แพทย์ มช.ชี้พฤติกรรมเผาป่า หมอกควันทำอันตรายถึงตาย MUSLIMTHAIPOST

 

แพทย์ มช.ชี้พฤติกรรมเผาป่า หมอกควันทำอันตรายถึงตาย


649 ผู้ชม


แพทย์ มช.ชี้พฤติกรรมเผาป่า หมอกควันทำอันตรายถึงตาย

แพทย์ มช.ชี้พฤติกรรมเผาป่า หมอกควันทำอันตรายถึงตาย แพทย์ มช.ชี้พฤติกรรมเผาป่า หมอกควันทำอันตรายถึงตายได้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ แจ้งเตือนประชาชน จ.เชียงใหม่และใกล้เคียง ถึงผลกระทบจากหมอกควันที่เกิดจากการเผา ไม่ว่าจะเป็นการเผาป่า เผาไร่ เผาเศษใบไม้ หรือแม้กระทั่งเผาขยะว่า มีอันตรายร้ายแรง ส่งผลกระทบต่ออวัยวะภายในร่างกาย อาทิ ปอด หัวใจ และสมอง โดย รศ.นพ.ดร.พงษ์เทพ  วิวัฒนเดช หัวหน้าวิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า สารในหมอกควันที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ฝุ่นขนาดเล็ก และแก๊สพิษ โดยผลจากการตรวจวัดระดับฝุ่นในอากาศในหลายที่ปีผ่านมา พบว่ามีจำนวนมากขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง ซึ่งสารที่ประกอบในหมอกควันทั้งสองนี้ก่อให้เกิดผลกระทบกับระบบต่าง ๆ ของร่างกาย คือ ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจ รวมไปถึงระบบสมอง ก่อให้เกิดโรคเฉียบพลัน อาจจะทำให้โรคที่เป็นอยู่ เช่น หอบหืดหรือถุงลมโป่งพองกำเริบหนักกว่าเดิม และเมื่อร่างกายดูดซึมสารพิษและฝุ่นละอองเข้าไปสะสม จะส่งผลทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย และเส้นเลือดในสมองตีบ บางรายถึงขั้นเป็นอัมพาตเพราะเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงที่สมอง และยังส่งผลกับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ การศึกษาพบชัดเจนว่าในระยะที่มีหมอกควัน เด็กที่คลอดออกมาจะมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ ซึ่งอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะเสียชีวิต และเป็นโรคอื่น ๆ นอกจากนี้ยังเกิดโรคที่เกิดจากการสะสมก่อให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง ที่น่ากลัวที่สุด และได้รับการยืนยันแล้วคือในหมอกควันมีสารก่อมะเร็งรวมอยู่ด้วย จึงทำให้ผู้ที่หายใจเอาหมอกควันเข้าไปเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งได้


ทั้ง นี้ภาคเหนือมีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปอดสูงสุดในประเทศอันดับที่ 1 คือ จ.ลำปาง อันดับ 2 จ.ลำพูน และอันดับ 3 จ.เชียงใหม่ โดยบางคนจะเห็นว่าไม่ได้สูบบุหรี่ แต่ก็เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอด จากสาเหตุหมอกควันได้เช่นกัน โดย 4 ปัจจัยในการเกิดหมอกควันคือ การเผาพื้นที่ป่าและการเกษตร การเผาขยะ การจราจร และการอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามภาคส่วนประชาชนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกันลดปริมาณหมอก ควันได้ ด้วยการลดการเผาทั้งพื้นที่การเกษตรและขยะ หากช่วยกันคนละไม้ คนละมือ ปริมาณหมอกควันก็จะลดน้อยลง สุขภาพของประชาชนก็จะดีขึ้นตามไปด้วย

ที่มา : เว็บไซต์ scimath

อัพเดทล่าสุด