https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อันตรายมาก! เตือน...ไม่ล้างแอร์นาน เสี่ยงเกิดโรคปอดอักเสบ MUSLIMTHAIPOST

 

อันตรายมาก! เตือน...ไม่ล้างแอร์นาน เสี่ยงเกิดโรคปอดอักเสบ


923 ผู้ชม

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยแอร์มีความชื้น ทั้งตัวแอร์และท่อของแอร์ที่ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อโรค แนะควรล้างแอร์เป็นประจำ เพราะหากได้รับเชื้อสะสมเป็นเวลานานอาจเสี่ยงเกิดโรคปอดอักเสบ


อันตรายมาก! เตือน...ไม่ล้างแอร์นาน เสี่ยงเกิดโรคปอดอักเสบ

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยแอร์มีความชื้น ทั้งตัวแอร์และท่อของแอร์ที่ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อโรค แนะควรล้างแอร์เป็นประจำ เพราะหากได้รับเชื้อสะสมเป็นเวลานานอาจเสี่ยงเกิดโรคปอดอักเสบ

นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ในช่วงหน้าร้อน หลายคนต้องเปิดแอร์เพื่อคลายความร้อนในเวลากลางวันและกลางคืน อาทิ ที่ทำงาน ที่บ้าน โรงแรม ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ซึ่งอาจแฝงไปด้วยภัยร้าย เพราะในแอร์มีความชื้นทั้งตัวแอร์และท่อของแอร์ที่ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสหรือเชื้อรา โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียลิจิโอเนลลานิวโมฟิวลา ซึ่งหากหายใจเอาฝอยละอองน้ำที่มีเชื้อนี้ปนเปื้อนเข้าไปจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ โดยลักษณะอาการมี 2แบบคือ แบบปอดอักเสบรุนแรง มีไข้สูง ไอ หนาวสั่น เรียกว่าโรคลิเจียนแนร์ และแบบที่มีลักษณะคล้ายไข้หวัดใหญ่ เรียกไข้ปอน ตีแอกหรือปอนเตียก
นายแพทย์วชิระ กล่าวต่อว่า แอร์แบบระบบรวม ควรเปิดน้ำทิ้งจากหอหล่อเย็นให้แห้งเมื่อไม่ได้ใช้  ทำความสะอาดขัดถูคราบไคลตะกอน เติมน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อฆ่าเชื้อรา และทำความสะอาดหอหล่อเย็นอย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อเดือน ไม่ให้มีตะไคร่เกาะ ทำลายเชื้อโดยใส่คลอรีนให้มีความเข้มข้น 10 ppm  (10 ส่วนในล้านส่วน) เข้าท่อที่ไปหอผึ่งเย็นให้ทั่วถึงทั้งระบบไม่น้อยกว่า 3-6 ชั่วโมง หลังจากนั้นรักษาระดับคลอรีนให้ความเข้มข้นไม่น้อยกว่า 0.2 ppm (0.2 ส่วนในล้านส่วน) และแอร์ในห้องพักต้องทำความสะอาด ถาดรองน้ำที่หยดจากท่อคอยส์เย็นทุก 1-2 สัปดาห์ ไม่ให้มีตะไคร่เกาะหรือใส่น้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคน

ตามมาตรฐานประกาศกรมอนามัย เรื่อง ข้อปฏิบัติการควบคุมเชื้อลิจิโอเนลลาในหอผึ่งของอาคารในประเทศไทย และสำหรับแอร์ที่ใช้ตามบ้านเรือนเมื่อเปิดแอร์ควรสังเกตว่าอากาศที่ออกมาจากแอร์มีกลิ่นเหม็นหรือมีกลิ่นอับหรือไม่ หากมีกลิ่น ในเบื้องต้นควรล้างทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศที่อยู่ในแอร์ด้วยน้ำสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หากล้างทำความสะอาดแล้วกลิ่นไม่หาย ควรเรียกช่างเพื่อทำความสะอาดแบบเต็มระบบ
“ทั้งนี้ การล้างทำความสะอาดแอร์ควรทำเป็นประจำ โดยดูตามความเหมาะสมจากสภาพแวดล้อมและการใช้งาน หากเป็นแผ่นกรองอากาศควรล้างด้วยน้ำสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคแล้วใช้น้ำฉีดแรงๆ ที่ด้านหลัง ด้านที่ไม่ได้รับฝุ่นให้ฝุ่นและสิ่งสกปรกหลุดออกอย่างน้อยเดือนละครั้ง และควรล้างแอร์แบบเต็มระบบอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้งเช่นเดียวกัน แต่หากใช้เป็นประจำทุกวัน ควรล้างทำความสะอาดประมาณ 6เดือนต่อครั้ง เพราะนอกจากจะช่วยลดเชื้อโรคที่อาจสะสมอยู่ในแอร์แล้ว ยังช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้อีกด้วย” อธิบดีกรมอนามัย กล่าวในที่สุด
      
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : thaihealth.or.th โดย gidanan ganghair, เว็บไซต์สาธารณะสุข

อัพเดทล่าสุด