https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การสังเกตุ ลักษณะ อาการใกล้คลอด ของคนท้อง MUSLIMTHAIPOST

 

การสังเกตุ ลักษณะ อาการใกล้คลอด ของคนท้อง


1,669 ผู้ชม


  คุณแม่จะได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเตรียมตัวคลอด
                              การสังเกตุ ลักษณะ อาการใกล้คลอด ของคนท้องจะทราบได้อย่างไรว่าใกล้คลอด ?
       เมื่อมาฝากครรภ์คุณแม่จะได้รับ แจ้งเกี่ยวกับกำหนดวันคลอด ซ่ึงอาจคลาดเคลื่อนจากกำหนดจริง ประมาณ 2 สัปดาห์ และอาจมีอาการแสดงว่าใกล้คลอดล่วงหน้า ซึ่งคุณแม่สามารถสังเกตได้เอง คือ
                          1. ท้องลดและปัสสาวะบ่อย           สาเหตุเกิดจากส่วนนำหรือศีรษะของลูกน้อยเคลื่อนลงสู่ช่องเชิงกราน คุณแม่จะรู้สึกว่าหายใจสะดวกขึ้น แต่กระเพาะปัสสาวะจะถูกกดเบียด ทำให้ความจุน้อยลง คุณแม่จึงเกิดความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
 2. อาการเจ็บครรภ์เตือน ในระยะใกล้คลอด มดลูกจะมีการหดรัดตัวจนคุณแม่รู้สึกได้ แต่ในระยะแรกๆจะไม่รุนแรง และไม่สม่ำเสมอ อาการนี้จะหายไปเมื่อทำกิจกรรมอื่น
ข้อควรระวัง
ควรงดร่วมเพศโดยเฉพาะในระยะ 2 สัปดาห์ ใกล้คลอด และควรรีบมาโรงพยาบาลเมื่อพบสิ่งผิดปกติต่อไปนี้
ลูกดิ้นน้อยลงหรือไม่ดิ้น หรือดิ้นรุนแรงแล้วหยุดดิ้น
ถุงน้ำคร่ำแตกหรือรั่ว สังเกตได้จากมีน้ำใสๆ ไม่ใช่มูกหรือปัสสาวะไหลออกมาทางช่องคลอดและอาจมี หรือไม่มีอาการเจ็บครรภ์ร่วมด้วย
        คุณแม่ควรมาคลอดเมื่อไร ?
       แม้ว่ายังไม่ถึงกำหนดคลอดก็ตาม แต่เมื่อใดที่คุณแม่มีอาการเหล่านี้ ควรเตรียมตัวมาคลอดทันที
      1. มีอาการเจ็บครรภ์จริง
          • ปวดบริเวณหลังหรือบั้นเอว ร้าวมาทางหน้าท้อง และลงไปถึงต้นขา ขณะที่มีการหดรัดตัวของมดลูก
          • มดลูกหดรัดตัวสม่ำเสมอ ถี่ขึ้น ยาวนานขึ้นและแรงขึ้น แม้ว่าจะเปลี่ยนท่าทาง นอนพัก ลุกเดินหรือทำงาน อาการดังกล่าวก็ยังคงอยู่และเกิดบ่อยขึ้นเรื่อยๆ เช่น ในระยะแรกอาจหดรัดตัวทุก 30 นาที นาน 10-15 วินาที ในระยะต่อมาหดรัดตัวถี่ขึ้นเป็นทุก 10 - 15   นาที นาน 20 - 30 วินาที เป็นต้น
      2. มีมูกหรือมูกเลือดออกมาทางช่องคลอด เนื่องจากปากมดลูกเริ่มมีการเปิดขยาย
      3. มีน้ำคร่ำไหลออกมาทางช่องคลอด ที่เรียกว่า " น้ำเดิน "  เนื่องจากถุงน้ำคร่ำแตกหรือรั่ว
      ข้อควรปฏิบัติสำหรับคุณแม่เมื่อเริ่มเข้าสู่ระยะคลอด
      • จดจำเวลาเริ่มเจ็บครรภ์จริง มีมูกหรือมูกเลือดออก และเวลาที่น้ำเดิน
      • สังเกตลักษณะและจำนวนน้ำคร่ำ
     • ทำความสะอาดร่างกาย(อาบน้ำและสระผม)
     • เตรียมบัตรประจำตัวผู้รับบริการ สมุดฝากครรภ์และของเครื่องใช้ที่จำเป็นมาโรงพยาบาล
     • งดน้ำและอาหารถ้ามารดาเคยได้รับ  การผ่าท้องคลอด                                                                                             
ที่มา    www.sk-hospital.com

อัพเดทล่าสุด