https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ภาษาไทยน่ารู้ : ชักแม่น้ำทั้งห้า คืออะไร ความหมาย ที่มา แบบละเอียด MUSLIMTHAIPOST

 

ภาษาไทยน่ารู้ : ชักแม่น้ำทั้งห้า คืออะไร ความหมาย ที่มา แบบละเอียด


978 ผู้ชม

ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับชูชกในมุมที่น่ามองอีก ดังตอนที่ ก่อนที่จะเอ่ยปากของสองกุมารจากพระเวสสันดร  ชูชกได้ใช้วิธี   “ชักแม่น้ำทั้งห้า”  ซึ่งเป็นสำนวน ที่มีความหมายว่า   “การพูดหว่านล้อมให้ผู้ฟังเกิดความพึงพอใจแล้วจึงบอกหรือขอในสิ่งที่ตนต้อง การ”


ชักแม่น้ำทั้งห้า

ชักแม่น้ำทั้งห้า
          ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับชูชกในมุมที่น่ามองอีก ดังตอนที่ ก่อนที่จะเอ่ยปากของสองกุมารจากพระเวสสันดร  ชูชกได้ใช้วิธี   “ชักแม่น้ำทั้งห้า”  ซึ่งเป็นสำนวน ที่มีความหมายว่า   “การพูดหว่านล้อมให้ผู้ฟังเกิดความพึงพอใจแล้วจึงบอกหรือขอในสิ่งที่ตนต้อง การ”   วิธีการของชูชกคือกล่าวถึงคุณประโยชน์ของแม่น้ำทั้ง ๕   สาย  ซึ่งได้แก่  คงคา ยมุนา สรภู อจิรวดี และ มหิ ที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายว่ามากมายมหาศาล เปรียบได้น้ำพระทัยของพระเวสสันดรที่มีพระเมตตาต่อวณิพกยาจกที่มาขอพระราช ทานสิ่งของเงินทองต่าง ๆ โดยไม่เลือกหน้า  เป็นกลวิธีอันชาญฉลาดที่แสดงให้เห็นถึงการรู้จักใช้จิตวิทยาในการพูดโน้ม น้าวให้ผู้ฟังเกิดความพึงพอใจแล้วจึงบอกหรือขอในสิ่งที่ตนต้องการ
          อินเดียเป็นประเทศที่มีแผ่นดินกว้างใหญ่ไพศาล ดินแดนทางเหนือเป็นเทือกเขาสูงมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศปากีสถานและประเทศ เนปาล มีเทือกเขาหิมาลัยซึ่งจัดเป็นระบบภูเขาที่สูงที่สุดในโลก  มียอดเขาที่สูงมากกว่า 7,600 เมตร จำนวนไม่น้อยกว่า 40 ยอด รวมทั้งยอดเขาเอเวอเรสต์ ที่สูงที่สุดในโลก ซึ่งอยู่ระหว่างประเทศ   เนปาลและธิเบตด้วย  อีกทั้งยังเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสำคัญของ เอเซียใต้ คือ แม่น้ำพรหมบุตร แม่น้ำสินธุ และ แม่น้ำคงคา 
          “คงคา”  ในภาษาไทยเราใช้ในความหมายถึง น้ำ หรือ แม่น้ำ ในภาษาไทยมีคำที่หมายถึง แม่น้ำ หรือ น้ำ หรือ สายน้ำหรือที่ที่ขังน้ำอยู่อีกมากมายหลายคำ   เช่น  นที  ห้วย  ลำธาร  ธารา  อุทก  วารี  ชล  ชลา  สายชล  สายธาร    หนอง   คลอง   บึง  บ่อ   ฯลฯ    สำหรับแม่น้ำคงคานั้นชาวฮินดูยังคงนับถือว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์จนถึง ทุกวันนี้  ชาวอินเดียที่นับถือศาสนาพราหมณ์ต้องลงไปอาบน้ำชำระบาปกันในแม่น้ำคงคาเป็น ประจำทุกปี
          การที่ชาวฮินดูถือว่าแม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เพราะเชื่อว่าคือพระแม่คงคาที่ลงมาจากสวรรค์ และผู้ที่ทำให้พระแม่คงคายอมลงมาจากสวรรค์ ก็คือพระศิวเจ้า  พระแม่คงคาจึงถือว่าเป็นพระชายาองค์หนึ่งของพระศิวะ พระศิวะจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  “คงคาธร” (ทรงไว้ซึ่งแม่น้ำคงคา)  หรือ  “คงคาสิริ”  (สามีพระคงคา) 
          ในวรรณคดีเรื่องเวสสันดรขาดก กัณฑ์กุมาร  มีข้อความว่า “อันว่าแม่น้ำทั้งห้าห้วงกระแสสายชลชลา  ไหลมาจากห้วงคงคาเป็นห้าแถว  นองไปด้วยน้ำแนวเต็มติรติรานามชื่อว่า  คงคา  ยมุนา  อจิรวดี  สรภูนที  มหิมหาสาคเรศ  จึ่งแตกเป็นนิเทศกุนทีน้อย ๆ  ประมาณห้าร้อยโดยสังขยา…” คำว่า “ห้วงคงคา”  ในที่นี้ บางทีเรียก  “อากาศคงคา”  หรือ  “คงคาสวรรค์”  ทำไมพระแม่คงคาจึงลงมาอยู่ในโลกมนุษย์ และชาวฮินดูนับถือว่าเป็นแม่น้ำที่ศักดิ์สิทธิ์สามารถล้างบาปได้นั้น มีมูลเหตุเล่ากันมาว่า 
          มีพระราชาองค์หนึ่งทรงพระนามว่า สัคระ  มีมเหสี 2 องค์  มีนามว่า “เกศินี”  และ  “สุมดี” (หรือสุมติ)   นางสุมดีมีโอรสหกหมื่นองค์   ส่วนนางเกศินีมีโอรสองค์เดียวชื่อ อัสมัญซัส ซึ่งต่อมาประพฤติเหลวไหล จึงถูกขับไล่ไปอยู่ในป่า ท้าวสัคระต้องการจะแผ่พระเกียรติยศให้ปรากฏไปทั่วชมพูทวีป จึงทำพิธีอัศวเมธปล่อยม้าอุปการ   มีโอรสทั้งหกหมื่นควบคุมติดตามม้านั้นไป กษัตริย์เมืองใดอ่อนน้อมต้อนรับม้านั้นโดยดี ถือว่ายอมสวามิภักดิ์    กองทัพของท้าวสัคระติดตามม้าอุปการเป็นเวลาหลายปี  ได้ดินแดนต่าง ๆ เป็นเมืองขึ้นเป็นอันมาก
          อยู่มาวันหนึ่งม้าอุปการหายไป  โอรสทั้งหกหมื่นขุดแผ่นดินชมพูทวีปลงไป พบม้าอุปการอยู่กับกบิลฤๅษี จึงกล่าวหาว่ากบิลฤษีขโมยม้ามา  กบิลฤาษีโกรธมาก สังหารโอรสทั้งหกหมื่นด้วยสายเนตรอันเป็นเพลิงกรด ต่อมาอังสุมัตผู้เป็นโอรสของอัสมัญซัสได้พยายามอ้อนวอนขออภัยโทษแทนดวง วิญญาณของเจ้าชายทั้งหกหมื่นและขอให้ช่วยให้ได้ไปสวรรค์ กบิลฤาษีแนะว่ามีทางเดียวที่จะทำได้คือต้องเชิญพระแม่คงคาลงมาจากสวรรค์ เพื่อชำระล้างกองอิฐและอังคารจึงบริสุทธิ์และขึ้นสวรรค์ได้
          ท้าวสัคระจึงเวนราชสมบัติให้พระนัดดาครอบครองแล้ว พระองค์ก็ทรงออกผนวชเป็นโยคีอยู่ในป่า บำเพ็ญพรตภาวนาอ้อนวอนพระคงคาให้ลงมาสู่โลกมนุษย์   กระทำความเพียรจนสิ้นอายุขัยก็ไม่สำเร็จ   ท้าวอังสุมัต กระทำความเพียรต่อมาก็ไม่สำเร็จ    จนถึงท้าวภคีรถ การอัญเชิญจึงเป็นผลเพราะพระศิวะทรงช่วยบังคับ พระคงคามีความพิโรธที่ต้องจากแดนสวรรค์จึงกระโจนลงมาด้วยกำลังแรง พระศิวะทรงเกรงว่าแผ่นดินโลกจะแตกทำลายเพราะแรงโกรธของเทวี  จึงเอาพระพักตร์รับกระแสน้ำอันแรงกล้านั้นไว้ บังคับกระแสน้ำนั้นวนอยู่ที่พระขนงจนอ่อนแรง แล้วจึงปล่อยลงสู่พื้นดินเป็นทางน้ำ 5 สาย   ไหลตามรอยล้อรถของพระเจ้าภคีรถไป แม่คงคาไหลผ่าน   ภูเขาอันสลับซับซ้อนลงสู่แอ่งใหญ่ ก่อนจะถึงที่ราบต่ำ แอ่งใหญ่นั้นเรียก “คงคาทวาร หรือ หวาร”   แล้วไหลผ่านที่ราบ ตัดเข้าสู่บริเวณพิธีของฤาษีชื่อ ชันหุ   ทำลายพิธีของฤาษีอย่างย่อยยับ   พระฤาษีโกรธมากจึงอ้าปากกลืนกระแสน้ำนั้นไว้ทั้งหมด เมื่อความโกรธบรรเทาลงจึงปล่อยน้ำไหลออกมาจากหูทั้งสอง (พระแม่คงคาจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ชานหวี”  แปลว่าลูกสาวของ ฤาษีชันหุ  และ   ชื่อ “ภาคีรถ”  แปลว่าลูกสาวของท้าวภคีรถ    ส่วนพระศิวะเจ้าได้นามว่า “คงคาธร”  แปลว่า “ผู้ทรงไว้ซึ่งแม่น้ำคงคา”  กระแสน้ำที่ไหลออกมาจากหูทั้งสองของฤาษีชันหุ  แยกออกเป็น ๒ สาย คือ คงคา กับ ยมุนา  เมื่อไหลผ่านมาถึงหลุมอันกว้างใหญ่ซึ่งเป็นแหล่งกองอัฐิของเจ้าชายทั้งหก หมื่น  แม่คงคาก็ท่วมท้นหลุมนั้นจนกลายเป็นอ่าวอันกว้างใหญ่ต่อเนื่องกับมหาสมุทร อินเดีย เรียกว่า “คงคาสาคร” หรือ ”มหาสาคร” (ปัจจุบันคืออ่าวเบงกอล)
เมื่อแม่คงคาได้ชำระบาปให้แล้ว  โอรสทั้งหกหมื่นของท้าวสัคระก็มีวิญญาณบริสุทธิ์ได้ไปสู่สวรรค์    ชาวชมพูทวีปก็พลอยได้รับประโยชน์จากแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์นี้เช่นเดียวกับเจ้า ชายทั้งหกหมื่นทุกประการ   ชาวฮินดูจึงเชื่อถือกันในความศักดิ์สิทธิ์ของแม่น้ำคงคาสืบกันต่อมา
          เนื่องจากพระเจ้าสัคระเป็นกษัตริย์องค์แรกที่คิดอัญเชิญพระแม่คงคาลงมาสู่ โลกมนุษย์จึงได้รับยกย่องจากคนทั้งหลายโดยให้พระนามของพระองค์เป็นชื่อของ แม่น้ำ ธารน้ำทุกสายในโลก คือคำว่า “สาคร”   และเพราะพระแม่คงคาเป็นแม่น้ำที่อยู่ในสรวงสวรรค์อันอาจแลเห็นเป็นทางสีขาว พรายระยิบระยับในคืนเดือนมืด คนทั้งหลายจึง เรียกทางสีขาวนั้นว่า  “อากาศคงคา”  (ศักดิ์ศรี  แย้มนัดดา :135 - 138)
          ความเชื่อถือเกี่ยวกับพระแม่คงคาของชาวฮินดู  ถ้าจะพิจารณาให้ลึกซึ้ง ก็จะได้แง่คิดที่เป็นประโยชน์  การที่ชาวอินเดียให้ความสำคัญกับแม่น้ำโดยการผูกเรื่องให้พระแม่คงคาเป็นพ ระธิดาของท้าวหิมวัต หรือหิมพานต์ (เจ้าแห่งขุนเขาหิมาลัย)นั้น  เป็นการผูกเรื่องที่ถือว่าสมเหตุผล  เพราะป่าหิมพานต์อยู่บริเวณเชิงเขาหิมาลัย  ซึ่งก็คือป่าใหญ่ของชาวอินเดียที่มียอดเขาที่สูงที่สุดในโลกตั้งอยู่ ภูเขาหิมาลัยจึงเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำอันเป็นประดุจสายเลือดของชาวอินเดีย คือแม่น้ำคงคา  เนื่องจากเป็นภูเขาสูงชาวฮินดูจึงถือว่าเป็นสวรรค์  เป็นที่สิงสถิตของเทพยดา 
          ความหมายของคำว่า “คงคา”  มาจากคำว่า  “คงฺค”   แปลว่า  “ผู้ไปอย่างเร็ว”   เพราะเหตุว่าต้นน้ำนี้ไหลมาจากภูเขาน้ำจึงไหลแรงมาก  ในแต่ละปีแม่น้ำคงคาได้ไหลท่วมฝั่ง ท่วมบ้านเรือน  ทำให้ผู้คนได้รับความเดือดร้อนเสียหายล้มตายไปปีละมาก ๆ  ตามเรื่องที่ผูกไว้ว่าไหลลงมายังโลกมนุษย์ด้วยความโกรธจึงเป็นการผูกเรื่อง ที่อาจจะเตือนให้พึงระมัดระวังว่าแม้แม่น้ำจะ   “ให้คุณอย่างอนันต์”   เพราะเปรียบเสมือนเส้นเลือดหล่อเลี้ยงชีวิตของชาวอินเดียทั้งหลาย    โดยเฉพาะความสำคัญทางด้านการเกษตร  แม่น้ำจึงเป็นสิ่งที่ควรเคารพบูชา  แต่ในขณะเดียวกันก็   “ให้โทษอย่างมหันต์”  ได้เช่นกัน  
          ความเชื่อดังกล่าวถ้ามองเพียงผิวเผินอาจจะเห็นเป็นเรื่องที่งมงาย แต่ถ้าได้ใคร่ครวญก็จะเห็นภูมิปัญญาในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของคนโบราณ ว่ามีความลึกซึ้งเพียงไร  ส่วนเรื่องที่โอรสทั้งหกหมื่นติดตามม้าอุปการไปตามเมืองต่าง ๆ นั้น  จัดเป็นลัทธิการล่าอาณานิคมหรือล่าเมืองขึ้นนั่นเอง  หากพระฤๅษีจับม้าอุปการไว้จริง นั่นคือ พระฤาษีเป็นสัญลักษณ์ของ   “ความรักสันติภาพ”    ต้องการสกัดสงครามไม่ให้ลุกลามต่อไปจึงไม่เห็นด้วย  แต่พระโอรสทั้งหมดขัดเคืองถึงกับยกขบวนไปประท้วงถึงหกหมื่นองค์  มากมายเกินกว่า “ม็อบบางม็อบ”  ที่ชาวบ้านก่อขึ้นในบางครั้งหลายเท่า    นับเป็นการสร้างกระแสกดดันพระฤๅษีอย่าง หนักหน่วง 
          แต่ถ้า “ม็อบ” นั้นมาจากกระแสที่ขาดเหตุผล จะล้มล้าง “ความถูกต้อง”  ไม่ได้โดยเด็ดขาด   บทสรุปก็คือ  พระฤๅษีใช้  “พลังแห่งความถูกต้อง”   เผาผลาญพระโอรสทั้งหกหมื่นให้มอดไหม้เป็นจุลไป    “ความไม่ถูกต้อง” จึงต้องพ่ายแพ้  “ความถูกต้อง”  
          ผู้ที่ไปใช้สำนวน “ชักแม่น้ำทั้งห้า”  กับผู้อื่นในปัจจุบันอาจจะได้ผลเปลี่ยนไปจากที่ชูชกใช้   คือถ้าคนฟังเกิดไม่มีเวลาฟังก็มักแสดงอาการรำคาญมากกว่าจะพึงพอใจ  ผู้ใช้จึงควรต้องใช้วิจารณญาณ ในการนำไปใช้ให้เหมาะสมกับกาลเทศะ  เพื่อให้เกิดประสิทธิผลตามต้องการ 
ครูแก้ว : เขียน

อัพเดทล่าสุด