https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ไซนัสจมูก โรคเกี่ยวกับไซนัส ป้องกันไซนัส และโรคแพ้อากาศ MUSLIMTHAIPOST

 

ไซนัสจมูก โรคเกี่ยวกับไซนัส ป้องกันไซนัส และโรคแพ้อากาศ


1,074 ผู้ชม


อาการแพ้อากาศหมายถึงการที่ไซนัสจมูก โรคเกี่ยวกับไซนัส ป้องกันไซนัส และโรคแพ้อากาศเยื่อบุจมูกอักเสบและบวมทำให้เกิดอาการดังนี้ จาม คัดจมูก คันจมูก น้ำมูกไหล นอกจากนั้นอาจจะมีอาการทางเยื่อบุตาอักเสบ ไซนัสอักเสบ หรือคออักเสบ สำหรับสาเหตุของเยื่อบุจมูกอักเสบพบว่าเกิดจากโรคภูมิแพ้เป็นส่วนใหญ่ สาเหตุของเยื่อบุจมูกอักเสบอาจจะเกิดจากภูมิแพ้ หรือมิใช่ภูมิแพ้ก็ได้

กลไกการเกิดโรค

ไซนัสจมูก โรคเกี่ยวกับไซนัส ป้องกันไซนัส และโรคแพ้อากาศ

โรคที่เกิดจากโรคภูมิแพ้

เมื่อร่างกายได้รับสารภูมิแพ้ ซึ่งจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิชนิด IgE ภูมินี้จะไปกระตุ้น Mast cell (เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง) ทำให้ร่างกายมีการหลั่งสารเคมีหลายชนิด เช่น histamin,prostaglandin สารเหล่านี้ทำให้เกิดอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล

ผลของโรคภูมิแพ้

แม้ว่าโรคนี้จะไม่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต แต่หากเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้แบบรุนแรงอาจจะทำให้เกิด anaphylaxis นอกจากนั้นเราอาจจะพบโรคร่วมเช่น ไซนัสอักเสบ โรคหอบหืด หูชั้นกลางอักเสบ ผิวหนังอักเสบ

  • มีโรคแทรกซ้อน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดผู้ป่วยมีอาการมากขึ้น เช่น โรคไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ เพราะฉนั้นหากมีอาการคัดจมูกเรื้อรังต้องระวังโรคแทรกซ้อนเหล่านี้
  • โรคภูมิแพ้อาจจะมีโรคร่วมเช่น โรคหอบหืด ผิวหนังอักเสบ polyp หากไม่รักษาโรคภูมิแพ้จะทำให้โรคร่วมเหล่านี้ไม่หาย
  • โรคภูมิแพ้อาจจะทำให้คุณภาพชีวิตเสียไปเช่นง่วงซึมจากยา ขาดเรียน เป็นต้น

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคภูมิแพ้

  1. อาการของโรคภูมิแพ้
  • อาการที่เริ่มเป็นโรคภูมิแพ้ ส่วนใหญ่มักจะเริ่มเกิดเมื่ออายุ 20 ปีแต่ก็มีผู้ป่วยที่เริ่มเป็นตั้งแต่อายุน้อย และเป็นต่อเนื่องจนวัยหนุ่ม
  • อาการภูมิแพ้เป็นทั้งปี( perennial rhinitis )หรือเป็นเฉพาะฤดู( seasonal rhinitis ) หรืออาจจะเป็นทั้งสองแบบผสมกัน อาการภูมิแพ้เป็นทั้งวัน หรือเป็นเฉพาะเจอเหตุการณ์ที่พิเศษ การเป็นคนช่างสังเกตจะช่วยให้ช่วยในการวินิจฉัยโรค
  • เมื่อเวลาเป็นภูมิแพ้มีอาการที่อวัยวะไหนบ้าง ส่วนใหญ่จะมีอาการคันจมูก คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม แต่บางคนจะมีอาการเคืองตา น้ำตาไหล
  1. ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการภูมิแพ้
  • ทราบปัจจัยกระตุ้นอาการภูมิแพ้หรือไม่ เช่นเมื่อเจอฝุ่น หรือเกิดอาการเมื่อจุดธูป หรือแพ้ขนสัตว์ หากสิ่งที่สงสัยว่าจะเป็นภูมิแพ้แล้วเกิดอาการแสดงว่าแพ้สิ่งนั้น
  • อาการภูมิแพ้อาจจะเป็นมากขึ้นหากสัมผัสสารระคายเคืองเช่น ควันบุหรี่ กลิ่นสี กลิ่นแรงๆ
  • ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ตลอดปีมักจะแพ้ ไรฝุ่น หรือแพ้ขนสัตว์
  1. การตอบสนองต่อการรักษา
  • หากตอบสนองการรักษาด้วยยาแก้แพ้ antihistamine ได้ผลดีก็จะช่วยในการวินิจฉัย แต่ผู้ป่วยที่คัดจมูกโดยที่ไม่ใช่โรคภูมิแพ้ก็ตอบสนองต่อยาแก้แพ้
  • หากตอบสนองต่อยาพ่นจมูก steroid แสดงว่าเกิดจากภูมิแพ้
  1. หาโรคร่วม
  • ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มักจะมีโรคร่วม เช่นผิวหนังอักเสบ โรคหอบหืด หากไม่ควบคุมอาการภูมิแพ้จะทำให้โรคหอบหืดหรือโรคผิวหนังกำเริบ
  • ค้นหาโรคแทรกซ้อน เช่นไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ โรคนอนกรน ฟันกร่อนเนื่องจากนอนกัดฟัน ริดสีดวงจมูก (nasal polyp)
  • มีโรคหลายโรคที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อย
  1. ประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว
  • ผู้ที่มีพ่อแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ก็มีโอกาศเป็นโรคภูมิแพ้สูง
  • ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ อาจจะไม่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว เนื่องจากอาจจะมีปัจจัยอย่างอื่น
  1. สิ่งแวดล้อม
  • ให้สังเกตสิ่งแวดล้อมที่จะทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ทั้งปี เช่น ปัจจัยที่ทำให้เกิดไรฝุ่น รา สัตว์เลี้ยง ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ เช่น อาชีพเกี่ยวกับพรม ความร้อน ความชื้น
  • สิ่งแวดล้อมในที่ทำงานหรือโรงเรียนที่อาจจะทำให้เกิดภูมิแพ้ เช่น การทำงานเกี่ยวข้องกับสัตว์ ความชื้น เกสรดอกไม้เป็นต้น

คนที่เป็นภูมิแพ้จะมีลักษณะอย่างไร

ผู้ที่เป็นภูมิแพ้จะมีขอบตาดำเนื่องจากการขยายของเส้นเลือดรอบดวงตา

ไซนัสจมูก โรคเกี่ยวกับไซนัส ป้องกันไซนัส และโรคแพ้อากาศ
เนื่องจากจะคันจมูกบ่อย ผู้ป่วยจะขยี้จมูกทำให้เกิดรอยขวางส่วนปลายจมูก ไซนัสจมูก โรคเกี่ยวกับไซนัส ป้องกันไซนัส และโรคแพ้อากาศ
  • เมื่อส่องดูรูจมูกจะพบว่าเยื่อจมูกบวมสีแดง บางคนอาจจะซีดหรือสีม่วงคล้ำ ลักษณะน้ำมูกก็ช่วยบอกโรคได้เช่น หากน้ำมูกใสก็น่าจะเป็นภูมิแพ้ หากมีน้ำมูกข้างเดียวสีเหมือนหนองก็น่าจะเป็นไซนัสอักเสบ
  • อาจจะมีการอักเสบของหู แก้วหูอาจจะทะลุทำให้ผู้ป่วยได้ยินไม่ชัด
  • เยื่อบุตาอาจจะแดง และบวมเนื่องจากภูมิแพ้

สาเหตุของอาการคัดจมูก

สาเหตุของโรคภูมิแพ้ขึ้นกับชนิดของโรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยบางคนอาจจะแพ้สารภูมิแพ้หลายอย่างทำให้มีอาการภูมิแพ้ทั้งปี และเมื่อได้รับสารกระตุ้นจะทำให้อาการกำเริบเป็นระยะ สาเหตุของโรคภูมิแพ้จะขึ้นกับชนิดของโรคภูมิแพ้

Allergic Rhinitis

perennial allergic rhinitis

อาการของผู้ป่วยจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลทั้งปี อาการคันคอ จาม น้ำมูกไหลจะน้อยกว่า seasoning rhinitis

เป็นภูมิแพ้ที่เกิดจากสารภูมิแพ้ที่อยู่ในบ้าน แต่ก็อาจจะเกิดจากสารภูมิแพ้นอกบ้านที่มีอยู่ตลอดปี สารภูมิแพ้ได้แก่

seasonal allergic rhinitis

เป็นโรคภูมิแพ้ที่เกิดตามฤดูการ ส่วนใหญ่เกิดจากสารภูมิแพ้นอกบ้านที่เกิดตามฤดู

อาการที่สำคัญของโรค seasoning allergic rhinitis

  • อาการคันจมูกเป็นอาการสำคัญ นอกจากนั้นอาจจะคันบริเวณ ตา หู คอ
  • ในช่วงที่มีเกษารดอกไม้ และผู้ป่วยอยู่ในช่วงภูมิแพ้ ผู้ป่วยอาจจะมีอาการน้ำมูกไหลมากขึ้นหากสัมผัสสิ่งระคายเคือง เช่นควันบุหรี่ เครื่องปรับอากาศ กลิ่มฉุน
  • คัดจมูก และน้ำตาไหล
  • น้ำมูกไสไหลอยู่ตลอดเวลา
  • อาการคัดจมูกอาจจเป็นมากถึงต้องอ้าปากหายใจหรืออาจจะปวดไซนัส หรือปวดหู
  • อาจจะมีอาการไอเนื่องจากน้ำมูกไหลลงคอ
  • ผู้ป่วยโรคหอบหืดจะมีอาการหอบมากขึ้น
  • อาการมักจะเป็นมากตอนเช้า
  • อาการแต่ละวันจะไม่เท่ากัน

Sporadic allergic rhinitis

เป็นโรคภูมิแพ้ที่เกิดจากการสัมผัสสารที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อนซึ่งอาจจะเป็นสัตว์เลี้ยง เกษรดอกไม้ กลิ่น อาหาร

Occupational allergic rhinitis

เป็นภูมิแพ้ที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่นการทำฟาร์มปศุสัตว์ เกษตรกร สารเคมี

Non Allergic Rhinitis

ผู้ป่วยก็จะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลแต่จะไม่มีอาการคัน เมื่อเจาะเลือดตรวจหรือการทดสอบทางผิวหนังก็ไม่พบหลักฐานว่าเป็นภูมิแพ้ โรคที่พบได้แก่

Nonalllergic Eosinophilic Rhinitis

  • ผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนภูมิแพ้ คัดจมูก น้ำมูกไหล คันจมูก ซึ่งจะเป็นทั้งปี
  • บางคนอาจจะไม่ได้กลิ่น
  • บางคนอาจจะพบร่วมกับการอักเสบของไซนัส หรือโรคหอบหืด
  • เมื่อตรวจนำ้มูกจะพบเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า Eosinophil

Infectious Rhinitis

  • เป็นอาการคัดจมูกที่เกิดจากโรคติดเชื้อ เช่นไข้หวัด เชื้อแบคทีเรีย
  • น้ำมูกจะมีสีเหลือง
  • หากมีน้ำมูกสีเหลืองติดต่อกันเกิน 5 วันให้สงสัยว่าจะน่าจะเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่จมูก หรือไซนัส
  • มีไข้ต่ำๆ
  • เมื่อนำน้ำมูกมาตรวจจะพบเวลล์เม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil และเชื้อแบคทีเรีย

Idiopathic nonallergic rhinitis หรือ Vasomotor rhinitis

  • อาการคัดคัดจมูกของผู้ป่วยมิใช่เกิดจากโรคภูมิแพ้
  • อาจจะเกิดจาก กลิ่นฉุนๆ
  • อาจจเกิดสารเคมี
  • บางครั้งอาจจะเกิดจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เช่น ความชื้น อุณหภูมิ ความกดอากาศ
  • ตรวจน้ำมูกไม่พบเซลล์ที่ผิดปกติ
  • กลไกการเกิดยังไม่ทราบ

Hormonal Rhinitis

  • เป็นอาการคัดจมูกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย
  • อาการคัดจมูกมักจะสัมพันธ์กับ การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ ต่อมธัยรอยด์ทำงานน้อย
  • อาการสำคัญคือคัดจมูก และน้ำมูกไหล

Anatomical Rhinitis

เป็นอาการคัดจมูกที่เกิดจากควมผิดปกติในจมูก เช่น มี polyp ผนังกันจมูกเบี้ยว มีวัตถุแปลกปลอม

แพทย์จะตรวจอะไรบ้างเพื่อหาสาเหตุของโรคภูมิแพ้

การตรวจร่างกาย

  • ตรวจดูว่าใช้ปากหายใจแทนจมูกหรือไม่
  • ตรวจจมูกว่ามีรอยขวางกลางจมูกหรือไม่
  • ส่องตรวจรูจมูกเพื่อตรวจดูว่ามี polyp เยื่อบุจมูกว่าบวมหรือไม่ สีของเยื่อบุจมูก สีของน้ำมูก
  • ตรวจตาว่ามีการอักเสบของเยื่อบุตาหรือไม่
  • ตรวจคอ ว่ามีเสบหะติดคอหรือไม่ ต่อมทอนซิลโตหรือไม่
  • ตรวจหูว่ามีหูน้ำหนวก หรืออักเสบ

การทดสอบทางภูมิแพ้

ไซนัสจมูก โรคเกี่ยวกับไซนัส ป้องกันไซนัส และโรคแพ้อากาศ

  • การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังซึ่งสามารถทำได้สองวิธีคือ การใช้เข็มสะกิดผิวหนังให้เป็นแผลแล้วหยดสารที่สงสัยว่าจะเป็นสารภูมิแพ้บน ผิวหนังที่เป็นแผล รอดูผลซึ่งจะเกิดผื่นลมพิษบริเวณดังกล่าวในเวลา 10-15 นาที หรืออาจจะใช้วิธีฉีดสารที่สงสัยว่าจะแพ้เข้าใต้ผิวหนัง แล้วรอผลว่าจะเกิดลมพิษหรือไม่
  • การเจาะเลือดตรวจหาระดับภูมิ IgE หลังจากผิวหนังถูกกระตุ้นด้วยสารที่สงสัยว่าจะเป็นสารภูมิแพ้
  • การเจาะเลือดหาระดับ IgE ซึ่งผู้ป่วยภูมิแพ้มักจะมีภูมิ IgE ระดับสูง
  • การเจาะเลือดตรวจ CBC จะพบว่ามีเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Eosinophil สูง
  • การตรวจทางรังสีเพื่อตรวจดูว่ามีโรคแทรกซ้อน เช่นไซนัสอักเสบโดยอาจจะเป็นการตรวจ X-RAY ธรรมดาหรือตรวจด้วยคอมพิวเตอร์
  • การตรวจพิเศษเช่นการส่องเข้าไปในรูจมูก Rhinoscopy เพื่อตรวจดูว่ามีเนื้องอก หรือสิ่งผิดปกติอย่างอื่นหรือไม่

การรักษา

ขั้นตอนในการรักษาโรคภูมิแพ้

ความหนักของอาการ ชนิดของการรักษา
อาการไม่หนักหรือนานๆจะเป็นสักครั้ง
  • ยังไม่ต้องใช้ยา
  • แนะนำให้หลีกเลี่ยงจากสารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้
อาการเป็นหนักปานกลางและเป็นบ่อย
ในรายที่มีอาการรุนแรง
  • เริ่มด้วยยา steroid ชนิดพ่น
  • หรือยาแก้แพ้ชนิดรับประทาน
  • หากอาการเป็นมากอาจจะให้ prednisolone รับประทาน

ข้อแนะนำในการรักษาโรคภูมิแพ้สำหรับคนไข้

ภูมิแพ้ในผู้สูงอายุ

  • ผู้ป่วยสูงอายุมักจะไม่ค่อยเป็นโรคภูมิแพ้ สาเหตุมักจะเป็น atropic rhinitis ซึ่งรักษายาก
  • ต้องพิจารณาเรื่องยาที่ผู้ป่วยรับประทานเพราะอาจจะ เป็นสาเหตุของอาการคัดจมูก เช่น reserpine(ยาลดความดันโลหิต),methyldopa(ยาลดความดันโลหิต),prazocin (ยาลดความดันโลหิต),ACEI(ยาลดความดันโลหิต
  • ยาแก้คัดจมูก Decongestant อาจจะทำให้ปัสสาวะไม่ออกในผู้ป่วยที่เป็นต่อมลูกหมากโต
  • ยาแก้คัดจมูก Decongestant อาจจะมีผลต่อความดันโลหิตและโรคหัวใจของผู้ป่วย
  • ยาแก้แพ้ชนิดที่ง่วงนอนอาจจะทำให้ผู้ป่วยซึมหรืออาจจะเป็นสาเหตุให้หกล้ม

โรคภูมิแพ้ในคนท้องและเลี้ยงลูกด้วยนม

  • ให้ใช้ยาลดการหลั่งของ mast cell เป็นอันดับแรกเพราะผลข้างเคียงต่ำ
  • หากไม่ได้ผลแนะนำให้ใช้ loratadine ซึ่งมีรายงานถึงความปลอดภัยระดับB(ระดับ A มีหลักฐานยืนว่าปลอดภัย) ตัวเลือกอันดับสองคือ Ceterizine
  • ทางเลือกอันดับสามคือยาพ่นจมูก steroid จะใช้ในกรณีที่ใช้ยาสองวิธีแรกแล้วไม่ได้ผล
  • หลั่งตั้งครรภ์แล้ว 3 เดือนหากยังมีอาการคัดจมูกก็ให้แก้คัดจมูก

โรคภูมิแพ้ในเด็ก

  • การวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ในเด็กอาจจะยาก เนื่องจากเด็กอาจจะมาด้วยอาการหูน้ำหนวก ไซนัสอักเสบเรื้อรัง
  • ต้องรีบการวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ในเด็กให้ได้โดยเร็ว เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน
  • เด็กที่แพ้อาหารอาจจะมาด้วยเรื่องคัดจมูกน้ำมูกไหล
  • การใช้ยาพ่นชนิด steroid เรื้อรังอาจจะทำให้การเจริญเติบโตช้าลง
  • ต้องกำจัดสิ่งแวดล้อมที่สงสัยว่าจะแพ้

หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ทั้งสารที่สงสัย และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งสารที่ระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ

Immunotherapy (desensitization)

วิธีการก็คือการทดสอบทางผิวหนังโดยการฉีดสารที่สงสัย หรือสารที่แพ้บ่อยเข้าใต้ผิวหนัง หลังจากนั้นดูปฏิกิริยาว่าแพ้อะไร เมื่อทราบว่าแพ้สารอะไรก็นำสารนั้นมาฉีดเข้าใต้ผิวหนังเพื่อให้ร่างกายสร้าง ภูมิคุ้มกันชนิด IgG แทน IgE ซึ่งไม่ทำให้เกิดปกิกิริยาภูมิแพ้ การรักษาจะได้ผลหลังจากฉีดไปแล้ว 6-12 เดือน อันตาจที่อาจจะเกิดจากการทดสอบหรือการรักษาอาจจะทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ อย่างรุนแรง

การทดสอบภูมิแพ้จะทำในรายที่รักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล หรือผู้ป่วยอาการรุนแรง หรือมีโรคแทรกซ้อน ไม่ควรทำในรายที่มีประวัติการแพ้ต่อการฉีดสารภูมิแพ้

ข้อควรพิจารณาในการImmunotherapy (desensitization)

  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ทั้งปี
  • ผู้ป่วยที่อาการยังไม่ดีขึ้นแม้ว่าจะใช้ทั้งยาพ่นและยารับประทานอย่างเต็มที่
  • ป้องกันการกำเริบของโรคหอบหืด
  • ป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคไซนัส
  • ป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคหูชั้นกลางอักเสบ

เมื่อไปพบแพทย์ท่านจะต้องบอกอะไรบ้าง

  • อายุที่เริ่มเป็น
  • การดำเนินของโรค
  • ความรุนแรงของโรค
  • ระยะเวลาที่เป็น
  • ความสัมพันธ์กับอากาศ
  • ความสัมพันธ์กับอาการทางตา คอ โรคหอบหืด
  • เคยเป็นโรคไซนัสหรือหูอักเสบหรือไม่
  • ปัจจัยที่ทำให้โรคเป็นมากขึ้น
  • อาการคัดจมูกมีความสัมพันธ์กับโรคหอบหืดหรือไม่
  • อาการมีความสัมพันธ์กับการใช้ยาหรือไม่
  • อาการมีความสัมพันธ์กับอาหารหรือไม่
  • ประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว
  • ประวัติการใช้ยา

อาการจามจะเกิดเมื่อมีการระคายเคืองต่อเยื่อบุจมูก ทำให้สมองสั่งให้มีอาการจามออกมา ข้อแนะนำ

  • เมื่อเกิดอาการอยากจาม ให้กดบริเวณปลายจมูกซึ่งจะทำให้หยุดอาการอยากจาม
  • บางคนเมื่อเจอแสงจ้าๆอาจจะทำให้จาม คนนั้นอาจจะต้องสวมแว่นกันแดด
  • หากมีน้ำมูกให้สั่งออก และล้างรูจมูกด้วยน้ำเกลือ
  • หากมีอาการจาม อย่าเอามือปิด หรือหุบปากเพราะจะทำให้ความดันไปสู้หูชั้นกลางทำให้เกิดการอักเสบของหู
  • หากคุณมีอาการจามบ่อยให้ปรึกษาแพทย์เพราะอาจจะเป็นภูมิแพ้
ที่มา  www.siamhealth.net

อัพเดทล่าสุด