https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
รู้ไว้ มีอาการเจ็บนม ใน ผู้ชายเจ็บนม เสี่ยงมะเร็งเต้านมได้ด้วย MUSLIMTHAIPOST

 

รู้ไว้ มีอาการเจ็บนม ใน ผู้ชายเจ็บนม เสี่ยงมะเร็งเต้านมได้ด้วย


3,997 ผู้ชม


ผู้ชายเจ็บนม ก็

มีสิทธิ์เป็นมะเร็งเต้านม

 

 

 

 

 

รู้ไว้ มีอาการเจ็บนม ใน ผู้ชายเจ็บนม เสี่ยงมะเร็งเต้านมได้ด้วย 

       มะเร็งเต้านม ส่วนใหญ่พบในผู้หญิง ส่วนในผู้ชายก็พบได้ แต่น้อยกว่ามาก โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ การมีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุยังน้อย, การหมดประจำเดือนช้า, ไม่มีลูก หรือมีลูกคนแรก เมื่ออายุเกิน 30 ปี, มีประวัติครอบครัว มีเนื้อเยื่อเต้านมที่ผิดปกติ การรับประทานอาหารไขมันมาก, การดื่มเหล้า ก็เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้พบเพียง 25% ของผู้ป่วย ขณะที่ 3 ใน 4 ของผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง กล่าวคือผู้หญิงทุกคนล้วนเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้

 

ปัจจัยเสี่ยง

 

       - ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม โดยพบบ่อยในหญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป

       - หญิง ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนปกติ รวมทั้ง ผู้ป่วยที่เคยเป็นมะเร็งเต้านม ก็มีอัตราเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นใหม่สูงกว่าคนปกติด้วย

       - ผู้ที่มีบุตรหลังอายุ 30 ปี รวมทั้ง หญิงที่ไม่เคยมีบุตร จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น

       - การกลายพันธุ์ของยีน เช่น การเกิดการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 สามารถทำให้เกิดมะเร็งเต้านม และสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้

       - ผู้หญิงที่มีเต้านมเต่งตึงกว่าอายุ เช่น หญิงที่มีอายุมากกว่า 45 ปี และมีความหนาแน่นของเต้านมมากกว่าร้อยละ 75 จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนปกติ

       - ผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาตั้งแต่อายุก่อน 12 ปี หรือ ประจำเดือนหมดช้าหลังอายุ 55 ปี จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ง่ายกว่าคนปกติ

       - ผู้ที่รับประทานฮอร์โมนเพศหญิง รวมทั้ง ผู้ที่ได้รับยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน อาจเกิดมะเร็งเต้านมมากยิ่งขึ้น

       - การสูบบุหรี่ทำให้เพิ่มโอกาสในการเกิดเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น

 

อาการ

 

       มะเร็ง ระยะเริ่มต้นนั้นมักจะไม่มีอาการเจ็บ แต่อาจจะตรวจพบความผิดปกติเกิดขึ้นที่เต้านม ซึ่งอาจจะเป็นอาการเริ่มต้นของโรคมะเร็งเต้านม ดังนี้

       - มีก้อนที่เต้านม (ร้อยละ 15-20 ของก้อนที่คลำได้ บริเวณเต้านมเป็นมะเร็งเต้านม

       - มีการเปลี่ยนแปลงขนาด และรูปร่างของเต้านม

       - ผิวหนังเปลี่ยนแปลง เช่น รอยบุ๋ม ย่น หดตัว หนาผิดปกติ บางส่วนมีสะเก็ด

       - หัวนมมีการหดตัว คัน หรือแดงผิดปกติ

       - มีเลือดหรือน้ำออกจากหัวนม ( ร้อยละ 20 ของการมีเลือดออกจะเป็นมะเร็ง)

       - เจ็บเต้านม ( มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่ไม่เจ็บ นอกจากก้อนโตมากแล้ว )

       - การบวมของรักแร้ เพราะต่อมน้ำเหลืองโต

 

การตรวจเต้านมตนเอง

 

       การตรวจมะเร็งเพื่อหาการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น พบว่าร้อยละ 80 ของเนื้องอกที่เต้านมผู้หญิงนั้นถูกตรวจพบครั้งแรกด้วยตนเอง การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ควรทำทุกเดือนตั้งแต่วัยสาวถึงวัยสูงอายุ เวลาที่ดีที่สุดที่จะทำการตรวจ คือ หลังหมดระดูแล้ว 7-10 วัน เพราะเป็นช่วงที่เต้านมไม่คัดตึงทำให้ตรวจได้ง่ายสำหรับผู้หญิงที่หมดระดู หรือได้รับการตัดมดลูก จะเป็นการดีถ้าได้ทำการตรวจเต้านมตนเองทุกวันที่หนึ่งของทุกเดือน

 

วิธีการตรวจ 3 ท่า

 

       ทุก ท่าจะต้องบิดลำตัวไปทั้งทางซ้ายและขวาสังเกตรูปร่าง ลักษณะ ความผิดปกติของผิวหนังรอยบุ๋ม รอยนูนของเต้านมหรือสิ่งผิดปกติอื่นๆ ของเต้านมทั้ง 2 ข้าง โดยมีท่า ดังนี้

1.ยืนหน้ากระจก

       - ปล่อยแขนข้างลำตัวตามสบาย

       - ยกแขนทั้ง 2 ข้างเหนือศีรษะ

       - ท้าวเอว เกร็งอกเพื่อให้ผนังทรวงอกกระชับขึ้น

       - โค้งตัวมาข้างหน้าใช้มือทั้ง 2 ข้างท้าวเอว

2.นอนราบ

       - นอนให้สบาย ตรวจเต้านมขวาให้สอดหมอนหรือม้วนผ้าใต้ไหล่ขวา

       - ยก แขนขวาเหนือศีรษะเพื่อให้เต้านมด้านนั้นแผ่ราบซึ่งจะทำให้คลำง่ายขึ้น โดยเฉพาะส่วนบนด้านนอกมีเนื้อหนามากที่สุด และมีการเกิดมะเร็งบ่อยที่สุด

       - ใช้ กึ่งกลางตอนบนของนิ้วมือซ้าย ( นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง ) คลำทั่วเต้านมและรักแร้ ที่สำคัญคือห้ามบีบเนื้อเต้านม เพราะจะทำให้รู้สึกเหมือนเจอก้อนเนื้อซึ่งความจริงไม่ใช่ และทำวิธีเดียวกันนี้กับเต้านมด้านซ้าย

3.ขณะอาบน้ำ

       - สำหรับ ผู้หญิงที่มีเต้านมขนาดเล็กให้วางมือข้างเดียวกับเต้านมที่ต้องการตรวจบน ศีรษะ แล้วใช้นิ้วมืออีกข้างคลำไปทิศทางเดียวกับที่ใช้ในท่านอน

       - สำหรับผู้ที่มีเต้านมขนาดใหญ่ ให้ใช้นิ้วมือข้างนั้นประคอง และตรวจคลำเต้านมจากด้านล่าง ส่วนมืออีกข้างให้ตรวจคลำเต้านมด้านบน

 

ระยะของมะเร็งเต้านม

 

       ระยะ 0 เป็นระยะเริ่มต้นของเซลล์มะเร็ง ซึ่งยังไม่ลุกลามไปยังเนื้อเยื่อเต้านม

       ระยะ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และยังไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง

       ระยะ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดระหว่าง 2-5 เซนติเมตร ซึ่งอาจจะลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้หรือไม่ก็ได้ หรือมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น

       ระยะ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร และรุกรามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น

       ระยะ 4 มะเร็งแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ แล้ว

 

การดูแลเต้านม

 

       - อายุ 20 ปีขึ้นไป ควรเริ่มตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน

       - ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตรวจคือ 3 ถึง 10 วัน นับจากประจำเดือนหมด ส่วนสตรีที่หมดประจำเดือนให้กำหนดวันที่จดจำง่ายและตรวจในวันเดียวกันของทุกเดือน

       - สำหรับผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ

       - หากพบสิ่งผิดปกติบริเวณเต้านม หรือรักแร้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

 

 

ทีมา   www.thaihealth.or.th

อัพเดทล่าสุด