https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
พาราเซตามอล, ยาพารา, พารา, ยาพาราเซตามอล, ยาแก้ปวด, แก้ปวด, อย., คณะกรรมการอาหารและยา MUSLIMTHAIPOST

 

พาราเซตามอล, ยาพารา, พารา, ยาพาราเซตามอล, ยาแก้ปวด, แก้ปวด, อย., คณะกรรมการอาหารและยา


904 ผู้ชม


อย.ทบทวนทะเบียนยา พาราเซตามอล มิให้เกิดผลกระทบจากการใช้ยา

จากข่าวสหรัฐทบทวนปริมาณยา พาราเซตามอล เกรงจะได้รับผลกระทบกับผู้ป่วย อย. เผย ได้ตรวจสอบ ข้อมูลพบ USFDA ยกเลิกทะเบียน พาราเซตามอล เฉพาะยาสูตรผสมที่เป็นยาตามใบสั่งแพทย์ (Prescription combination drug products) ที่มีปริมาณของ พาราเซตามอล เกินกว่า 325 มิลลิกรัม เนื่องจากอาจเกิดอันตราย ร้ายแรงต่อตับ ไม่ได้ยกเลิกทุกทะเบียน ย้ำ อย. ยังตระหนักถึงปัญหาการใช้ยาพาราเซตามอลเกินความจำเป็นใน ไทยรุดให้คณะทำงานศึกษานำข้อมูลการยกเลิกทะเบียนยาสูตรผสมของ USFDA ร่วมกับข้อมูลทางวิชาการ เกี่ยวกับขนาดยา วิธีใช้ทั้งสูตรตำรับยาเดี่ยว และสูตรตำรับยาผสม ทีขึ้นทะเบียนกับ อย. เพื่อปรับขนาดยาให้ เหมาะสมกับคนไทย และมิให้เกิดการใช้ยาพร่ำเพรื่อ ที่สำคัญ จะมิให้ยาทุกตำรับที่ขึ้นทะเบียนเกิดความเสี่ยงและ ผลกระทบต่อการใช้ยาของคนไทย

พาราเซตามอล, ยาพารา, พารา, ยาพาราเซตามอล, ยาแก้ปวด, แก้ปวด, อย., คณะกรรมการอาหารและยา

ดร.นพ.ปฐมสวรรค์ ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากข่าวตามสื่อต่าง ๆ ระบุว่า สหรัฐอเมริกาสั่งทบทวนปริมาณ ยาพาราเซตามอล เนื่องจากเกรงว่าจะได้รับผลกระทบกับผู้ป่วย แต่ อย. ไทยไม่มีการทบทวนนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า อย. มิได้นิ่งนอนใจในการทบทวนยาดังกล่าว โดยที่ผ่าน มามีคณะทำงานเฝ้าระวังพิจารณาตำรับยาต่าง ๆ อยู่แล้ว ซึ่งหากยากลุ่มไหนเสี่ยงหรือมีผลกระทบก็ จะมีการเข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการ ทบทวนตำรับยาทันที ส่วนในประเด็นการทบทวนปริมาณยาพาราเซตามอลของสหรัฐอเมริกา อย.ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง ปรากฏว่า องค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกา (USFDA) ได้ขอความร่วมมือจากผู้ผลิตให้ยกเลิกยาสูตรผสม เฉพาะที่เป็นยาตามใบสั่งแพทย์ (Prescription combination drug products) ที่มีพาราเซตามอลเกินกว่า 325 มิลลิกรัมต่อเม็ด/แคปซูล ซึ่งยาดังกล่าวเป็นยาสูตรผสมของพาราเซตามอลกับยากลุ่มบรรเทาอาการปวดอย่างแรง เช่น ไฮโดรโคโดน ไบรทาเทรท (Hydrocodone Britartrat) , อ๊อกซี่โคโดน ไฮโดรคลอไรด์ (Oxycodone HCL) และ โคเดอีน (Codeine) เนื่องจากไม่ปลอดภัย อาจเกิดอันตรายร้ายแรงต่อตับได้ ดังนั้น USFDA ไม่ได้ยกเลิก ทะเบียนพาราเซตามอลที่มีปริมาณเกินกว่า 325 มิลลิกรัมทุกทะเบียน

อย่างไรก็ตาม อย. เห็นถึงปัญหาการใช้ยา พาราเซตามอล เกินความจำเป็นในประเทศไทยมาโดยตลอดขณะนี้ได้มอบหมายให้คณะทำงานดำเนินการศึกษา และทบทวนข้อมูลทางวิชาการของยาพาราเซตามอลเกี่ยวกับขนาดยา วิธีใช้ ทั้งสูตรตำรับยาเดี่ยวและสูตรตำรับ ยาผสมแล้ว โดยจะมีการนำข้อมูลการพิจารณายกเลิกทะเบียนยาสูตรผสมของ USFDA มาพิจารณาร่วมกับข้อมูล เดิมด้วย เพื่อปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับคนไทยและลดปัญหาอันตรายจากการใช้ยา

รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า อย. ตระหนักถึงความเป็นพิษต่อตับ เนื่องจากการใช้ยาพาราเซตามอลของคนไทย ตั้งแต่ปี 2536 จึงได้มีประกาศกำหนดให้ผลิตภัณฑ์ยาทุกตำรับที่มีส่วนประกอบของพารา เซตามอล ต้องแสดงข้อความคำเตือนเกี่ยวกับพิษต่อตับ และข้อแนะนำไม่ให้กินยาติดต่อกันเกิน 5 วัน เพื่อป้องกัน ความเสี่ยงจากการได้รับยาเป็นเวลานานและเกินขนาด รวมทั้งผู้ที่เป็นโรคตับ ไต ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนใช้ยา ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา ขอให้ผู้บริโภคใช้ยาอย่างระมัดระวัง ควรอ่านฉลากและเอกสาร อย่างถ้วนถี่ และปฏิบัติตามวิธีใช้ที่ระบุบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด ไม่ควรกินยาเกินกว่าปริมาณที่ระบุได้ โดยเฉพาะยาพาราเซตามอลไม่ควรกินเกินวันละ 8 เม็ด (เม็ดละ 500 มิลลิกรัม) และหากมีความผิดปกติหรือมี อาการข้างเคียงจากการใช้ยา อาทิ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร บวมบริเวณท้อง กดเจ็บบริเวณตับ ขอให้พบ แพทย์โดยด่วน และขอให้ผู้บริโภคมั่นใจการดำเนินงานของ อย. ในการคุ้มครองให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัย จากการใช้ยา และหากกลุ่มยาตำรับใดมีอันตราย อย. จะแจ้งให้ผู้บริโภคทราบทางสื่อต่าง ๆ ทันที

ขอบคุณที่มาจาก : กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค


อัพเดทล่าสุด