https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
หาว, หาวนอน, อาการหาว, อาการง่วง, ง่วง, ง่วงเหงาหาวนอน, อาการง่วงเหงาหาวนอน MUSLIMTHAIPOST

 

หาว, หาวนอน, อาการหาว, อาการง่วง, ง่วง, ง่วงเหงาหาวนอน, อาการง่วงเหงาหาวนอน


1,863 ผู้ชม

ฟันธง! ได้เลยว่าทุกคนเคยมีอาการนี้กันทั้งนั้น… เพราะอาการง่วงเหงาหาวนอนโดยเฉพาะในช่วงเวลา...


หาว!! บ่งบอกอะไร

ฟันธง! ได้เลยว่าทุกคนเคยมีอาการนี้กันทั้งนั้น… เพราะอาการง่วงเหงาหาวนอนโดยเฉพาะในช่วงเวลากลางวัน ถือเป็นอาการชั้นเบสิกที่พบได้เป็นปกติของปถุชนคนธรรมดา แต่ที่น่ากังวลคือ อาการง่วงที่ว่านี้เป็นมากชนิดที่เกิดขึ้นเป็นประจำต่อเนื่อง หลับได้ไม่เลือกที่อย่างนี้เรียกว่า Hypersomnia หรืออาการง่วงเหงาหาวนอนตลอดเวลาซึมเศร้า ไร้ชีวิตชีวา

หาว, หาวนอน, อาการหาว, อาการง่วง, ง่วง, ง่วงเหงาหาวนอน, อาการง่วงเหงาหาวนอน

ผู้เชี่ยวชาญเปิดเผยว่า บุคคลที่มีอาการง่วงมากในเวลากลางวันจะมีความบกพร่องในการเข้าสังคมกับผู้อื่น ร้ายไปกว่านั้นอาการที่ว่านี้ยังเป็นสัญญาณบ่งชี้โรคภัยอีกด้วย… รู้อย่างนี้แล้วอย่าปล่อยให้อาการเหล่านี้ทำให้คุณดูแย่! มาปรับพฤติกรรมเพื่อหลีกหนีอาการเหล่านี้กันดีกว่า

ง่วงกลางวัน บอกอะไรบ้าง

1. นอนไม่พอ

การนอนของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน บางคน 6 ชั่วโมง บางคน 8 ชั่วโมง ถึงจะพอ ยิ่งไปกว่านั้นในคน ๆ เดียวกัน แต่ต่างเวลา ความต้องการเวลานอนอาจไม่เท่ากันก็ได้ รวมถึงคนที่อดนอนมาหลายวันจะขาดการนอนสะสม ต้องนอนชดเชยย้อนหลังให้มากกว่าเวลาที่อดนอนไป

2. โรคนอนไม่หลับ (insomnia)

ใครที่มีอาการนอนตาค้าง คิดนั่นคิดนี่ ฟุ้งซ่าน สติแตก พลิกไปพลิกมา ข่มตาหลับอย่างไรก็ไม่สำเร็จ แสดงว่าคุณเป็นโรคนอนไม่หลับ โรคนี้ค่อนข้างทรมานเพราะจะมีผลทำให้ร่างกายอ่อนล้า เนื่องจากพักผ่อนไม่เพียงพอ ทางแก้ที่ควรทำ คือ ควรเข้านอนเป็นเวลาทุกวัน เพื่อปรับสภาพร่างกายให้ชิน งดเว้นสารกระตุ้นต่าง ๆ หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ แต่ควรเปลี่ยนเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรอุ่น ๆ เช่น ชาคาร์โมมายด์ ลาเวนเดอร์ จะช่วยให้ผ่อนคลาย และหลับง่ายยิ่งขึ้น

3. หม่ำคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป

นักวิจัยเล่าว่าการกินอาหารมื้อใหญ่ ๆ ที่หนักแป้ง หนักน้ำตาล มีผลทำให้เลือดไหลที่กระเพาะอาหาร เพราะต้องทำการย่อยอาหารปริมาณมากให้เสร็จสิ้น ทำให้เลือดไหลเวียนช้าโดยเฉพาะส่วนสมองจึงทำให้รู้สึกง่วงซึม เฉื่อยชา และอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตสูง เป็นตัวบ่งชี้ว่าทำให้มีการหลั่งสารเคมีในสมองที่มีความสัมพันธ์กับความง่วงนอน เช่น เซโรโทนิน

4. คุณอาจเป็นโรคเหล่านี้

โลหิตจาง เบาหวาน ซึมเศร้า และโรคหยุดหายใจระหว่างหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) โรคนี้ คือภาวะที่ทางเดินลมหายใจส่วนบนยุบตัวลงระหว่างนอนหลับ ทำให้หยุดหายใจไปเลย (apnea) นานครั้งละ 10 วินาทีขึ้นไปแล้วสะดุ้งตื่นไม่ต่ำกว่าชั่วโมงละ 5 ครั้ง คนเป็นโรคนี้จะมีผลทำให้ง่วงกลางวันมึนงงแต่เช้า ความจำเสื่อม โรคนี้มักเป็นกับคนที่มีภาวะอ้วนลงพุง 

แนวทางแก้ไข

1. เพิ่มเวลาการนอน ในช่วงเวลากลางคืน หากต้องการรู้ว่าเวลานอนของเราพอหรือไม่ คือจัดเวลานอนให้มากขึ้น อย่างน้อยคือ 8 ชั่วโมง ลองดูเป็นเวลา 1 สัปดาห์ หากอาการง่วงนอนกลางวันยังไม่ดีขึ้น แสดงว่าอาจเกิดจากสาเหตุอื่น

2. บริหารลมหายใจ กระตุ้นร่างกาย ปลุกตัวเองให้กระฉับกระเฉงเพียงแค่หายใจเข้าออกถี่ ๆ ทางจมูก หุบปากตามสบาย จนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อที่ฐานต้นคอเหนือกระดูกไหปลาร้า และที่กระบังลมเกิดการเคลื่อนไหวตาม วิธีนี้ทำบ่อย ๆ จะทำให้ร่างกายแข็งแรง จะรู้สึกมีพลัง ตื่นตัว แก้ง่วงได้ดีนัก

3. จิบน้ำระหว่างวัน ควรเป็นน้ำอุ่นอุณหภูมิห้อง เพื่อให้ร่างกายดูดซึมไปใช้ในระบบไหลเวียนมาเลี้ยงเลือดได้ทันที ช่วยเพิ่มความสดชื่น กระปรี้กระเปร่าได้ดี

4. ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ โดยการลุกเดิน หากิจกรรมทำ ก็เป็นกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัวได้

5. งีบหลับสัก 10-15 นาที มีงานวิจัยชี้ว่า การงีบหลับสัก 10-15 นาที เมื่อตื่นขึ้นมาจะรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า พร้อมรับกับสถานการณ์ช่วงบ่ายได้เป็นอย่างดี แต่วิธีนี้ควรทำเมื่อถึงจุดวิกฤติจริง ๆ แนะนำว่าควรหามุมส่วนตัวก็จะดี ยิ่งเป็นที่ทำงานด้วยแล้ว อาจถูกตำหนิได้

6. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เป็นอีกทางที่ช่วยเติมพลังได้อย่างไม่น่าเชื่อ ลองหาเวลาออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละไม่ต่ำกว่าครึ่งชั่วโมง รับรองสมองปลอดโปร่ง สุขภาพร่างกายแข็งแรง มีไฟในทุกสถานการณ์


อัพเดทล่าสุด