https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ประโยชน์ของกรดอะมิโน กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น - ความสำคัญของกรดอะมิโน MUSLIMTHAIPOST

 

ประโยชน์ของกรดอะมิโน กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น - ความสำคัญของกรดอะมิโน


1,007 ผู้ชม


ความสำคัญของกรดอะมิโน

ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและวิชาการดอทคอม
https://ict.moph.go.th/English/Eindex.htm 


          กรดอะมิโนเป็นสารอินทรีย์ที่มีหมู่อะมิโน (-NH2 ) และหมู่กรด (-COOH) อยู่ในโมเลกุลเดียวกัน โดยหมู่อะมิโน หมู่กรด ไฮโดรเจน และหมู่ R (side chain) เกาะอยู่กับอะตอม C กรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของโปรตีน กรดอะมิโนแต่ละตัวจะเชื่อมโยงกันเป็นสายยาวด้วยพันธะเป็บไทด์ (peptide bond ) ซึ่งเป็นพันธะที่เชื่อมระหว่างหมู่คาร์บอกซิลิก (COOH) ของกรดอะมิโนตัวหนึ่งกับหมู่อะมิโน (NH 2 ) ของอีกตัวหนึ่ง


ประโยชน์ของกรดอะมิโน กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น - ความสำคัญของกรดอะมิโน


          กรดอะมิโนที่พบในธรรมชาติมีประมาณ 20 ตัว มีเพียง 8 ตัว ที่เป็นกรดอะมิโนจำเป็น (Essential Amino  Acid ) เพราะเป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้ต้องได้รับจากอาหารที่รับประทานเท่านั้น กรดอะมิโนจำเป็นนี้ได้แก่ ไอโซลูซีน (isoleucine) ลูซีน (leucine) ไลซีน (lysine) เมทไธโอนีน (methionine) เฟนนิลอลานีน (phenylalanine) ทริโอนีน (threonine) ทริปโตเฟน (tryptophan) และวาลีน (valine) ส่วนกรดอะมิโนที่เหลือเรียกว่ากรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น (non Essential Amino Acid ) ซึ่งร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้จากกระบวนการต่าง ๆ เช่น สังเคราะห์ซิสทีน (cystein) จากเมทไธโอนีน สังเคราะห์ไทโรซีน (Tyrosine) จากเฟนนิลอลานีน
เมื่อรับประทานอาหารที่มีโปรตีนร่างกายจะย่อยสลายโปรตีนได้กรดอะมิโนและกรดอะมิโนที่ได้ร่างกายจะนำไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ดังนี้
         
ประโยชน์ของกรดอะมิโน กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น - ความสำคัญของกรดอะมิโน
สังเคราะห์โปรตีนต่าง ๆ ขึ้นใหม่ตามที่ร่างกายต้องการ เช่น สร้างกล้ามเนื้อ โครงกระดูก
         
ประโยชน์ของกรดอะมิโน กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น - ความสำคัญของกรดอะมิโน
สังเคราะห์สารอื่น เช่น เป็นตัวตั้งต้นของการสร้างสารส่งสัญญาณประสาท (Neurotransmitter) สังเคราะห์ฮอร์โมนธัยรอกซิน (Thyroxine) และเอนไซม์ เป็นต้น 
         
ประโยชน์ของกรดอะมิโน กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น - ความสำคัญของกรดอะมิโน
เป็นสารตั้งต้นหรือตัวกลางในการสังเคราะห์กรดอะมิโนตัวอื่น ๆ 
         
ประโยชน์ของกรดอะมิโน กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น - ความสำคัญของกรดอะมิโน
ช่วยเพิ่มการสะสมไกลโคเจนและไขมัน 
         
ประโยชน์ของกรดอะมิโน กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น - ความสำคัญของกรดอะมิโน
สร้างกลูโคสในยามที่ร่างกายขาดแคลน
         
ประโยชน์ของกรดอะมิโน กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น - ความสำคัญของกรดอะมิโน
ให้พลังงานแก่ร่างกาย เมื่อร่างกายขาดคาร์โบไฮเดรตและไขมัน
          การใช้กรดอะมิโนเพื่อประโยชน์ดังกล่าวข้างต้น จะเป็นไปด้วยดีจำเป็นต้องได้รับคาร์โบไฮเดรต และ ไขมันให้เพียงพอ เพื่อว่ากรดอะมิโนจะได้ไม่ถูกดึงไปใช้สร้างกลูโคสและพลังงานมากนัก เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นบ่อย ๆ จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดโปรตีนได้ ในทางตรงกันข้ามถ้าได้รับโปรตีนมากเกินไปก็จะถูกนำไปสร้างเป็นไขมันเก็บสะสมไว้ในร่างกาย ทำให้เกิดโรคอ้วนขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารอย่างพอเหมาะและให้ได้กรดอะมิโนจำเป็นอย่าง เพียงพอ ซึ่งสามารถทำได้โดยการเลือกบริโภคอาหารที่มีโปรตีนและกรดอะมิโนจำเป็นครบ ถ้วน เช่น เนื้อสัตว์ ปลา นม ไข่ ในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัย



หน้าที่ของกรดอะมิโน
      กรดอะมิโนเป็นหน่วยทางเคมี หรือเป็นรูปแบบเพื่อนำไปสร้างโปรตีน โปรตีนไม่สามารถถูกสร้างหรือคงอยู่ได้โดยปราศจากการรวมตัวกันของกรดอะมิโน ฉะนั้นเพื่อให้เข้าใจว่ากรดอะมิโนนั้นสำคัญอย่างไร คุณต้องเข้าใจก่อนว่าโปรตีนนั้นสำคัญอย่างไรต่อการดำรงชีวิต
      โปรตีนเป็นส่วนประกอบของทุกโครงสร้างและของทุกสิ่งมีชีวิต  อวัยวะที่เล็กที่สุดจนถึงใหญ่ที่สุดของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด จะประกอบด้วยโปรตีนในหลายรูปแบบ โปรตีนจึงเป็นส่วนประกอบทางเคมีที่จำเป็นที่ทำให้เราดำรงชีพอยู่ได้  ในร่างกายมนุษย์ โปรตีนเป็นตัวสร้างกล้ามเนื้อ ,กระดูก ,ผิวหนัง ,เลือด ,เอ็น ,อวัยวะ ,ต่อม ,ผม ,เล็บ ,เอนไซม์ ,ฮอร์โมน ,แอนติบอดี (ภูมิคุ้มกัน) และของเหลวต่างๆในร่างกาย (ยกเว้นน้ำดีและปัสสาวะ)
      โปรตีนเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นสำหรับการเติบโตของกระดูก เอนไซม์ ฮอร์โมน และยีน ซึ่งนอกจากน้ำแล้ว โปรตีนก็เป็นส่วนประกอบหลักของร่างกายถึง 20% ของน้ำหนักตัว  ฉะนั้นโปรตีน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อการมีร่างกายแข็งแรง และมีสุขภาพดี เพราะโปรตีนจะทำหน้าที่สร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย ซ่อมแซมและบำรุงรักษา เพื่อยืดอายุเนื้อเยื่อของร่างกาย ส่วนอาหารอื่นๆเพียงทำหน้าที่สนับสนุนเท่านั้น โปรตีนจำเป็นสำหรับการสร้างกระดูก เซลล์เม็ดเลือดแดง และภูมิต้านทานโรค และทำหน้าที่เป็นตัวนำออกซิเจนไปใช้ในร่างกายอีกด้วย
      เพื่อให้ได้โปรตีนที่สมบูรณ์ กรดอะมิโนเฉพาะอย่างจะต้องประกอบตัวกันได้ดี ซึ่งกรดอะมิโน สามารถเรียงต่อกันในรูปแบบต่างๆเป็นโปรตีนได้ถึง 50,000 ชนิดที่แตกต่างกัน และ 20,000 ชนิดเป็นเอนไซม์  โปรตีนแต่ละชนิดเกิดจากการประกอบกันของกรดอะมิโนที่แตกต่างกันจำนวนมาก เชื่อมต่อกันเพื่อนำมาใช้ตามความจำเป็นเฉพาะแบบ ซึ่งไม่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ และกรดอะมิโน มีส่วนประกอบของไนโตรเจนถึง 16% จึงแตกต่างจากคาร์โบไฮเดรต และไขมันในร่างกาย เมื่อรับประทานอาหารจำพวกโปรตีนเช่นเนื้อสัตว์ ร่างกายต้องย่อยโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโนอิสระ หรืออีกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า กรดอะมิโนเดี่ยว (Amino Acid) ก่อนดูดซึมเข้าไปในเซลล์เพื่อสร้างโปรตีนที่ต้องการ
      โปรตีนประกอบด้วยกรดอะมิโน 22 ชนิดในอัตราส่วนที่พอเหมาะพอดี คุณภาพของโปรตีนในอาหารขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของกรดอะมิโนที่มีอยู่ในโปรตีน นั้น อัตราส่วนของกรดอะมิโน ที่ดีที่สุดสำหรับร่างกายมนุษย์ ได้แก่ น้ำนมมารดา (ให้คุณค่าสูงสุดเต็ม 100) ไข่ไก่ทั้งฟอง (94) นมวัว (85)  เนื้อสัตว์ปีกและปลา (อยู่ระหว่าง 86 - 76) กรดอะมิโน 22 ชนิดที่เป็นที่รู้จัก ซึ่งจะประกอบกันเป็นโปรตีนอีกหลายร้อยหลายพันชนิดในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด   ในร่างกายมนุษย์สามารถผลิตกรดอะมิโนได้ 80% ตามที่ร่างกายต้องการได้ โดยเมื่อร่างกายได้รับกรดอะมิโนที่จำเป็นอย่างครบถ้วน ซึ่งเราเรียกกรดอะมิโนที่ร่างกายผลิตเองได้นี้ว่า กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น (Nonessential Amino Acids) ซึ่งได้แก่ Alanine ,Arginine ,Aspartic Acid ,Asparagine ,Cystine ,Glutamine ,Glycine ,Proline ,Serine and Tyrosine 
      ส่วนอีก 20% จะต้องได้รับจากการรับประทานอาหาร เพราะร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ซึ่งเรียกว่า อะมิโนที่จำเป็น (Essential Amino Acids) ซึ่งมีด้วยกัน 9 ชนิด ได้แก่ Histidine ,lsoleucine ,Leucine ,Lysine ,Methionine ,Phenylalanine ,Threonine Tryptophan and Valine กรดอะมิโนเหล่านี้ ส่วนใหญ่มีอยู่ในอาหารจำพวกเนื้อวัว เนื้อไก่ ปลา นม เนย และไข่ มีคนไม่น้อยคิดว่าการรับประทานอาหารอย่างอุดมสมบูรณ์ก็จะได้โปรตีนอย่างครบ ถ้วน ข้อสันนิษฐานนี้ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะโปรตีนในอาหารจะสูญเสียไปเมื่อผ่านขบวนการต่างๆเช่น การใช้ความร้อน การแช่แข็ง การตากแห้ง การเพิ่มสารเคมีต่างๆ อาหารยิ่งผ่านกรรมวิธีการผลิตมาเท่าไรก็ยิ่งสูญเสียโปรตีนมากเท่านั้น
      กรดอะมิโนส่วนใหญ่ (รวมทั้งไกลลีน) สามารถปรากฏในรูปแบบที่เป็นเหมือนภาพในกระจกของอีกอันหนึ่ง ที่เรียกว่า D - และ L - series เป็นกรดอะมิโนในรูปแบบธรรมชาติ ที่พบในสิ่งมีชีวิตต่างๆ ยกเว้น Phenylalanine   กระบวนการประกอบของกรดอะมิโนเป็นโปรตีน หรือแยกโปรตีนเป็นกรดอะมิโนเดียวเพื่อถูกนำไปใช้ในร่างกาย เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง เมื่อเราต้องการโปรตีนเอนไซม์มากๆ ร่างกายจะผลิตโปรตีน เอนไซม์  เมื่อเราต้องการสร้างเซลล์ ร่างกายก็จะผลิตโปรตีนเพื่อสร้างเซลล์  ร่างกายจะผลิตโปรตีนต่างๆ ที่ร่างกายต้องการขึ้นมาจากกรดอะมิโนที่จำเป็น และร่างกายจะไม่สามารถผลิตโปรตีนต่างๆออกมาได้ หากขาดกรดอะมิโนที่จำเป็นตัวใดตัวหนึ่งซึ่งนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพมากมาย
      หากปราศจากกรดอะมิโน ระบบประสาทที่ทำหน้าที่เสมือนการส่งผ่านสัญญาณส่วนมากไม่สามารถทำหน้าที่ได้ (เป็นสิ่งสำคัญของสมอง เพื่อรับ - ส่งข้อมูล) ถ้าขาดกรดอะมิโน อาจก่อให้เกิดความผิดพลาดในการส่งข้อมูลข่าวสาร การได้รับโปรตีนปริมาณสูงจะช่วยเพิ่มความว่องไวของสมองได้ชั่วคราว ในส่วนอื่นๆ สำหรับสารอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ กรดอะมิโนช่วยให้วิตามิน และเกลือแร่ ทำหน้าที่ได้สมบูรณ์เต็มที่ และช่วยให้ถูกดูดซึมไปใช้ได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของโปรตีน
     
1.ให้ความเจริญเติบโต และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง กระตุ้นการหลั่ง GROWTH HORMONE (ฮอร์โมนที่ใช้ในการเติบโตของมนุษย์)
      2.ซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่สึกหรอ ทำให้กล้ามเนื้อ เอ็น กระชับและแข็งแรงขึ้น ลดไขมันที่สะสมในร่างกาย ปรับสมดุลของไนโตรเจน เพื่อเพิ่มพละกำลังให้ดีขึ้น
      3.ช่วยสร้างความต้านทานโรค (Anti - Body)
      4.เป็นส่วนประกอบสำคัญชองเซลล์เนื้อเยื่อ และสร้างสารเซลล์ต่างๆ ที่เป็นของเหลวในร่างกาย รวมทั้งฮอร์โมน
      5.เป็นแหล่งพลังงานเมื่อร่างกายขาดคาร์โบไฮเดรต และไขมัน
การสลายของโปรตีนในร่างกาย โดยปกติ แบ่งออกได้ดังนี้
                 โปรตีนในกล้ามเนื้อ มีการสลายตัวภายใน 180 วัน
                 โปรตีนในตับสลายตัวทุก 10 วัน
                 โปรตีนในเยื่อบุลำไส้มีการสลายตัวทุกวัน
                โปรตีนในฮอร์โมน อินซูลิน มีอายุ  6.5 - 9.0 นาที
      การบริโภคโปรตีน/กรดอะมิโน ที่เกิดประโยชน์เต็มที่ต่อร่างกาย ควรเลือกอาหารที่มีกรดอะมิโนอิสระ สามารถดูดซึมได้เร็วไม่ต้องย่อยอีก  โปรตีนในร่างกายไม่ได้อยู่ในสภาวะคงที่ มีการปรับปรุงตลอดเวลา ทั้งเสริมสร้าง/ย่อยสลาย ร่างกายจะสร้างโปรตีนใหม่ๆทดแทนตลอดเวลา จนกว่าร่างกายจะขาดกรดอะมิโน
สาเหตุของการขาดโปรตีน
      1.ขาดการออกกำลังกาย ซึ่งจะทำให้การทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้ลดลง อาหารจะย่อยยาก การดูดซึมโปรตีนลดลง
      2.ความเครียด ทำให้เกิดการสลายและสูญเสียโปรตีนมากกว่าปกติ
      3.เบื่ออาหารหรือไม่มีเวลารับประทานอาหาร ทำให้เสียสมดุลของอาหารที่ให้พลังงาน โปรตีนที่สะสมไว้จะถูกนำมาใช้งานมากกว่าปกติ
      4.การตรากตรำทำงานหนัก หรือขาดการพักผ่อน ทำให้ร่างกายสึกหรอมากกว่าปกติ
      5.นักกีฬาที่ฝึกซ้อมหนัก ทำให้โปรตีนของเซลล์กล้ามเนื้อถูกทำลายมากขึ้น
อาการของคนที่ขาดโปรตีน
      อ่อนเพลีย ,เหนื่อยง่าย ,ขาดความกระปรี้กระเปร่า ,สมองไม่แจ่มใส ,คำจำลดน้อยลง ,ร่างกายทรุดโทรม ,น้ำหนักลดลง ,ความต้านทานโรคต่ำ ,แผลหายช้า ,ระบบประสาททำงานผิดปกติ
โปรตีนจำเป็นสำหรับใคร?
      สำหรับร่างกายมนุษย์ที่เติบโตเต็มที่แล้ว   ความต้องการโปรตีนตามมาตรฐานทั่วไปที่ถือว่าเหมาะสมคือ ต้องการโปรตีนวันละประมาณ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (หมายถึงโปรตีน 1 กรัมนะครับ  ไม่ใช่อะมิโน 1 กรัม เพราะในโปรตีน 1 กรัมนั้น อาจมีอะมิโนแค่ 0.05 กรัม เท่านั้น - webmaster)โดยเฉพาะกลุ่มคนต่อไปนี้ เป็นกลุ่มคนที่ต้องการโปรตีนที่มีคุณภาพสูงอย่างครบถ้วน
      1.ผู้ที่คร่ำเคร่งกับงาน หรือนักเรียน นักศึกษา
                 ความตึงเครียดทางจิตใจและสมอง ทำให้ร่างกายมีการหลั่งสาร อีฟิเนฟริน (EPINEPHRINE) เพิ่มมากขึ้น มีผลทำให้เกิดการสูญเสียโปรตีนมากขึ้น จึงจำเป็นต้องได้รับโปรตีนสูงกว่าปกติ เพื่อให้ร่างกายไม่อ่อนเพลีย และจะทำให้สดชื่น
      2.นักกีฬา หรือผู้ที่ชอบออกกำลังกาย
                 เนื่องจากกล้ามเนื้อถูกใช้งานอย่างหนัก และมีการใช้พลังงานจำนวนมาก จึงต้องการโปรตีนสูงกว่าปกติ เพื่อให้พลังงาน และเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงอยู่เสมอ
      3.ผู้สูงอายุ
                 ระบบการย่อยอาหาร และระบบทางเดินอาหารเสื่อมสมรรถภาพ ประกอบกับ การสึกหรอของฟัน ทำให้การบดเคี้ยวอาหารไม่ดีพอ ร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ โปรตีนสำหรับผู้สูงอายุจึงควรเป็นโปรตีน ที่ย่อยง่าย และมีคุณภาพสูง
      4.ผู้ที่อยู่ในระหว่างการควบคุมน้ำหนัก
                 เนื่องจากการลดอาหาร จึงต้องการโปรตีนสูงเป็นพิเศษ โดยโปรตีนจะช่วยเสริมสร้างร่างกายและกล้ามเนื้อให้แข็งแรงเป็นปกติ ผิวพรรณดีขึ้น ไม่ซูบซีด และเนื่องจากโปรตีนไม่ถูกสะสมในร่างกายจึงไม่ทำให้อ้วน
      5.ผู้ที่ชอบดื่มสุราเป็นประจำ
                 ปกติตับ จะทำหน้าที่เป็นตัวทำลายแอลกอฮอล์ที่เข้าไปในร่างกาย โปรตีนจะทำให้เซลล์ของตับทำหน้าที่ได้อย่างดี ถ้าขาดโปรตีน ตับย่อมทำงานหนัก เซลล์ของตับก็จะเสื่อมสมรรถภาพไป จนอาจเกิดพังผืดขึ้นในตับ และกลายเป็นตับแข็งในที่สุด
      6.สตรีมีครรภ์
                 ต้องการโปรตีนสูงกว่าปกติ เพื่อเสริมสร้างร่างกาย และสมองของทารก นอกจากนี้ ยังช่วยในการผลิตน้ำนมของมารดาอีกด้วย สตรีมีครรภ์ที่ขาดโปรตีนจะทำให้เกิดอาการบวม โลหิตเป็นพิษ เกิดโรคแทรกได้ง่าย และทารกที่คลอดออกมาจะไม่แข็งแรง
ที่มา: https://www.tuvayanon.net/2aminof.html

อัพเดทล่าสุด