https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
วินิจฉัยโรคกรดไหลย้อน หมอรักษาโรคกรดไหลย้อน โดยหมอรักษาโรคกรดไหลย้อนโดยตรง! MUSLIMTHAIPOST

 

วินิจฉัยโรคกรดไหลย้อน หมอรักษาโรคกรดไหลย้อน โดยหมอรักษาโรคกรดไหลย้อนโดยตรง!


1,523 ผู้ชม


มีผู้หญิงวัยรุ่นมา โรงพยาบาลด้วยอาการสำคัญคือกลัวเป็นโรคหัวใจ ซักถามประวัติได้ความว่าเธอจะมีอาการเจ็บหน้าอกตรงกลางค่อนมาทางซ้าย เป็นมากเวลาออกแรงยกของ เมื่อตรวจโดยการกดก็พบว่าเธอปวดและเจ็บที่ซี่โครงและกล้ามเนื้อ ดังนั้นในครั้งแรกจึงได้วินิจฉัยว่าเป็นโรคกลุ่มcostochondritisหรือกระดูก อ่อนซี่โครงอักเสบ ก่อนจะกลับผมก็ได้บอกว่าถ้ากดแล้วเจ็บเหมือนกันกับตอนเป็น ก็น่าจะเป็นอาการเจ็บที่เกิดจากกล้ามเนื้อและกระดูก ส่วนโรคหัวใจนั้นไม่น่าจะเจ็บเมื่อทำการกด ว่าแล้วผมก็ให้ยาแก้ปวดกล้ามเนื้อแก้อักเสบไป

ผ่านไประยะหนึ่งเธอกลับมาอีกครั้ง คราวนี้บอกว่าสงสัยจะเป็นโรคหัวใจจริงๆ เพราะว่าตอนนี้อาการเจ็บแบบเดิมหายไปแล้ว แต่มีอาการเจ็บอีกแบบที่กดหน้าอกก็ไม่เจ็บ แต่เวลาเป็นจะจุกแน่นขึ้นมาที่คอ และมีอาการเจ็บแสบร้อนเหมือนหัวใจจะไหม้ ผมซักถามประวัติอีกหน่อยและตรวจร่างกายเพิ่มเล็กน้อยก่อนจะลงความเห็นว่าก็ ยังไม่ใช่โรคหัวใจอยู่ดี แต่น่าจะเป็นภาวะที่เรียกว่า GERD หรือกรดไหลย้อน
GERD คืออะไร
GERD ย่อมาจากGastroesophageal reflux disease แปลตามตัวคือโรคที่มีการไหลย้อนกลับจากกระเพาะกลับมายังหลอดอาหาร
อ่าน https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=mormaew&group=2&month=02-2007&date=21&blog=1 เพื่อความเข้าใจสภาวะปกติของกระเพาะอาหาร
เมื่อ การทำงานของกระเพาะอาหารเกิดผิดไปจากปกติไม่ว่าจากสาเหตุใด ทำให้เกิดการทำงานของกระเพาะและหลอดอาหารในทิศทางที่ย้อนกลับ เจ้ากรดที่ย้อนกลับขึ้นมารวมทั้งอาหารที่ได้กินเข้าไปก็กลับขึ้นมาก่ออาการ ต่างๆกัน
อาการ
อาการของโรคนี้มีทั้งแบบที่อาการตรงไปตรงมา และแบบอาการที่ไม่ตรงไปตรงมา
อาการ แบบตรงไปตรงมา หรืออาการโดยทั่วไปที่พบบ่อย ก็คือ อาการแสบร้อนจากลิ้นปี่ขึ้นมาที่หน้าอกหรือลำคอ(จากกรดที่ย้อนขึ้น) อาการจุกแน่นหน้าอกหรือกลืนอาหารลำบาก(จากการทำงานกลับทิศทางของกระเพาะและ หลอดอาหาร)ถ้าเป็นมากก็อาจจะถึงกับมีการขย้อนได้

นั่นเป็นอาการหลักของเจ้าGERDที่พบบ่อย แต่ผู้ป่วยหลายรายที่เป็นโรคนี้มาพบแพทย์ด้วยอาการอื่นหรือโรคอื่นซึ่งเป็นผลพวงจากโรคGERD

ซึ่งนอกจากอาการหลักที่ได้กล่าวมาแล้วยังมีอาการอีกหลายอาการที่สามารถ เกิดขึ้นจากกรดไหลย้อนได้ อย่างเช่นอาการไอเจ็บคอ หรือเสียงแหบแห้งอันเนื่องมาจากกรดที่ไหลย้อนนั้นสำลักขึ้นมาที่คอหอยหรือ สำลักลงหลอดลม และอาการเจ็บหน้าอกซึ่งในบางรายอาจจำเป็นต้องแยกจากโรคหัวใจ บางรายอาจจะมีอาการตอนกลางคืนโดยไม่รู้ตัวอย่างเช่นตื่นเช้ามาแล้วมีอาการ เจ็บคอโดยไม่ทราบสาเหตุหรือตื่นมากลางดึกด้วยมีอาการจุกแน่นที่คอหอย
สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน
สาเหตุที่พอจะหาได้ก็คือ การเกิดความผิดปกติที่ทำให้การทำงานหรือลักษณะของทางเดินอาหารเปลี่ยนไปจากแบบปกติ โดยมีสาเหตุต่างๆกัน

- อาหารและยา เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต ยารักษาความดันโลหิตสูงและหัวใจบางชนิด อาหารและยากลุ่มนี้จะทำให้หูรูดหลอดอาหารส่วนล่างเกิดการหย่อนตัวลง
- อาหารกลุ่มไขมันและอาหารมื้อใหญ่ๆ อาหารที่มีไขมันมากหรือมีปริมาณมาก จะทำให้อาหารคงค้างในกระเพาะอาหารนาน มีโอกาสเกิดกรดไหลย้อนได้มากขึ้น
- อ้วน ความอ้วนจะทำให้เกิดแรงดันในท้องมากขึ้น ทำให้สามารถดันผ่านหูรูดได้ง่ายขึ้น
- หูรูดอ่อนแรงลงเอง : อันนี้เป็นสาเหตุที่แก้ไขไม่ได้ แต่เป็นสาเหตุหลักที่พบได้บ่อยที่สุด
ตรวจได้ยังไง
ปัญหา เรื่องการตรวจนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่บ้าง เพราะที่จริงแล้วการจะวินิจฉัยให้แม่นยำที่สุดนั้นต้องใช้เครื่องมือที่ เรียกว่าEsophageal Manometry (เครื่องวัดความดันในหลอดอาหาร) และ 24hr pH monitoring(เครื่องวัดสภาพกรดด่าง) เพื่อวัดความดันของหูรูดกระเพาะและดูว่ามีกรดที่ไหลย้อนกลับมาหรือเปล่า

แต่ที่ปัจจุบันหมอส่วนใหญ่ทำกันอยู่ก็คือทำการวินิจฉัยจากอาการไปเลย ... เหตุที่แพทย์ไม่ได้ใช้เจ้าเครื่องมือที่ว่านี้ในการวินิจฉัยเสมอ ก็เพราะว่าเครื่องนี้มีน้อย ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการจัดการ และยุ่งยากใช้เวลานาน (วันนึงวินิจฉัยได้แค่คนเดียว) การวินิจฉัยส่วนใหญ่จึงต้องตั้งบนหลักของอาการ และทำการตรจแยกโรคอื่นๆออกไปเสียก่อน

ในการตรวจนั้น แพทย์จะซักประวัติอาการที่เป็น ซักประวัติอาหารการกินและความสัมพันธ์กับอาการ รวมทั้งตรวจร่างกายหาลักษณะที่เข้าได้ของกรดไหลย้อน

เมื่อประวัติและอาการเข้ากันได้ แพทย์ก็อาจจะพิจารณารักษาด้วยกลุ่มยาลดกรดและยาปรับการเคลื่อนไหวของกระเพาะ อาหารไปก่อนเลยและทำการประเมินหลังจากนั้น

และสำหรับรายที่เป็นมากๆ ก็อาจจะต้องทำการส่องกล้องดูหลอดอาหารเพื่อดูว่ามีหลอดอาหารอักเสบหรือไม่
ต้องรักษาหรือไม่
การ จะรักษาหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับว่ามีอาการมากหรือไม่และรบกวนชีวิตประจำวัน มากเพียงใด ถ้ามีอาการน้อยๆนานๆครั้งก็อาจจะเป็นเพียงแค่การขย้อนตามภาวะปกติก็ได้ แต่ถ้ามีอาการมากจนรบกวนการทำงานในชีวิตประจำวันก็ต้องระลึกไว้ว่าการที่มี กรดไหลย้อนหรือมีอาการมากก็มีโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียง เช่น เส้นเสียงอักเสบ เสียงแหบ ปอดบวม หลอดอาหารตีบ หลอดอาหารอักเสบ(ซึ่งถ้าเป็นเยอะมากๆก็จะเป็นโรคBarretและกลายเป็นมะเร็ง ได้) ฟันผุ ทั้งนี้ก็ต้องพิจารณาเป็นรายๆไป
การรักษา
อย่าง ที่ได้บอกแล้วว่าสาเหตุส่วนหนึ่งนั้นเกิดมาจากพฤติกรรมการกินซึ่งแก้ไขได้ และมีอีกส่วนที่เกิดจากตัวหูรูดหลอดอาหารเองซึ่งแก้ไขไม่ได้ ดังนั้นการรักษาจึงมีสองส่วนนั่นคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการใช้ยาซึ่ง ต้องทำควบคู่กันไป...

การปรับพฤติกรรมการกิน ทำโดยหลีกเลี่ยงการกินอาหารจนอิ่มจัด หลีกอาหารที่เป็นสาเหตุเช่นกาแฟ เหล้า หลังจากกินแล้วไม่ควรนอนทันทีแต่ควรจะเว้นระยะให้อาหารได้ย่อย
ส่วนการใช้ยานั้นก็มียาแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆกันได้แก่

- ยาต้านกรด Antacid (ภาษาบ้านเราชอบเรียกว่ายาลดกรด)
- ยาลดกรด ซึ่งลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร
- ยากลุ่มprokinetic หรือที่มักเขียนไว้ที่หน้าซองยาว่ายาแก้คลื่นไส้อาเจียน ซึ่งกลไกของมันก็คือทำให้หลอดอาหารและกระเพาะเคลื่อนไหวในทิศทางที่ไม่ให้ กรดย้อนกลับขึ้นมา

โดยทั่วไปแล้วหากทำการรักษาเหล่านี้และปรับพฤติกรรมแล้วยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร ก็จะมีการพิจารณา


การตรวจและรักษาเพิ่มเติม
การรักษา เพิ่มเติมต่อไปในรายที่ไม่ได้ผลก็คือการผ่าตัด... แต่ก่อนจะถึงขั้นนั้นก็ต้องคุยกับแพทยที่รักษาก่อนครับเพราะในส่วนนี้จะมี รายละเอียดที่ต้องคุยกันอีกมากครับ
ข้อสำคัญของโรคนี้ก็คือ การวินิจฉัยให้แน่นอนนั้นทำได้ยาก หลายครั้งอาจจะต้องรักษาไปก่อนที่จะวินิจฉัยได้100% ดังนั้นการรักษาจึงต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมไปกับการรักษาด้วย แพทย์

ข้อมูลที่มา webboard.mthai.com

อัพเดทล่าสุด