https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
วิตามินดี แนะนำ แคลเซียม ต่อวัน และ กินวิตามินดี กับ แคลเซียมได้หรือเปล่า ? MUSLIMTHAIPOST

 

วิตามินดี แนะนำ แคลเซียม ต่อวัน และ กินวิตามินดี กับ แคลเซียมได้หรือเปล่า ?


828 ผู้ชม


มีใครรู้บ้างว่าแคลเซียมเม็ดดังกล่าวทำมาจากอะไร แล้วใครอยู่ในข่ายที่ต้องกินบ้าง สำหรับหลายๆคนที่เข้าใจว่ากินแคลเซียมเม็ดจะทำให้เพิ่มความสูงได้ อ่านตรงนี้สักนิดก่อนการตัดสินใจว่ามันจำเป็นหรือไม่

แคลเซียมเม็ด ทำมาจากหินปูนชนิดกินได้ นั่นก็คือ แคลเซียมคาร์บอเนต โดยแคลเซียมเม็ดนี้มักมีสิ่งที่นิยมใส่ร่วมด้วย คือ บางชนิดทำจากแคลเซียมร่วมกับกรด เช่น แคลเซียม ซิเตรท ซึ่งจะดูดซึมได้ดีกว่าชนิดหินปูนคาร์บอเนต หรือใส่วิตามินซีกับวิตามินดีร่วมไปด้วย โดยเฉพาะแบบเม็ดฟู่ แต่ต้องระวังในคนเป็นโรคกระเพาะอาหาร

ส่วนแคล เซียมแบบที่ควรระวัง คือ แคลเซียมเม็ดราคาถูกมาก เพราะอาจทำมา จากกระดูกวัวควายป่น ซึ่งอาจได้ของแถมเป็นสารตะกั่ว ปรอทและโลหะหนักอื่น หรือทำ มาจากหินปูนจากภูเขา ซึ่งร่างกายไม่สามารถ ดูดซึมได้ อาจสะสมให้เกิดนิ่วหรือกินเข้าไปเป็นเม็ดก็ยังถ่ายออกมาเป็นเม็ดได้เหมือน เดิม

มีงานวิจัย ชี้ว่า แคลเซียมจากอาหารสดจะช่วยลดการเกิดนิ่วในไตได้ แต่ถ้าเป็นแคลเซียมเสริมกินมากไปควรระวังการจับตัวเป็นนิ่วในไตได้

เคล็ดสำคัญในการกินแคลเซียมมีดังนี้ 1.อย่ากินร่วมกับผักที่มีผลึกออกซาลิก มาก เพราะจะทำให้เกิด นิ่ว เช่น ใบชะพลู ขึ้น ฉ่าย ยอดมะม่วงอ่อน 2.ถ้าเป็นแคลเซียมเม็ดขอให้แบ่งกินเป็น 2 มื้อจะ ดูดซึมได้ดีกว่ากินพร้อมกัน ในคราวเดียว ยกเว้นถ้าวันใดกินอาหารอุดมแคลเซียม อยู่แล้วก็กินแคลเซียมเม็ดเพียงมื้อเดียวก็พอ

ผู้ที่ควรกินแคลเซียม คือ 1.ผู้ที่กินอาหารสดไม่พอ โดยเฉพาะกุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อย 2.ผู้ที่ มีการใช้แคลเซียมเยอะมากกว่าปกติ เช่น สตรีมีครรภ์ ไม่อย่างนั้นอาจถูกลูกแย่งแคลเซียมจนฟันผุ หรือคน ที่มีปัญหาต่อมไร้ท่อทำให้มีการดึงแคลเซียมออกจาก กระดูกมากกว่าปกติ 3.ผู้ที่เข้าวัยทอง เพราะมีโอกาสกระดูกพรุนสูงมาก โดยเฉพาะกระดูกบริเวณสันหลังบั้นเอว ข้อตะโพกและข้อมือ 4.ผู้เสี่ยงกระดูกพรุน เช่น คนที่ผอมบางกระดูกเล็ก คนสูบบุหรี่ มีประวัติครอบครัวเป็นกระดูกพรุน

ส่วนคนที่ไม่ควรกิน คือ 1.คนที่มีปัญหาเรื่องขับแคลเซียมออกไปไม่ได้ เช่น คนที่เป็นโรคไต 2.คนที่มีปัญหาเรื่องโรคหัวใจ เพราะแคลเซียมที่เกินอาจไปเกาะเป็นตะกรันหลอดเลือดหัวใจทำให้แข็งแต่เปราะ และตีบตันง่าย 3.คนที่มีปัญหาเรื่องแคลเซียมสะสมตามตัว เช่น มีกระดูกงอกหรือเป็นนิ่วทางเดินปัสสาวะ

สำหรับการกินแคลเซียมต่อวัน แบ่งตามวัยเป็น 3 ช่วง ดังนี้ 1.วัยเด็ก วันละ 200-500 มิลลิกรัม 2.วัยผู้ใหญ่ วันละ 1,000 มิลลิกรัม 3.วัยทองกับสตรีมีครรภ์ วันละ 1,200 มิลลิกรัม

ถ้ากะประมาณก็กินราว 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ไม่ต้องกังวลว่าจะขาดจนเกินไป เพราะลำพัง เรากินอาหารถ้าได้ปริมาณที่เหมาะสมดังที่บอกก็จะเพียงพอมากแล้ว หรือถ้าท่านกินแคลเซียมเม็ดอยู่แล้วกลัวว่าจะได้เกินไป ก็ขอให้กินแคล เซียมเม็ดเพิ่มอีกเพียงเม็ดหรือครึ่งเม็ดก็พอ

สำหรับอาหารที่มีแคลเซียมเยอะ หากคนที่ไม่มีเงินพอซื้อแคลเซียมเม็ดกิน เช่น แกงคั่วหอยขม ปลาร้าสับ กุ้งจ่อม อึ่งแห้ง เขียดย่าง หมกปลาแก้ว แจ่วปลาร้า และกุ้งชุบแป้งทอด โดยพบว่า ปลาร้าสับ กุ้งจ่อม หมกเคย กุ้งฝอยชุบแป้งทอด จะมีปริมาณแคลเซียมระหว่าง 393.6-915.3 มก. ต่อ 100 กรัม เรียกว่ากินแค่ 1 ขีดก็ได้แคลเซียมพอ ๆ กับกินแคลเซียมเสริม 1 เม็ดเลยทีเดียว

วัตถุดิบอาหารแคลเซียม ที่เลือกกินง่ายแบบไทย ๆ นอกจากที่เราเคยรู้มีดังนี้ 1.งาดำ รับประทานให้ได้ราว 2 ช้อนโต๊ะต่อวันจะได้แคลเซียมเกือบเท่ากับแคลเซียมเสริมทั้งเม็ดเช่นกัน 2.พริก กระถิน ใบยอ กะเพราโหระพา กระเจี๊ยบ ผักกาดเขียว ผักกวางตุ้ง ปวยเล้ง คะน้า เหล่านี้เป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีแต่มักถูกมองข้ามเพราะคิดว่าเป็นผัก ให้กินวันละอย่างน้อย 3 ทัพพีร่วมกับอาหารแคลเซียมชนิดอื่น โดยเฉพาะพริกนั้น การกินพริกป่นวันละ 1-2 ช้อนชาได้แคลเซียมถึง 1 ใน 3 ของที่ต้องการต่อวัน 3.กะปิและกุ้งแห้ง 4.เต้าหู้ แต่ขอให้เลือกชนิดแข็งเช่นเต้าหู้ขาวแข็งจะดีกว่าแบบนิ่ม เพราะผ่านกระบวนการที่ช่วยเติมแคลเซียมโดยไม่รู้ตัว นั่นคือการใส่ เจียะกอ ซึ่งก็คือ ยิปซัม หรือแคลเซียมซัลเฟตนั่นเองครับ จึงทำให้เต้าหู้ชนิดนี้เป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีมากครับ 5.นอกจากนั้นยังมีมากใน โยเกิร์ต และชีส ไม่ต้องกลัวอ้วนเพราะส่วนใหญ่เป็นโปรตีน แต่ถ้าเนยจะเป็นไขมัน

อย่างไรก็ตาม การกินแคลเซียมอย่างเดียวอาจทำให้ท้องผูกได้ เคล็ดลับ คือ ต้องกินร่วมกับ แมกนีเซียม ซึ่งได้จากผักและผลไม้ จะเห็นว่าเดี๋ยวนี้แคลเซียมเม็ดมักเติมแมกนีเซียมไปด้วย.

ที่มา  www.mcthailand.com

อัพเดทล่าสุด