https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ถาม-ตอบ วิทยาศาสตร์ ของหวานทำให้ฟันผุได้อย่างไร ? MUSLIMTHAIPOST

 

ถาม-ตอบ วิทยาศาสตร์ ของหวานทำให้ฟันผุได้อย่างไร ?


736 ผู้ชม


ของหวานทำให้ฟันผุได้อย่างไร ?

    น้ำตาลทำให้เกิดโรคฟันผุและโรคเหงือก  แต่ปริมาณยังสำคัญน้อยกว่าจำนวนครั้งที่รับประทานเข้า
ไป  ฉะนั้นการประนีประนอมระหว่างการตามใจตัวเองกับการป้องกันฟันผุก็คือ  พยายามลดการรับประทาน
ขนมหวานให้เหลือเพียงวันละครั้งเดียว


    น้ำตาลธรรมดาหรือซูโครส (sucrose) เป็นอาหารโปรดของ "แบคทีเรียที่ทำให้ฟันผุ" ซึ่งเราได้ยินเสมอ ๆ ในโฆษณายาสีฟันยี่ห้อต่าง ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ  เมื่อแบคทีเรียพบซูโครสในอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆจะสร้างสารเหนียวเรียกว่า เด็กซ์แทรน (dextrans) ซึ่งเกาะติดแน่นกับฟัน  แบคทีเรียนี้จะเติบโตและเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วจนมีขนาดใหญ่กลายเป็นแผ่นคราบบนตัวฟันหรือพลัก (plague) แบคทีเรียชนิดอื่นจะเข้าไปอาศัยอยู่ในพลัก  และเปลี่ยนน้ำตาลให้กลายเป็นกรด  กรดจะทำลายเคลือบฟันจนหมดสิ้น  ต่อจากนั้นก็จะทำ
ลายแคลเซียมภายในฟันและทำให้ฟันโบ๋เป็นโพรง


    แบคทีเรียที่ทำให้เกิดกรดนี้  จะเริ่มต้นทำงานเพียงไม่กี่วินาทีหลังจากการรับประทานน้ำตาลเข้าไปและเมื่อเกิดขึ้นครั้งหนึ่งแล้วการสร้างกรดก็มักจะดำเนินต่อไปอีกนาน  ดังนั้นฟันผุจึงมักเกิดขึ้นภายหลังจาก รับประทานขนมหวานเข้าไปนานแล้ว  นี่เป็นคำอธิบายว่า  ทำไมการรับประทานขนมหวานบ่อย ๆ ถึงทำให้ฟันผุ


    นอกจากพลักจะเป็นศัตรูสำคัญของฟันแล้ว  ยังทำอันตรายต่อเหงือกและกระดูกที่ยึดฟัน  เริ่มด้วยการสะสมพลักบนตัวฟันและรอบ ๆ แนวเหงือก  แบคทีเรียที่อยู่ในพลักจะทำให้เกิดสารเคมีที่ทำให้เกิดความระคายเคืองแก่เหงือกและทำให้เลือดออก  เมื่อเวลาผ่านไปแบคทีเรียที่อยู่ใกล้ส่วนนอกของฟันมากที่สุดจะตาย กลายเป็นหินปูนที่เกาะรอบตัวฟัน  ซึ่งจะถูกปกคลุมด้วยชั้นของพลัก  ที่มีแบคทีเรียที่มีชีวิตอยู่อีกทีหนึ่ง ต่อมา


เส้นใยที่เชื่อมต่อเหงือกกับฟันจะมีแบคทีเรียอาศัยอยู่เต็มไปหมด  ในที่สุดก็จะทำลายกระดูกฟันที่ยึดฟันทำให้ฟันโยก  ในภาวะนี้ฟันจะผุและติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย  อาการที่เห็นบ่อยที่สุดก็คือ  เหงือกบวมและเลือดออกง่าย


    พลักเป็นโรคที่ซ่อนตัวอยู่  เนื่องจากโปร่งใสและไม่มีสี  นอกจากกรณีที่เป็นชั้นหนามาก ๆ จึงมองเห็นเป็นแผ่นสีขาว ๆ เมื่อทันตแพทย์กำจัดพลักและหินปูนที่เกาะตามไรฟันออกหมดแล้ว  เราอาจป้องกันไม่ให้เกิดได้อีกโดยแปรงฟันเป็นประจำ  กล่าวคือกำจัดแผ่นคราบที่เกาะอยู่รอบนอกฟันทุกซี่อย่างน้อยที่สุดวันละหนึ่งครั้ง  ถ้าจะให้ดีควรเป็นเวลาก่อนเข้านอน  ทันตแพทย์แนะนำให้แปรงฟันให้ทั่วอย่างถูกวิธี  และใช้เส้นใยไนล่อนที่เรียกว่า เดนทอลฟลอสส์ (dental floss) หรือไหมขัดซอกฟันทำความสะอาดตามซอกฟัน  เท่านี้คุณก็จะยิ้ม
ได้อย่างสดใส

อัพเดทล่าสุด