https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-9 เดือน พร้อม ภาพพัฒนาการทารกในครรภ์ ที่อธิบายละเอียด MUSLIMTHAIPOST

 

พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-9 เดือน พร้อม ภาพพัฒนาการทารกในครรภ์ ที่อธิบายละเอียด


2,666 ผู้ชม


พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-9 เดือน

พัฒนาการของทารกในครรภ์ พัฒนาการทารกในครรภ์ 1-9 เดือน พร้อม ภาพพัฒนาการทารกในครรภ์ ที่อธิบายละเอียด

เดือนที่ 1
ในระหว่างเดือนแรกไข่ที่ได้รับการผสมจะเข้าไปฝังตัวอยู่ที่ผนังมดลูกและทำ การแบ่งเซลล์ ซึ่งภายหลังจะกลายเป็นส่วนต่างๆ ของร่างกายทารกและมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วมาก ในสัปดาห์ที่ 4 เราสามารถมองเห็นตัวอ่อน (embryo) นี้ได้ด้วยตาเปล่า โดยจะเห็นส่วนหัว, ส่วนปลายและ ถุงน้ำ yolk sac (ในถุงน้ำนี้ จะเป็นที่เก็บสารอาหารอันอุดมสมบูรณ์สำหรับตัวอ่อนซึ่งกำลังเจริญเติบโตก่อน ที่จะสร้างเป็น "รก" ขึ้นมา) ถุงน้ำที่ว่านี้จะอยู่ตรงกลางระหว่างส่วนหัวและส่วนปลาย
เดือนที่ 2
ระยะต้นเดือนที่ 2 นี้ ตัวอ่อนจะยาวประมาณ 2 มม. แขน ขา กำลังจะเป็นรูปร่าง รวมถึงหัวใจ ซึ่งถึงแม้ว่าเพิ่งจะมีโครงสร้างอย่างง่ายๆ แต่ก็เริ่มเต้นแล้วล่ะค่ะ สมองและไขสันหลัง (Spinal cord) เจริญเติบโตเร็วมาก ส่วนศีรษะซึ่งค่อนข้างจะโค้งมาทางด้านหน้าเรียกได้ว่าใกล้จะสำเร็จในการ ฟอร์มรูปศีรษะขั้นสุดท้ายแล้ว ปลายเดือนที่ 3 นี้ ลักษณะต่างๆบนใบหน้ากำลังพัฒนาและกระดูกไขสันหลัง (Spine) เริ่มมีการเคลื่อนไหวเป็นครั้งแรก ลูกของคุณแม่จะยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ซึ่งมีขนาดเล็กกว่านิ้วก้อยของคุณแม่นิดเดียว
เดือนที่ 3
ในสัปดาห์ที่ 11 ของการตั้งครรภ์ ตัวอ่อนซึ่งมีชีวิตน้อยๆในขณะนี้จะได้ชื่อว่าเป็น "ทารก" แล้วล่ะค่ะ พูดง่ายๆ คือเรียกได้ว่าเป็น "มนุษย์" คนหนึ่งแล้วนะคะ ความยาวของทารกขณะนี้เท่ากับ 5.5 เซนติเมตร (2 นิ้ว) หรือเท่านิ้วก้อยนั่นเอง แม้แต่เพศของทารกก็จะปรากฏชัดขึ้น เพราะอวัยวะเพศเริ่มฟอร์มรูปร่างชัดเจนขึ้น หัวใจน้อยๆ กำลังสูบฉีดโลหิตไปทั่วร่างกายของทารก และการเคลื่อนไหวของร่างกายจะชัดขึ้น ทั้งนี้เพราะกล้ามเนื้อเริ่มพัฒนาขึ้นแล้ว ปลายเดือนที่ 3 นี้ อวัยวะ (Organ) หลักใหญ่ๆ ทั้งหมดจะปรากฏขึ้น ทารกขณะนี้จะวัดได้ 7.5 c.m. (3 นิ้ว) หรือยาวเท่ากับสบู่หนึ่งก้อน หนักประมาณ 1.4 กรัม (1/2 Oz.) เท่ากับลิปสติกหนึ่งแท่ง
เดือนที่ 4
รกที่เจริญเติบโตได้เข้ามารับหน้าที่เป็น หน่วยส่งสารอาหารที่ทารกต้องการ ในช่วงนี้ นิ้วมือและนิ้วเท้าจะถูกคลุมด้วยขนอ่อน (laguno) ในสัปดาห์ที่ 16 ทารกของคุณยาวประมาณ 6 นิ้ว (16 ซ.ม.) เท่าความยาวฝ่ามือของคุณนั่นล่ะคะ และหนัก 4 3/4 Oz. (135 กรัม) เท่าน้ำหนักของไข่ไก่หนึ่งฟอง
เดือนที่ 5
ทารกจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว คุณอาจรู้สึกถึงความเคลื่อนไหวของทารกได้ ฟันเริ่มขึ้น และเส้นผมก็เริ่มปรากฏขึ้น ทารกขณะนี้ยาว 10 นิ้ว (25 c.m.) เท่าความยาวจากข้อศอกมาถึงข้อมือของคุณ และหนัก 12 Oz. (340 กรัม) หรือเท่ากับน้ำหนักของซีดีรวมกันสามแผ่น (รวมตลับซีดีด้วยนะคะ) ในตอนปลายเดือนนี้ ทารกจะมีความยาวเท่ากับครึ่งหนึ่งของน้ำหนักแรกคลอด
เดือนที่ 6
อวัยวะ (Organ) ของทารกเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และเริ่มโตเต็มที่ ทารกสามารถรอดชีวิตได้หากคลอดก่อนกำหนดในระยะนี้ ทารกสามารถลืมตา ดูดนิ้วหัวแม่มือ และสะอึกได้ ทารกยังคงมีรูปร่างผอมอยู่และหนักประมาณ 570 กรัม โดยคร่าวๆ จะเท่ากับน้ำหนักของแอปเปิ้ล 5 ผลรวมกัน ความยาวจะเท่ากับ 13 นิ้ว (33 c.m.) คือยาวกว่าไม้บรรทัดนิดหน่อย
เดือนที่ 7
รูปร่างของทารกยังคงไม่ได้สัดส่วนอยู่เพราะ ศีรษะยังคงเล็กกว่าตัว ผิวหนังจะถูกเคลือบด้วยไขมันที่เรียกว่า Vernix ซึ่งทำหน้าที่เป็นชั้นกั้นน้ำคร่ำ ขณะนี้ทารกจะอยู่เต็มพื้นที่ของมดลูก และมีความยาวประมาณ 14 1/2 นิ้ว (37 c.m.) ส่วนน้ำหนักจะประมาณ 2 ปอนด์ (900 กรัม) เท่าน้ำตาลทรายหนึ่งถุงเล็กที่เราซื้อตามซุปเปอร์มาร์เก็ต
เดือนที่ 8
ทารกในครรภ์ของคุณแม่ฟอร์มรูปร่างสมบูรณ์ครบ ทุกส่วนแล้วค่ะ ศีรษะได้สัดส่วนกับร่างกาย ช่วงนี้ทารกส่วนใหญ่จะเอาศีรษะลงเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด ถึงแม้ว่าจะมีไขมันในร่างกายอยู่บ้างแต่ยังคงมีรูปร่างผอมอยู่ และหนักประมาณ 3 1/2 ปอนด์ (1.6 กิโลกรัม) หนักเท่าแป้งสาลีหนึ่งถุงเล็ก ส่วนความยาวจะเท่ากับ 16 นิ้ว (40.5 c.m.) เท่ากับความกว้างของไม้แขวนเสื้อในตู้เสื้อผ้านั่นล่ะค่ะ
เดือนที่ 9
ทารกในครรภ์เจริญเติบโตเต็มที่แล้วค่ะ สามารถรอดชีวิตได้ถึง 95% หากคลอดในระยะนี้ ขณะนี้ทารกสามารถกระพริบตา, ฉี่, และกลืนน้ำคร่ำได้แล้ว แต่ยังต้องการไขมันเพิ่มอยู่เพื่อที่จะสามารถใช้ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ได้ เมื่อต้องออกจากมดลูกซึ่งมีสภาวะแวดล้อมที่สมบูรณ์แบบที่สุดสำหรับทารกเมื่อ อยู่ในครรภ์มารดา ทารกจะเพิ่มน้ำหนักขึ้นประมาณ 7 Oz. (200 กรัม) ต่อสัปดาห์ คือเท่าส้มหนึ่งผล ขณะนี้ทารกจะหนักประมาณ 5 1/2 ปอนด์ (2.5 กิโลกรัม) และมีความยาวประมาณ 18 นิ้ว (46 c.m.) หรือประมาณความยาวจากเข่ามาถึงข้อเท้าของคุณ
ทารกพร้อมที่จะคลอดแล้วจ้า....
พื้นที่ในครรภ์ของคุณแม่จะเหลือน้อยลงทุกทีจน แทบไม่มีที่ว่างสำหรับทารกอีกต่อไปแล้ว ทารกจึงต้องงอตัวกอดตัวเองไว้คล้ายลูกบอล ไม่มีพื้นที่ว่างให้ทารกขยับแข้งขาแรงๆ อีกแล้ว เมื่อคลอดทารกจะมีน้ำหนักเป็น 3 เท่าของน้ำหนักเมื่ออยู่ในครรภ์ตอน 28 สัปดาห์ และในเดือนสุดท้าย จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 3/4 Oz. (28 กรัม) ต่อวัน เช่นเดียวกับน้ำหนักของนิ้วก้อย น้ำหนักของทารกโดยประมาณเมื่อคลอดจะอยู่ที่ 7 1/2 ปอนด์ (3.4 กิโลกรัม) และความยาวโดยประมาณเท่ากับ 19 - 20 1/2 นิ้ว (52 ซม.)

 

อัพเดทล่าสุด