https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
แชร์ด่วน! 33 อาหารต้องห้าม ที่คนเป็นโรคเก๊าท์ ไม่ควรกินเด็ดขาด MUSLIMTHAIPOST

 

แชร์ด่วน! 33 อาหารต้องห้าม ที่คนเป็นโรคเก๊าท์ ไม่ควรกินเด็ดขาด


13,942 ผู้ชม

โรคเก๊าท์ เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง  พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง  เกิดจากการตกตะกอนของกรดยูริคภายในข้อ 


แชร์ด่วน! 33 อาหารต้องห้าม ที่คนเป็นโรคเก๊าท์ ไม่ควรกินเด็ดขาด

โรคเก๊าท์ เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง  พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง  เกิดจากการตกตะกอนของกรดยูริคภายในข้อ 
ซึ่งกรดยูริคมาจากสารพิวรีนที่มีมากในอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์  ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นต้น  ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ต้องได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่องตลอดชีวิต  เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้ข้อผิดรูป พิการได้

อาการโรคเก๊าท์


มีอาการปวดข้อ ข้อบวม  บริเวณข้อมีลักษณะแดงร้อนและกดเจ็บ  อาการปวดสามารถเกิดได้กับหลายข้อ  ตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่ข้อนิ้วโป้งเท้า  ข้อเท้า  และข้อเข่า  อาการปวดจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน  อาจมีอาการไข้เล็กน้อยจนถึงไข้สูง
อาการกำเริบแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 3-7 วัน
เมื่อโรคดำเนินต่อไป  การอักเสบที่เกิดขึ้นซ้ำๆจะทำให้ข้อบิดเบี้ยว  เดินลำลากและอาจพิการไตอาการร่วมอื่นๆ   อาจพบนิ่วในไต  นิ่วในทางเดินปัสสาวะร่วมด้วย

ปัจจัยกระตุ้นโรคเก๊าท์


กินอาหารชนิดที่มีสารพิวรีนมาก  เช่น  สัตว์ปีก  เครื่องในสัตว์
การดื่มเหล้าและเบียร์
ยาบางชนิด  เช่น ยาลดความดันโลหิตบางตัว  ทำให้กรดยูริคสูงในเลือด
ปัจจัยกระตุ้นอื่น ๆ ได้แก่  บาดเจ็บ  หลังผ่าตัดใหม่ๆ  ความเครียด  เป็นต้น

การวินิจฉัย และการตรวจเพิ่มเติม

เจาะน้ำในข้อไปตรวจ   วิธีนี้นอกจากจะเป็นวิธีการตรวจยืนยันที่ดีที่สุดแล้ว  ยังช่วยวินิจฉัยแยกโรคอื่น ๆได้อีกด้วย
เจาะเลือดตรวจระดับกรดยูริคว่าสูงกว่าปกติหรือไม่ x-ray ข้อที่มีอาการปวด  เพื่อดูความผิดปกติในภาพรังสี
การรักษาโรคเก๊าท์
ขณะโรคกำเริบ  ให้กินยาตามแพทย์สั่ง
ประคบเย็น
ลดการใช้ข้อ  หลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักที่ข้อดังกล่าว กินน้ำให้เพียงพอ

การป้องกันโรคเก๊าท์


หลีกเลี่ยงการดื่มเบียร์และเหล้า ดื่มน้ำมาก ๆ กินยาตามแพทย์สั่ง  ผู้ป่วยบางรายอาจต้องกินยาตลอดชีวิต
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดังต่อไปนี้ :  หัวใจไก่  ตับไก่  กึ๋นไก่  เซ่งจี้หมู  ตับหมู  ไต  ตับอ่อน  มันสมองวัว  เนื้อไก่  เนื้อเป็ด  ห่าน  ไข่ปลา  ปลาดุก  ปลาไส้ตัน  ปลาอินทรีย์  ปลาซาร์ดีน  กุ้งชีแฮ้  หอย  น้ำสกัดเนื้อ   น้ำต้มกระดูก  น้ำซุปต่างๆ  ซุปก้อน  ยีสต์  เห็ด ถั่วดำ  ถั่วแดง  ถั่วเขียว  ถั่วเหลือง  กระถิน  ชะอม  แตงกวา หน่อไม้ กะปิ
ที่มา:  www.winnews.tv

อัพเดทล่าสุด