https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
นักวิทยาศาสตร์ อังเดร์ มารี แอมแปร์ MUSLIMTHAIPOST

 

นักวิทยาศาสตร์ อังเดร์ มารี แอมแปร์


977 ผู้ชม


Andre Marie Ampere
อังเดร์ มารี แอมแปร์


นักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่ชอบคิดและชอบทดลองมาตั้งแต่เด็ก พอๆกับการเป็นครู การค้นพบของเขาทำให้เขาได้รับเกียรติ โดยนักวิทยาศาสตร์ในสมัยต่อมา ได้ใช้ชื่อของเขาคือ แอมแปร์ เป็นหน่วยของการวัดขนาดของกระแสไฟฟ้าที่ไหลบนตัวนำ อังเดร์ มารี แอมแปร์ เกิดเมื่อวันที่ 22 มกราคม ปีค.ศ.1775 ในฝรั่งเศส บิดามีอาชีพเป็นพ่อค้า แต่เมื่อทราบว่าลูกชายสนใจในทางคณิตศาสตร์ก็ให้การสนับสนุนโดยส่งเขาไปเรียนในโรงเรียนที่ดีที่สุดในเมือง หลังจากเรียนจบเขาก็ทำงานเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ เคมี และภาษาศาสตร์ ในโรงเรียนราษฎร์แห่งหนึ่งในเมืองลีออง และได้เป็นศาสตราจารย์ผู้ควบคุมการทดลองทางฟิสิกส์ ประจำวิทยาลัยในฝรั่งเศสในปีค.ศ.1824 ในระหว่างที่แอมแปร์ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์นัน้ เขาก็ได้ค้นพบจากการทดลองว่า กระอสไฟฟ้าไม่เพียงแต่จะทำให้เข็มแม่เหล็กบ่ายเบนเท่านั้น แม้แต่กระแสไฟฟ้าด้วยกันก็ยังมีปฏิกิริยาเกิดขึ้น โดยการที่เขาใช้ตัวนำคือเส้นลวดต่อกับแบตเตอรี่ แบบวอลตาอิค 2 เส้น และวางเส้นลวดทั้งสองให้ขนานกัน ปรากฏว่า เส้นลวดที่ทีกระแสไฟฟ้าไหลไปในทิศทางเดียวกันจะดึงดูดซึ่งกันและกัน แต่เมื่อกลับทิศทางกันเส้นลวดตัวนำก็จะผลักกัน แอมแปร์จึงสรุปเป็นกฎว่า “เส้นลวดที่มีกระแสไฟไหลผ่าน มีอำนาจเช่นเดียวกับแม่เหล็ก” จากผลการทดลองของเขา ทำให้นักวิทยาศาสตร์ในสมัยต่อมา นำชื่อของเขาคือ แอมแปร์ มาตั้งเป็นหน่วยของการวัดขนาดของกระแสไฟฟ้าที่ไหลบนตัวนำคือกระแสไฟฟ้า 1 แอมแปร์ หมายถึงกระแสไฟฟ้าที่สามารถแยกเงินบริสุทธิ์ออกจากสารละลายเกลือเงินไนเตรท 0.1 กรัม ที่อุณหภูมิ20o เซลเซียส ได้หนัก 0.001,118 กรัม ในเวลา 1 นาที

แอมแปร์ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1836 ที่เมืองมาร์เซลล์ เมื่อมีอายุ 61 ปี

อัพเดทล่าสุด