หน่วยวัดปริมาณรังสี หน่วยวัดปริมาณรังสีในสิ่งมีชีวิต MUSLIMTHAIPOST

 

หน่วยวัดปริมาณรังสี หน่วยวัดปริมาณรังสีในสิ่งมีชีวิต


874 ผู้ชม


หน่วยวัดปริมาณรังสี  หน่วยวัดปริมาณรังสีในสิ่งมีชีวิต

จัดทำโดย ดารุณี พีขุนทด
กลุ่มประเมินค่าปริมาณรังสีจากภายในร่างกาย สำนักสนับสนุนการกำกับดูแลความปลอดภัยจากพลังงานปรมาณู

หน่วยวัดปริมาณรังสี  หน่วยวัดปริมาณรังสีในสิ่งมีชีวิต การตรวจวัดและประเมินค่าปริมาณรังสีจากภายในร่างกาย ดาวน์โหลด
หน่วยวัดปริมาณรังสี  หน่วยวัดปริมาณรังสีในสิ่งมีชีวิต การตรวจวัดปริมาณไอโอดีน-131 จากภายในร่างกาย ดาวน์โหลด

สำหรับการเกิดอันตรายจากรังสีต่อมนุษย์ อาจแบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ คือ
           หน่วยวัดปริมาณรังสี  หน่วยวัดปริมาณรังสีในสิ่งมีชีวิต 1. การได้รับรังสีจากแหล่งกำเนิดรังสีจากภายนอก (External exposure) ความรุนแรงของการบาดเจ็บ ขึ้นอยู่กับความแรงของแหล่งกำเนิดและระยะเวลาที่ได้รับรังสี แต่ตัวผู้ที่ได้รับอันตรายไม่ได้สารกัมมันตรังสีเข้าไปในร่างกาย จึงไม่มีการแผ่รังสีไปทำอันตรายผู้อื่น
           หน่วยวัดปริมาณรังสี  หน่วยวัดปริมาณรังสีในสิ่งมีชีวิต 2. การได้รับสารกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกาย (Internal exposure) มักพบในกรณีมีการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีที่เป็นก๊าซ ของเหลว หรือฝุ่นละอองจากแหล่งเก็บสารกัมมันตรังสี หรือที่เก็บกากสารกัมมันตรังสีจากการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เกิด ขึ้นอยู่ในประเทศญี่ปุ่นขณะนี้
           การกระจายของสารกัมมันตรังสีจะฟุ้งไปในอากาศ น้ำ มนุษย์อาจได้รับรังสีเข้าสู่ร่างกาย ทางการหายใจฝุ่นละอองของรังสีเข้าไป , กินของที่เปรอะเปื้อนเข้าไป หรือการกิน, การฝังสารกัมมันตรังสีเพื่อการรักษา สารกัมมันตรังสีที่อยู่ในร่างกายจะแผ่รังสีออกมา ทำอันตรายต่อร่างกายเป็นระยะเวลานาน จนกว่าจะถูกกำจัดออกไปจากร่างกายจนหมด และยังสามารถแผ่รังสีไปทำอันตรายคนที่อยู่ใกล้เคียงได้
          แต่หากใครที่ได้รับรังสีในปริมาณมาก ๆ อาจกลายเป็นอาการ "ความผิดปกติจากการได้รับรังสีสูงแบบเฉียบพลัน (Acute Radiation Syndrome, ARS)" ซึ่งเป็นความผิดปกติทางร่างกาย อันเป็นผลมาจากการได้รับรังสีปริมาณสูง ๆ ทั่วทั้งร่างกาย หรือเกือบทั้งร่างกายในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น ผู้ป่วยจากการได้รับรังสีจากระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ หรือผู้ป่วยจากการได้รับรังสีแกมมาจากวัสดุกัมมันตรังสีโคบอลต์-60 ที่สมุทรปราการ เมื่อหลายปีที่ผ่านมา โดยต่อไปนี้ จะกล่าวถึงเฉพาะกรณีที่ได้รับรังสีสูงเฉียบพลัน คือ "ความผิดปกติจากการได้รับรังสีสูงแบบเฉียบพลัน (Acute Radiation Syndrome, ARS)" นะคะ
          ทั้งนี้ การนำไปสู่การเกิดความผิดปกติจากการได้รับรังสีสูงแบบเฉียบพลัน มีข้อบ่งชี้อยู่ 5 ประการ คือ
          หน่วยวัดปริมาณรังสี  หน่วยวัดปริมาณรังสีในสิ่งมีชีวิต 1. ปริมาณรังสี (dose) ที่ได้รับทั่วทั้งร่างกายจะต้องสูง เช่น มีปริมาณสูงกว่า 0.7 เกรย์ (หน่วยที่วัดว่า วัตถุรับรังสีไปเท่าใด) ทั้งนี้ การได้รับรังสีทั่วร่างกายปริมาณ 0.3 เกรย์ อาจเป็นผลให้มีอาการแสดงของผิดปกติเพียงเล็กน้อย
          หน่วยวัดปริมาณรังสี  หน่วยวัดปริมาณรังสีในสิ่งมีชีวิต 2. รังสีที่ได้รับจะต้องมาจากแหล่งกำเนิดรังสีที่อยู่ภายนอกร่างกาย (external exposure)
          หน่วยวัดปริมาณรังสี  หน่วยวัดปริมาณรังสีในสิ่งมีชีวิต 3. รังสีที่ได้รับจะต้องเป็นรังสีที่มีพลังงาน หรืออำนาจทะลุทะลวงสูง เช่น รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมมา หรือ นิวตรอน เป็นต้น ซึ่งสามารถทะลุทะลวงผ่านเข้าไปให้รังสีแก่อวัยวะภายในร่างกายได้
          หน่วยวัดปริมาณรังสี  หน่วยวัดปริมาณรังสีในสิ่งมีชีวิต 4. จะต้องได้รับรังสีทั่วทั้งร่างกาย (หรือโดยส่วนใหญ่ของร่างกาย) ในคราวเดียวกัน
          หน่วยวัดปริมาณรังสี  หน่วยวัดปริมาณรังสีในสิ่งมีชีวิต 5. การได้รับรังสีจะต้องเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ (acute/immediate exposure)
          จากข้อบ่งชี้ดังกล่าวข้างต้น การได้รับรังสีของร่างกายเพียงบางส่วน เช่น ที่แขนหรือขา หรือการรับรังสีของผู้ป่วยในทางรังสีรักษา ซี่งแม้ปริมาณรังสีที่ให้แก่ผู้ป่วยจะสูงมาก (อาจถึง 80 เกรย์) แต่ก็แบ่งการให้รังสีเป็นหลาย ๆ ส่วน (fractions) ในช่วงเวลาที่กาหนด เช่น 1–2 เกรย์ต่อวัน ติดต่อกันหลายสัปดาห์ ซึ่งการได้รับรังสีแบบนี้ มีผลในการก่อให้เกิดความผิดปกติจากการได้รับรังสีสูงแบบเฉียบพลันได้น้อย

สารกัมมันตรังสี


          อย่างไรก็ตาม สิ่งมีชีวิตจะมีความไวต่อรังสีแตกต่างกัน โดยพิจารณาจากค่า LD50 (การวัดความรุนแรงของสารเคมีกำจัดแมลง ใช้หน่วย Lethal dose 50% เป็นหน่วยเปรียบเทียบ) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสุขภาพของผู้ถูกรังสีด้วย อีกทั้งอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายจะมีความไวต่อรังสีไม่เท่ากัน โดยระบบการสร้างเม็ดเลือด และอัณฑะรังไข่ จะไวต่อรังสีมากที่สุด รองลงมาคืออวัยวะที่มีเยื่อบุ เช่น ช่องปาก หลอดอาหาร ลำไส้ผิวหนัง ตามด้วยตับ ปอด ไต และต่อมต่าง ๆ ส่วนอวัยวะที่ทนต่อรังสีมากที่สุดคือ ไขสันหลัง สมอง กล้ามเนื้อ และหัวใจ
          นอกเหนือจากความไวที่แตกต่างกันแล้ว แต่ละอวัยวะยังมี Vitality ที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นความล้มเหลวของระบบสร้างเม็ดเลือด (hematopoietic syndrome) ระบบทางเดินอาหาร (gastrointestinal syndrome) และระบบประสาทส่วนกลาง (central nervous system syndrome) จึงเป็นสาเหตุสำคัญในการเสียชีวิต ของผู้ได้รับบาดเจ็บจากรังสี

ไขข้อข้องใจระดับกัมมันตรังสีกับอันตรายต่อมนุษย์
ทีมข่าวต่างประเทศไทยรัฐออนไลน์ภูมิใจนำเสนอภาพกราฟฟิกเคลื่อนไหวที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับระดับของสารกัมมันตภาพรังสีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์  เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ชาวไทย หลังจากที่เหตุแผ่นดินไหวระดับ 9 และสึนามิซัดถล่มญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา ทำให้เกิดการระเบิดและมีเพลิงไหม้หลายครั้งตลอดหลายวันที่ผ่านมาที่โรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ฟุกุชิมาของญี่ปุ่น จนมีรังสีนิวเคลียร์รั่วไหล สร้างความกังวลให้กับผู้คนทั่วโลก...
ในภาพกราฟฟิกเคลื่อนไหวข้างต้นระบุว่า หน่วยสำหรับวัดอัตราการเสี่ยงภัยจากสารกัมมันตภาพรังสีที่นานาชาติใช้กันนั้นมีหน่วยเป็น "มิลลิซีเวิร์ตส์" หรือ "เอ็มเอสวี"  ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งตามนามสกุลของศาสตราจารย์โรล์ฟ  มักซิมิเลียน ซีเวิร์ต ชาวสวีดิช ผู้บุกเบิกการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับอันตรายจากสารกัมมันตภาพรังสีต่อสิ่งมีชีวิต
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ระบุว่า โดยปกติแล้ว มนุษย์มีโอกาสได้รับรังสีชนิดต่างๆในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว   มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันออกไป เช่น การไปรับการฉายแสงหรือ "เอ็กซ์เรย์" ทางการแพทย์ทั่วๆไปที่จะมีปริมาณรังสีเข้าสู่ร่างกายของเราราว 0.3 - 0.6 เอ็มเอสวี   ซึ่งไม่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อร่างกาย แต่การได้รับรังสีด้วยวิธีนี้อาจก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นกันหากมีการได้รับในปริมาณที่มากเกินกว่า 2 เอ็มเอสวีใน 1 ปี ขณะที่การทำ "บอดี้สแกน" ทางการแพทย์นั้น คาดว่าจะมีรังสีสูงถึงระดับ 150 เอ็มเอสวี
อย่างไรก็ดี  ในทางการแพทย์ระบุว่า  ระดับรังสีที่จะเริ่มส่งผลกระทบต่อร่างกายของมนุษย์อย่างจริงจัง คือ ที่ระดับ 25 เอ็มเอสวี ส่วนในระดับ 50 เอ็มเอสวีนั้น ถือเป็นระดับรังสีสูงสุดที่ร่างกายของบรรดาคนงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงงานนิวเคลียร์จะพึงรับได้
แต่หากผู้ใดได้รับสารกัมมันตภาพรังสีในระดับ 100 เอ็มเอสวีแล้ว  บุคคลผู้นั้นก็จะมีความเสี่ยงที่จะป่วยด้วยโรคมะเร็งมากถึง 6 ชนิด ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งที่ต่อมไธรอยด์  มะเร็งปอด  มะเร็งตับ  มะเร็งลำไส้  มะเร็งไต และมะเร็งที่ไขกระดูก
ข้อมูลยังระบุว่า ผู้ที่ได้รับสารกัมมันตภาพรังสีในระดับ 1,000 เอ็มเอสวีจะถือเป็นผู้ป่วยจากรังสีที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลโดยแพทย์ในโรงพยาบาลอย่างใกล้ชิด และหากได้รับรังสีในระดับ 5,000 เอ็มเอสวีแล้ว มีข้อมูลว่า ราว 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ได้รับรังสีในระดับนี้จะเสียชีวิตภายใน 30 วัน
ส่วนผู้ที่ได้รับสารกัมมันตภาพรังสีในระดับ 10,000 -20,000 เอ็มเอสวีจะเสียชีวิตภายใน 1-2 สัปดาห์ และผู้ที่ได้รับรังสีในระดับตั้งแต่ 50,000 เอ็มเอสวีขึ้นไป จะเสียชีวิตอย่างทรมานภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น.

Source: www.kapook.com/giggog.com/

อัพเดทล่าสุด