบริเวณกล้ามเนื้อและเกิดภาวะกรดเฉพาะที่ กรดแลคติคที่เกิดขึ้นจะไปกระตุ้นปลายประสาท รับความรู้สึกเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ นอกจากนั้นเนื้อเยื่อที่ขาดออกซิเจนจะปล่อยสารแบรดี้ไคนินและฮีสตามีน ทำให้เนื้อเยื่อไวต่อความเจ็บปวดมากขึ้น (อุดม ปุณยทรรพ 2524 : 28) ดังที่กล่าวมาแล้วว่าระบบลิมบิคมีหน้าที่ควบคุมด้านอารมณ์ภาวะเครียดที่เกิด ขึ้นนอกจากจะเป็นการกระตุ้นให้มีการตอบสนองทางด้านสรีระแล้ว ยังมีการกระตุ้นระบบลิมบิคทำให้มีการตอบสนองในด้านอารมณ์ร่วมด้วย เช่น ความโกรธ ความกลัว และความวิตกกังวล เป็นต้น (Boore , et al.1987:166) ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะรุนแรงขึ้นโดยที่ความกลัว และความวิตกกังวัลต่าง ๆ ทำให้ร่างกายเกิดการตอบสนอง โดยการเพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้ความเจ็บปวดเพิ่มขึ้นได้ และเมื่อเกิดความเจ็บปวดจะเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับ โดยมีการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นเป็นผลให้ความเจ็บปวดยิ่งเพิ่มขึ้น ความเจ็บปวดที่เพิ่มขึ้นก็มักทำให้เกิดความวิตกกังวล ถ้ามีมากการตอบสนองต่อความเจ็บปวดก็มากตามไปด้วย
ผู้ป่วยที่มีอาการ ปวดศีรษะจากความเครียดนั้น สิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดมีอยู่ตลอดเวลา ผู้ป่วยต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความกดดันทางจิตใจสูง หรืออยู่ในเหตุการณ์ที่ไม่สงบสุขเป็นประจำมีการเกร็งของกล้ามเนื้อจนกลาย เป็นพฤติกรรมที่ประพฤติจนเป็นนิสัย และเมื่อมีเหตุการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดความวิตกกังวล ด้วยแล้วกล้ามเนื้อที่เคยเกร็งก็จะถูกทบกระเทือนได้ง่ายขึ้นไปอีก ทำให้อาการปวดศีรษะเพิ่มความรุนแรงขึ้น (วัลลภ ปิย มโนธรรม 2528 : 77) จะเห็นได้ว่าแต่ละองค์ประกอบมีส่วนทำให้อาการปวดศีรษะเพิ่มขึ้นและเกิดเป็น วงจรต่อเนื่องกันไป ดังนั้นวิธีบรรเทาความเจ็บปวดมีหลักการอยู่ที่ว่า การตัดวงจรใดวงจรหนึ่งมีผลลดความเจ็บปวดลงได้ (McCaffery 1979 : 250) สำหรับการนวดเป็นการตัดวงจร A ตรงบริเวณ a ซึ่งจะทำให้หลอดเลือดไม่ตีบตันซึ่งจะส่งผลให้ไม่เกิดอาการปวดศีรษะ
โรคปวดศีรษะ (ลมปะกังเป็นอีกโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยมากในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน)ปวดศีรษะข้างเดียว มี 2 ชนิด คือ
1. ปวดศีรษะ มีอาการอาเจียนร่วมด้วยมักเป็นลมบ่อย ๆ รักษายาก
2. ปวดศีรษะ ไม่มีอาเจียนร่วมด้วย
สาเหตุ เกิด จากมีเลือดแข็งตัวทำให้การส่งน้ำเลี้ยงขึ้นสมองไม่ได้ดีมีอาการ อาการปวดศีรษะข้างเดียว เป็น ๆ หาย ๆ มีเหตุส่งเสริมให้เป็นหลายอย่าง เช่น ภาวะเครียด ในสตรีอาจมีอาการก่อนมีรอบเดือน
การรักษา นวดพื้นฐาน (นวดไต่หลังท่าหนุมานถวายแหวน) เพื่อส่งน้ำเลี้ยงขึ้นสมอง นวดพื้นบ่า กดจุดสัญญาณ 4 สัญญาณ 5 หลัง และ สัญญาณ 1-5 ศีรษะด้านหลัง
คำแนะนำ
1. การพักผ่อนให้เพียงพอ
2. ลดความเครียด หากิจกรรมทำ
3. ออกกำลังกาย
4. การประคบน้ำร้อน
การประคบด้วยน้ำร้อน
มนุษย์ รู้จักการนำความร้อนมาใช้บำบัดร่างกายตั้งแต่อดีตกาล เช่น การอาบน้ำพุร้อน ช่วยรักษาอาการปวดเมื่อยที่เกิดจากการตรากตรำทำงานหนักหรือช่วยบรรเทาอาการ ปวดข้อที่เกิดจากกล้ามเนื้อถูกใช้งานมากเกินไป ดัง (กันยา ปาละวิวัธน์. 2537 : 1-9) อธิบายไว้ดังนี้
ผลของความร้อนต่อร่างกาย
1. ทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นขยายตัว เป็นเหตุให้เลือดมาเลี้ยงมากขึ้น นำสารอาหารต่าง ๆ รวมทั้งออกซิเจนมาให้เซลล์
2. ความร้อนที่สูงขึ้นจะช่วยเร่งปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ ภายในเนื้อเยื่อ
3. เร่งการทำงานของต่อมเหงื่อให้มากขึ้นเพื่อขับถ่ายความร้อนออกไป ซึ่งทำให้ร่างกายขับสารบางอย่างที่อยู่ในเหงื่อออกไปด้วย เช่น น้ำ เกลือแร่ ยูเรีย และกรดไขมันบางจำพวก
4. ช่วยทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว และมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น
5. ช่วยให้พังผืดยืดตัวออก
6. ความร้อนน้อย ๆ จะมีผลต่อปลายประสาทสัมผัส ทำให้รู้สึกสบายขึ้นลดความเจ็บปวด
ข้อควรระวัง
จาก การทดลองพบว่า เมื่อให้ความร้อนรักษา ส่วนของแขนขา จะทำให้การไหลเวียนเลือดไปยังระบบทางเดินอาหารลดลง และการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร ตลอดจนน้ำหลั่งต่าง ๆ น้อยลงด้วย
เพราะ ฉะนั้นไม่ควรให้ความร้อนแก่ส่วนของแขนขาเป็นบริเวณกว้างและนานภายหลังรับ ประทานอาหารใหม่ ๆ เนื่องจากจะทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงาน ลดลงทำให้เกิดท้องอืดท้องเฟ้อได้
สำหรับท่านชายคือ อย่าแช่ในน้ำอุ่นอุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียสเป็นเวลานาน ๆ เพราะจะทำให้ท่านเป็นหมันชั่วคราวได้ เนื่องจากต่อมอัณฑะจะไม่ทำงาน เมื่ออยู่ในอุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียสเป็นเวลานาน ๆ
ประโยชน์ของการประคบน้ำร้อน
มีคนจำนวนมากที่ไม่รู้จักคุณค่าของการประคบน้ำร้อน ดัง (โรงเรียนอายุรเวท. 2535 : 23) อธิบายไว้ดังนี้
1. ลดการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
2. ทำให้กล้ามเนื้อคลายความเกร็งตัว
3. ลดการอักเสบต่าง ๆ
4. บรรเทาอาการปวด
ขั้นเตรียมอุปกรณ์
1. น้ำต้มเดือด
2. ขันอะลูมิเนียม หรือภาชนะกันความร้อนพร้อมที่รองภาชนะ
3. ผ้าขนหนูผืนเล็ก 1 ผืน
วิธีการประคบน้ำร้อน
1. ต้มน้ำให้เดือดเทลงในขันอะลูมิเนียม หรือภาชนะที่เตรียมไว้
2. ใช้ผ้าขนหนูจุ่มน้ำเย็นบิดให้แห้งพอหมาด ๆ แบ่งผ้าออกเป็น 3 ส่วน
3. จุ่มผ้าส่วนที่ 1 ลงในน้ำร้อน แล้วพับผ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมแล้วนำผ้าไปประคบส่วนที่ต้องการ
4. ทำเหมือนข้อ 3 คือ จุ่มผ้าส่วนที่ 2, 3
5. ประคบน้ำร้อนแต่ละส่วนนาน 1-2 นาที ทำซ้ำกันจนกระทั่งน้ำเย็น 3-5 นาที
ข้อควรระวัง
1. อย่าให้ผ้าร้อนเกินไป จะทำให้บริเวณที่ถูกประคบความร้อนพอง ควรจะทดสอบกับท้องแขนก่อนประคบส่วนที่ต้องการ
2. ผู้เป็นโรคเบาหวาน อัมพาต ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ควรระมัดระวังให้มากอาจเกิดแผลพอง เพราะความรู้สึกช้า
ท่ากายบริหาร
การออกกำลังกายหรือการทำท่าบริหาร สามารถป้องกันและบรรเทาอาการปวดคอได้ ดัง (สุรศักดิ์ ศรีสุข. 2538 : 24-25) อธิบายไว้ดังนี้
1. การออกกำลังกายให้คอเคลื่อนไหวได้ดี
การออกกำลังคอที่จะกล่าวถึงนี้ แต่ละท่าทำ 5-10 ครั้ง วันละ 2-3 เวลา
ก้ม และเงยหน้า ค่อย ๆ ก้มหน้าให้คางจรดกับอก แล้วเงยช้า ๆ ให้มากที่สุด ตะแคงซ้ายขวา หน้าตรง ๆ ค่อย ๆ ตะแคงซ้าย พยายามให้หูจรดไหล่ซ้าย โดยไม่ยกไหล่ขึ้น กลับที่เดิม แล้วค่อย ๆ ตะแคงให้หูขวาในลักษณะเดียวกัน
หัน หน้าซ้ายขวา หมุนศีรษะหันหน้าไปทางซ้ายช้า ๆ โดยพยายามให้ปลายคางอยู่ในแนวเดียวกับไหล่ซ้าย แล้วหมุนศีรษะกลับมา และไปยังด้านตรงข้ามเช่นกัน
2. การออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
การออกกำลังคอชุดนี้ ควรทำหลังจากท่านทำท่าออกกำลังชุด
ก. ได้โดยไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ มีวิธีการทำคล้ายคลึงกับชุด ก. เพียงแต่ให้ใช้มือต้านการเคลื่อนไหวของศีรษะในทิศทางตรงกันข้าม (แรงต้านพอประมาณ) เกร็งไว้ 5-10 วินาที แล้วพัก แต่ละท่าทำ 5-10 ครั้ง วันละ 2-3 เวลา
ก้มคอ ใช้มือกดที่หน้าผากต้านกับความพยายามที่จะก้มศีรษะลง
เงยหน้า เอาฝ่ามือประสานเหนือท้ายทอย กดมาด้านหน้า ขณะที่ท่าพยายามจะเงยศีรษะไปข้างหลัง
ตะแคงคอ ใช้มือซ้ายวางที่ศีรษะเหนือหูซ้าย ต้านกับความพยายามที่ท่านจะตะแคงหน้าให้หูซ้ายไปจรดไหล่ ใช้มือขวาวางที่ศีรษะเหนือหูขวาทำแบบเดียวกัน
หันหน้า ใช้มือซ้ายออกแรงยันที่หน้าหูซ้ายขณะที่พยายามหันหน้าไปทางซ้ายแล้วทำสลับกันโดยใช้มือขวายันหน้าหูขวาขณะที่หันหน้าไปทางขวา
อ.สุวรรณ ตั้งจิตรเจริญ (หมอนิ้วเพชร นวด ราชสำนัก)
   
สายสัมพันธ์อายุรเวช
พบหมออายุรเวช
คาถาบูชาปู่ชีวกโกมารภัจจ์
วิธีบริหารใจ
กระดานสนทนา สำหรับหมอ
กระดานสนทนา ทั่วไป
การเดินทาง
พยากรณ์อากาศ
สภาพการจราจร
แผนที่กรุงเทพฯ
เช็คเที่ยวบิน
การติดต่อสื่อสาร
เช็คยอดค้างจ่าย(DTAC)
เช็คยอดค้างจ่าย(AIS)
สมุดหน้าเหลือง
ค้นหาหมายเลขโทรศัพท์
ค้นหารหัสไปรษณีย์
บันเทิง
อีการ์ดสวยๆ
โหวตสติคเกอร์
เกมส์ออนไลน์
หน่วยงานราชการ
ศูนย์รวมเว็บไซต์สำเร็จรูป
ที่มา  www.clinicsuwan.com

อัพเดทล่าสุด