ภาษาน่ารู้ : ภาษามลายูพื้นเมือง เนาะ แกแจะ นายู วะ แบะ นอ อยากจะพูดทำอย่างไรดี MUSLIMTHAIPOST

 

ภาษาน่ารู้ : ภาษามลายูพื้นเมือง เนาะ แกแจะ นายู วะ แบะ นอ อยากจะพูดทำอย่างไรดี


1,347 ผู้ชม

เนาะ แกแจะ นายู วะ แบะ นอ  อยากจะพูดทำอย่างไรดี


เนาะ แกแจะ นายู วะ แบะ นอ  อยากจะพูดทำอย่างไรดี

ภาษา มลายูพื้นเมืองในจังหวัดชายแดนภาคใต้   เป็นภาษาหนึ่งของท้องถิ่นที่มีใช้ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา และบางอำเภอของจังหวัดสงขลา ปัจจุบันนี้กระทรวงศึกษาธิการของไทยเรามีนโยบาย กำลังจะนำหลักสูตร ภาษาท้องถิ่น(มะลายู) มาใช้ในโรงเรียนในจังหวัดดังกล่าวด้วย ต่อไปก็คงขยายผลไปถึงจังหวัดต่างๆของไทย ดังเช่นภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นที่นำมาเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนระดับช่วงชั้น ต่างๆมาแล้ว บล็อกนี้จึงขอทำเป็นการล่วงหน้านิดหนึ่ง พอหอมปากหอมคอเกี่ยวกับภาษามะลายู

ลักษณะภาษามะลายูพื้นเมือง

เป็นภาษาพูดโดยเฉพาะ ซึ่งไม่ค่อยตรงตามภาษาเขียนหรือภาษาหนังสือ เช่น “ฆี กานอ” (ไปไหน) มาจากภาษาเขียนว่า “ เปอรฺฆีเกอมานา” เป็นต้น คำที่มีหลายพยางค์มักจะย่อให้สั้นลง เช่น มะ (ชื่อคนผู้ชาย คำเต็มว่า มุหัมมัด) ฆี (คำกิริยา เขียนเต็มว่า เปอรฺฆี) เป็นต้น ประโยคของภาษามลายูพื้นเมืองจะเรียงเป็น คำๆ เช่นเดียวกับภาษาไทย เช่น  “แดมอ นามอ อาปอ “ แปลว่า “คุณ ชื่อ อะไร” “อาเดะ เนาะ ฆี กานอ”

แปลว่า “น้องจะไปไหน”(ที่ไหน) “อาเดะ เนาะ ฆี ยาแล “ (น้องจะไปเที่ยว) เป็นต้น มีถิ่นที่ใช้มากที่สุดในนราธิวาส ปัตตานี และยะลา ภาษาถิ่นของบ้านเรานี้สามารถสื่อสารได้ดีกับภาษาของรัฐกลันตันของมาเลเซีย ต่างกันก็แค่สำเนียงนิดหน่อย เช่น แดมอ โดะ วะอาปอ(ถิ่นปัตตานี) กับ แดมอ โดะ วะ ฆาปอ(ถิ่นกลันตัน) ประโยคทั้งสองนี้แปลว่า ท่านหรือคุณกำลังทำอะไร  คำท้องถิ่น จะออกเสียงเป็นสระแอ และสระ ออ มากที่สุด ทั้งนีเฉพาะคำที่ลงท้ายด้วยเสียง – งั, - นั, - มั หรือ สระ อำ จะออกเสียงเป็น แ-, เช่นมากัน เป็น มาแก(กิน) ญาลัน เป็น ญาแล(เดินทาง) กาลัม เป็น กาแล(ปากกา) มาซัม เป็น มาแซ(เปรี้ยว) ออรัง เป็น ออแร(คน) มีคำต่างๆในภาไทยเราที่ใช้กันจนติดปาก ผสมผสานจนแยกไม่ออกว่าเป็นภาษาของใคร (คำเหล่านี้ A.binmaha จะนำมาต่อยอดในไม่ช้านี้ เพราะเป็นเรื่องที่หลายๆคนยังไม่ทราบ และไม่เคยคิดมาก่อน ผู้เขียนจะลองวางให้เป็นระเบียบระบบดู แล้วจะเสนอด้วยบล็อก คิดว่า ท่านจะเกิดการเรียนรู้ และได้ความรู้สึกดีๆ เพิ่มขึ้นบ้าง ในฐานะที่ แม้กระทั้งภาษาก็ยังกลมกลืนกัน) เช่น กะมาแก (กรรมการ) โต๊ะกือมือแน (กำนัน) ปีเซะ (พิเศษ) ฆู (คู่) แบะ (แบบ) เป็นต้น มีคำที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับ เช่น ซอเล็ง(มาจากคำว่า “ซอลิม”  อามา มาจากคำว่า “อะมัล” เป็นต้น  มีคำที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอังกฤษ เช่น รอดิยู(วิทยุ มาจากคำว่า Radio) แบเตอรี (แบตเตอรี มาจากคำว่า Battery  ตายา(ล้อรถ มาจากคำว่าTyre) สกรูแดรบา(ไขควง มาจากคำว่า Screw - driver) เป็นต้น

ที่มา gotoknow.org

อัพเดทล่าสุด