https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ห้ามกินลิ้นจี่ตอนท้องว่าง ... จริงหรือ?? MUSLIMTHAIPOST

 

ห้ามกินลิ้นจี่ตอนท้องว่าง ... จริงหรือ??


1,758 ผู้ชม

เรื่องนี้ยอมรับว่าเป็นเรื่องที่เพิ่งเคยได้ยิน ผลไม้ที่หลายคนชื่นชอบอย่าง “ลิ้นจี่” มีอันตรายถึงขั้นห้ามทานตอนท้องว่าง เพราะจะเกิดอาการผิดปกติกับร่างกายจริงหรือไม่ อาการจะเป็นอย่างไร และมีวิธีป้องกันอย่างไร...


ห้ามกินลิ้นจี่ตอนท้องว่าง ... จริงหรือ??

เรื่องนี้ยอมรับว่าเป็นเรื่องที่เพิ่งเคยได้ยิน ผลไม้ที่หลายคนชื่นชอบอย่าง “ลิ้นจี่” มีอันตรายถึงขั้นห้ามทานตอนท้องว่าง เพราะจะเกิดอาการผิดปกติกับร่างกายจริงหรือไม่ อาการจะเป็นอย่างไร และมีวิธีป้องกันอย่างไร  ขออนุญาตนำคำตอบจากคุณหมอแมวจากเฟซบุ๊คเพจ ความรู้สนุกๆ แบบหมอแมว มาให้ได้อ่านกันค่ะ

ห้ามกินลิ้นจี่ตอนท้องว่าง ... จริงหรือ
ในช่วงปี 2533 ในพื้นที่การเกษตรห่างไกลของเวียดนาม บังคลาเทศและอินเดีย ได้เกิดปรากฎการณ์ประหลาดขึ้น เพราะเมื่อเข้าใกล้ช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผลไม้ จะมีเด็กป่วยหรือเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ
เด็กที่ป่วย ตอนเย็นจะยังดูมีอาการปกติ แต่ว่าในตอนเช้าวันถัดมาจะมีอาการซึม สับสน พูดคุยไม่รู้เรื่อง บางคนมีไข้ บางคนชัก แพทย์ที่ทำการตรวจในยุคนั้นพยายามตรวจหาสาเหตุไม่ว่าจะจากเชื้อโรค จากสารเคมี จากสารในผลไม้แต่ก็ไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน
ในปีถัดๆมา เกิดเหตุการณ์เดียวกันขึ้นอีก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนทุกปีเมื่อถึงช่วงเดือนพฤษภาคม ชาวบ้านก็จะกลัวกันว่าลูกของตนจะกลายเป็นเหยื่อรายต่อไป ... ที่อินเดีย ได้มีการตรวจเรื่องยาฆ่าแมลง เชื้อ แต่ก็ไม่ชัดเจน มีการควบคุมการใช้ยาฆ่าแมลง และในปี2555มีการฉีดวัคซีนไข้สมองอักเสบขนานใหญ่ แต่ก็ยังพบว่าเด็กๆยังป่วยอยู่ ... ซึ่งทำให้เหลือเหตุผลที่เป็นไปได้อีกตัวนึงคือสารในผลไม้
 
สารในผลไม้ที่สงสัยกันคือสาร hypoglycin A และ methylenecyclopropylglycine ซึ่งสารทั้งสองชนิดนี้เป็นสารพิษในพืชบางชนิด จะไปยับยั้งการสร้างน้ำตาล ยับยั้งการใช้พลังงานจากกรดไขมัน ทำให้ร่างกายขาดพลังงาน และเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ โดยสารนี้พบในผลไม้จาไมก้าที่ชื่อว่าอัคกี และทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า โรคอาเจียนจาไมก้า
สำหรับผลไม้ที่อยู่ในตระกูลเดียวกันก็คือ เงาะ ลำไย และลิ้นจี่ ก็มีสารนี้มากน้อยต่างๆกันไป
 

ห้ามกินตอนท้องว่าง???
หลังจากปี 2555 เมื่อพบว่าการฉีดวัคซีนก็ไม่ช่วยอะไร เลยมีการพุ่งเป้าไปที่สาร hypoglycin A ในลิ้นจี่ ... และมีการเก็บข้อมูลกันใหม่ โดยเมื่อมีคนป่วยก็ลองรักษาเสมือนมีภาวะน้ำตาลต่ำและตรวจหาสารนี้ไปเลย
ปรากฏว่าผลคือพบสารนี้ในเลือดของคนที่ป่วยจริงๆ
 
และเมื่อตรวจสอบย้อนกลับไป ลองถามดู จะได้ลักษณะที่ตรงกันคือ
-เป็นเด็ก
-มีภาวะขาดสารอาหาร อาหารการกินไม่ดี อดมื้อกินมื้อ
-มักจะมีประวัติว่าหายไปในสวนลิ้นจี่ ไปกินลิ้นจี่ทั้งวันจนอิ่ม และกลับมาโดยทั้งวันไม่กินอาหารหรือไม่กินอาหารเย็น 
ทั้งนี้ไม่ได้เกิดกับเด็กทุกคน เพราะเด็กที่ทำแบบเดียวกัน ก็ไม่ได้เป็นก็มี ... แต่เนื่องจากหาสาเหตุอื่นไม่เจอและตรวจเจอสารที่เป็นไปได้ในเลือด ดังนั้นก็เลยสรุปว่าเป็นสารพิษในลิ้นจี่
 

แล้วเราจะทำยังไง

ก็อย่าเพิ่งตื่นตกใจจนเกินไป เพราะว่าเอาเข้าจริงๆ รายงานชัดๆมาจาก 3 แห่งคือเวียดนาม บังคลาเทศ และอินเดีย เป็นในบางพื้นที่ไม่ได้เป็นทุกที่ และเป็นเฉพาะในเด็กที่มีภาวะขาดอาหารไม่แข็งแรงอยู่เดิม และเป็นแค่บางคนไม่ได้เป็นทุกคนที่กิน

อย่ากินลิ้นจี่ดิบ : เพราะมีสารพิษที่ว่ามากกว่าผลสุกประมาณ 2-3 เท่า

อย่ากินลิ้นจี่อย่างเดียวทั้งวันแทนอาหาร

อย่าขาดสารอาหาร : ในงานวิจัยบอกว่า อาการนี้พบในเด็กที่ขาดอาหาร ยากจน ซึ่งภาวะขาดอาหารจะทำให้มีพลังงานสำรองในตับลดลง 

สรุป

สำหรับคนเป็นเบาหวานที่อยากจะกินลิ้นจี่เป็นยาลดน้ำตาล ก็ขอให้เบรกความคิดไว้ก่อนเพราะว่า

- งานวิจัยพบว่า ลิ้นจี่แต่ละลูกมีสารไม่เท่ากัน (ผลลดน้ำตาลเอาแน่นอนไม่ได้)

- ถ้ากินอาหารไปด้วยน้ำตาลก็อาจไม่ต่ำ

- ในผู้ป่วยบางรายพบภาวะไตวายร่วมด้วย

- ที่สำคัญในลิ้นจี่สุกก็มีน้ำตาล ถ้ากินเป็นล่ำเป็นสันและกินอาหารไปด้วย นอกจากน้ำตาลจะไม่ต่ำ เผลอๆได้น้ำตาลสูงแทน
 

ปล. ลำไยกับเงาะก็มีสารนี้ แต่ก็เหมือนกัน อย่าไปกินเพื่อหวังลดน้ำตาล

ที่มา      health.sanook.com 

อัพเดทล่าสุด