https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
หลักง่ายๆ สำหรับคนหางาน ค่ะ MUSLIMTHAIPOST

 

หลักง่ายๆ สำหรับคนหางาน ค่ะ


939 ผู้ชม


หลักง่ายๆ สำหรับคนหางาน ค่ะ




ก่อนสมัครงาน ควรจะรู้สิ่งต่อไปนี้
       1. ตัวบริษัท ต้องรู้ว่าบริษัทนั้นดำเนินธุรกิจประเภทใด เช่น อุตสาหกรรม บริการ หรือ ค้าขาย ผลผลิตของบริษัทนั้นคืออะไร เช่น เครื่องไฟฟ้า เครื่องนุ่งห่ม และที่ตั้งของบริษัท การเดินทางไปอย่างไร บริษัทมีสวัสดิการรถรับ-ส่งหรือไม่
      2. ตำแหน่งงาน
         - ลักษณะงาน ควรจะทราบว่าตำแหน่งที่ประกาศรับสมัคร มีเนื้องานอะไรบ้าง
         - เนื้องานย่อยเหล่านั้นต้องปฏิบัติอย่างไร
         - ตำแหน่งงานที่รับสมัครนี้ต้องปฏิบัติงานสัมพันธ์กับตำแหน่งใดบ้าง
      3. ค่าตอบแทน เช่น เงินเดือน ค่าคอมมิชชั่น เป็นต้น
ประโยชน์ที่ได้รับ
       1. ข้อมูลด้านตำแหน่งงาน จะทำให้คุณพิจารณาว่ามีคุณสมบัติตรงตามที่บริษัทนั้น ๆ ต้องการหรือไม่
      2. ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะงานหรือหน้าที่เป็นข้อมูลบอกว่างานนั้นต้องทำอะไร ทำอย่างไร เพื่อคุณจะได้พิจารณาว่าคุณถนัดหรือชอบลักษณะงานแบบนั้นหรือไม่ และยังเป็นข้อมูลให้คุณเตรียมตัวก่อนการสัมภาษณ์อีกด้วย
      3. ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งงาน เช่น ตำแหน่งงานนี้อยู่ตรงส่วนไหน โครงสร้างตำแหน่งของ บริษัท มีโอกาสก้าวหน้ามากน้อยเพียงใด เป็นข้อมูลช่วยบ่งชี้ถึงลักษณะหน้าที่งานได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
      4. ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับบริษัทที่สำคัญที่สุดก็คือ ที่ตั้งบริษัท เพราะบริษัทรับคุณเข้าทำงาน คุณจะเดินทางไปทำงานได้สะดวกและทันเวลาหรือไม่
       5. ประเภทธุรกิจหรือ ผลิตภัณฑ์ที่บริษัทดำเนินธุรกิจอยู่ควรเตรียมข้อมูลไว้เพื่อใช้ในการ สัมภาษณ์
แหล่งข้อมูลการสมัครงาน
      1. การติดต่อเป็นการส่วนตัว เช่นญาติ เพื่อน หรือ คนรู้จักมักคุ้น
       2. สำนักจัดหางานเอกชนควรตรวจสอบก่อนว่า สำนักจัดหางานนั้น ได้จดทะเบียนกับ กระทรวงแรงงาน หรือไม่ เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวง
       3. สถาบันการศึกษาต่าง ๆ จะมีบริษัทหรือหน่วยงานไปปิดประกาศรับสมัครงานไว้เสมอ
       4. กรมการจัดหางาน โดยการติดต่อโดยตรงที่สำนักจัดหางาน กรุงเทพ 1 - 10 , สำนักงานจัดหางานจังหวัด ของกรมการจัดหางาน
      5. ประกาศจากสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ ทีวี วิทยุ
      6. งานนัดพบแรงงาน ซึ่งนายจ้างกับลูกจ้างได้มีโอกาสพบกันและจ้างงานกันโดยตรง

      เพื่อให้คุณรู้รายละเอียดของงานได้มากขึ้น สิ่งที่ควรรู้คือ
       1. ชื่อตำแหน่ง เช่น เสมียน พนักงานพิมพ์ดีด ซึ่งเมื่อไปสมัครงานคุณจะต้องระบุตำแหน่งงาน ให้ถูกต้องด้วย
      2. รายละเอียดเกี่ยวกับงานต้องทราบว่าแต่ละตำแหน่งนั้น มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง อาจโทรศัพท์ สอบถามบริษัทที่โฆษณาโดยตรง
       3. คุณสมบัติที่ต้องการ ส่วนใหญ่จะหมายถึง เพศ อายุ คุณวุฒิ และประสบการณ์ แยกได้ดังนี้
            - คุณสมบัติทางการศึกษา
            - ประสบการณ์
            - คุณสมบัติส่วนตัว ได้แก่ อายุ เพศ ภาษา บุคลิก ความสามารถ
      4. ค่าจ้าง ในกรณีที่เขาให้ผู้สมัครระบุเงินเดือนที่ต้องการเองนั้นคุณจะระบุว่าคุณต้องการเงิน เดือนเท่าไร ตามใจคุณไม่ได้ ต้องคำนึงว่าตำแหน่งนั้น ต้องการวุฒิการศึกษาระดับใด ประสบการณ์มากน้อยเพียงใด และโดยทั่วไปในตลาดแรงงานตำแหน่งนี้เขาจ้างค่าจ้างกันเท่าใด
      5. วิธีการสมัครงานตามปกติ ในกรอบโฆษณาจะระบุไว้ว่าให้สมัครโดยวิธีการใด เช่น สมัคร โดยส่งใบสมัครไปทางไปรษณีย์ ต้องเขียนใบสมัครด้วยลายมือตนเอง หรือต้องไปสมัครด้วยตนเองที่บริษัทเท่านั้น ( ถ้าเป็นเช่นนี้ผู้สมัครก็ไม่ควรส่งจดหมายไปสมัครงาน แต่อาจโทรศัพท์ติดต่อสอบถามถึงสถานที่ตั้งบริษัทได้เพื่อความแน่นอนในการไป สมัครงาน )
รู้จักตนเองก่อนสมัครงาน
      1. ความสนใจ ผู้สมัครงานต้องรู้ให้แน่ว่าชอบหรือไม่ชอบงานลักษณะใดบ้าง ถ้าคุณชอบก็ หมายความว่าสนใจในงานนั้นด้วย
      2. ความสามารถ โดยประเมินจากประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมา และการทดสอบอย่างละเอียด
      3. บุคลิกส่วนตัว ว่ามีบุคลิกเหมาะสมกับงานอาชีพใดบ้าง
      4. ผลการศึกษาว่าอยู่ในระดับ ดี ปานกลาง หรือพอใช้
      5. การฝึกงานในขณะเรียน การฝึกงานอย่างเอาใจใส่สนใจ ซักถามเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับงานที่ฝึก ซึ่งจะมีผลต่อความสำเร็จในการหางานทำ
      6. ทักษะในการสื่อความ
      7. ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะความรู้ในด้านการใช้ PC คอมพิวเตอร์ การใช้ Software พื้นฐานต่าง ๆ เช่น Word Processing , Lotus , dBase
      8. วิชาเอกที่เรียน การเรียนวิชาเอกอย่างมีเป้าหมายจะช่วยให้ตัวของคุณพบกับความสำเร็จใน การมองหางานทำได้เป็นอย่างดี
      9. กิจกรรมนอกหลักสูตร แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์และความสามารถในการเผชิญหน้ากับผู้ที่เราทำงานร่วมด้วย
      10. ประสบการณ์ในการทำงานนอกเวลา จะแสดงให้เห็นถึงความที่จะรับผิดชอบในสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ทำงาน

หาความเป็นเลิศของตัวเอง
      ความเป็นเลิศของคุณอยู่ในตัวคุณเอง ซึ่งคุณสามารถจะหาได้จากความสามารถ ที่คุณเคยแสดงออก คำชมเชยที่คุณเคยได้รับ ความคิดอ่าน ความสนใจ ความมุ่งมั่นที่ เป็นลักษณะเฉพาะของคุณ เป็นเอกลักษณ์ของคุณ หลักที่คุณควรใช้วิเคราะห์ตนเอง 4 ประการ
      1. ตรวจสอบความสามารถและความชำนาญที่คุณมี แบ่งออกเป็น
         1.1 ความสามารถปกติ
         1.2 ความสามารถดีเด่น
         1.3 ความสนใจของคุณ
         1.4 นิสัยของคุณ
         1.5 ผลงานของคุณ
      เมื่อค้นพบความสามารถของคุณแล้วจะช่วยให้คุณรู้ว่าควรเลือกทำงานอะไรถึงจะเหมาะสม
และทำงานนั้นไปได้นาน ๆ และประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน

คุณสมบัติคุณเหมาะกับตำแหน่งใด
      ก่อนสมัครงานควรทราบก่อนว่าตำแหน่งงานที่จะสมัครนั้นต้องการบุคคลที่มีคุณวุฒิระดับใด มีประสบการณ์อย่างไรบ้าง และหน้าที่ในตำแหน่งนั้น จะต้องทำอะไรบ้าง แล้วก็เอาข้อมูลเหล่านี้มาเปรียบเทียบกับคุณสมบัติของตัวคุณเองโดยมีลำดับการพิจารณาดังนี้
      1. คุณวุฒิการศึกษา พิจารณาว่าวุฒิการศึกษาที่คุณจบจะสมัครทำงานในตำแหน่งใดได้บ้าง เว้นแต่เขาไม่กำหนดคุณวุฒิหรือสาขาวิชา เพราะโดยปกติถ้าเป็นตำแหน่งงานที่เป็นผู้ปฏิบัติงาน บริษัทต่าง ๆ มักจะถือเกณฑ์การคัดเลือกบุคคลที่มีคุณวุฒิตรงตามที่เขากำหนดก่อน
      2. ลักษณะงาน ถ้าคุณสนใจสมัครงานในตำแหน่งใดก็ตาม หากยังไม่ทราบลักษณะงาน คุณ ควรโทรศัพท์สอบถามให้แน่ชัดก่อน ถ้าไม่มีประสบการณ์ในการทำงานในตำแหน่งหน้าที่นั้น ก็ควรจะสอบถามลักษณะงานของตำแหน่งที่รับคุณวุฒิที่คุณจบมา
      ข้อสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ควรสมัครงานในตำแหน่งที่มีความรู้ ความสามารถที่จะ ทำงานได้สำเร็จ มีความถนัดและชอบลักษณะงานนั้น ซึ่งจะทำให้ประสบความสำเร็จในงาน
      3. ข้อมูลบริษัทที่จะสมัครงานควรเลือกบริษัทที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากที่พักอาศัยประจำมากนัก หรือเลือกบริษัทที่อยู่ในทำเลที่มีบ้านเช่า หรือห้องเช่าในราคาพอสมควร หรือเลือกบริษัทที่มี รถรับ-ส่งประจำวัน
      4. เงินเดือนค่าจ้างตอบแทน ถ้าสมัครงานเป็นครั้งแรก โอกาสที่จะได้ต่อรองอัตราเงินเดือน หรือค่าจ้างในระดับที่พอใจคงมีน้อย ดังนั้นหากมีโอกาสสอบถามบริษัทที่จะสมัครงาน ว่าให้เงินเดือนในตำแหน่งนั้นเท่าใดก็จะเป็นการดีเพื่อใช้เปรียบเทียบกับบริษัทอื่น ๆ
ความแตกต่างของจดหมายสมัครงาน ใบประวัติส่วนตัวและใบสมัครงาน
1. จดหมายสมัครงาน
      คือหนังสือหรือจดหมายที่ผู้ที่ต้องการจะทำงานเขียนนั้นต่อสถานประกอบการเพื่อแสดง ความจำนงว่าตนเองต้องการจะทำงานกับสถานประกอบการนั้นในตำแหน่งใด โดยปกติจดหมายสมัครงานจะไม่เขียนเป็นข้อความยืดยาวหรือไม่แสดงประวัติส่วนตัวมากนัก ดังนั้นจดหมายสมัครงานจะเป็นเพียงจดหมายที่แสดงว่าผู้ส่งมีความประสงค์อะไรเท่านั้น
2. ใบประวัติส่วนตัว
      คือหนังสือที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติของผู้สมัครงานโดยเน้นแต่ส่วนที่เกี่ยวข้องหรือ ข้อมูลที่เสนอให้รับสมัครหรือ ที่สถานประกอบการจะใช้พิจารณาเรียกตัวผู้สมัครงานนั้นไป สัมภาษณ์หรือเข้าทำงาน แต่จะไม่มีข้อมูลเฉพาะเจาะจงว่าผู้สมัครงานนั้นมีความสนใจในตำแหน่ง
งานใดของสถานประกอบการนั้น
3. ใบสมัครงาน
      คือ หนังสือแสดงความจำนงของผู้เขียนใบสมัครที่ประสงค์จะเข้าทำงานกับสถานประกอบการ นั้น ซึ่งสวนใหญ่แบบใบสมัครงานของสถานประกอบการแต่ละแห่งจะเป็นแบบเฉพาะของ สถานประกอบการนั้น ผู้สมัครจึงต้องไปเขียนใบสมัครที่สถานประกอบการที่ประสงค์จะสมัคร ด้วยตนเอง รายละเอียดในใบสมัครงานควรประกอบด้วยข้อมูลแสดงความจำนงของผู้สมัครงาน ว่าประสงค์จะสมัครงานในตำแหน่งใดและข้อมูลในส่วนที่เป็นประวัติส่วนตัวของผู้สมัคร ประกอบกันจึงจะสมบูรณ์
      ปัจจุบันมีผู้ที่สำเร็จการศึกษาเป็นจำนวนมากที่ยังไม่มีงานทำ และเมื่ออ่านพบในโฆษณาต่างๆ ว่ามีการรับสมัครงาน ก็จะรีบไปสมัครกันโดยไม่คำนึงว่าตัวเองมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่บริษัท เหล่านั้นต้องการหรือเปล่า เมื่อเขียนจดหมายสมัครงานไปแล้วก็ได้แต่รอการเรียกตัวไปสัมภาษณ์ โดยไม่รู้ว่าบริษัทเหล่านั้นได้คัดจดหมายที่มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามที่ต้องการลงตะกร้าเอกสาร
รอทำลายไปเรียบร้อยแล้ว ดังตัวอย่างต่อไปนี้
      “ปัจจุบันดิฉัน อายุ 24 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเมื่อเดือนเมษายน 2536 สาขาวิชารัฐศาสตร์ มีความสนใจที่จะสมัครงานในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบุคคล”
      “ปัจจุบัน กระผมอายุ 25 ปี ได้รับปริญญาตรี นิติศาสตร์ เมื่อปี 2536 เคยผ่านงานที่เกี่ยวกับ บุคคลบ้างเล็กน้อย ต้องการสมัครงานในตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบุคคล”
      ข้อความข้างต้นย่อมมาจากจดหมายสมัครงานซึ่งผู้พิจารณาคัดเลือกจดหมาย”คัดออก” อยู่ในตะกร้าเอกสารรอทำลาย ทำไมจดหมายคุณถึงเป็นหมัน
      ลองอ่านข้อความโฆษณารับสมัครงานของบริษัทที่ต้องการบุคลากรเข้าทำงานในตำแหน่ง ที่กล่าวมาแล้วนี้
      ตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบุคคล
      คุณสมบัติที่ต้องการ
      - อายุไม่ต่ำกว่า 30 ปี
      - จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ บริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาอื่น ที่ใกล้เคียง
      - มีประสบการณ์การเป็นหัวหน้างานด้านบริหารงานบุคคลไม่น้อยกว่า 5 ปี
      เมื่อพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครงานทั้งสองรายนี้ เปรียบเทียบกับ คุณสมบัติของตำแหน่งงานที่บริษัทนั้นต้องการ จะเห็นว่าผู้สมัครงานทั้งสองมีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของบริษัทเพียงประการเดียว คือ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเท่านั้น นอกนั้นไม่มีเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง อายุ หรือประสบการณ์ ที่บริษัทนั้นได้ระบุไว้
      ลองตั้งคำถามต่อไปว่า
      “ถ้าผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่ตรงตามตำแหน่งที่ต้องการก็น่าจะเก็บจดหมายไว้ พิจารณาในตำแหน่งงานอื่นที่เหมาะสมก็ได้ ทำไมต้องคัดจดหมายออกไปรอทำลาย”
      คำตอบที่ได้จากผู้พิจารณาคัดเลือกจดหมายก็คือ เขาตั้งข้อสังเกตไว้ดังนี้
      1. ผู้สมัครมิได้อ่านคำโฆษณาให้ครบถ้วนกระบวนความ
      2. ผู้สมัครมิได้พิจารณาถึงลักษณะงานในตำแหน่งที่ตนเองจะสมัคร
      3. ผู้สมัครไม่ได้ประมาณ หรือ รู้ถึงความรู้ความสามารถของตนเอง
      สรุป ก็คือ จากจดหมายฉบับดังกล่าว ผู้พิจารณาคัดเลือกจดหมายวิเคราะห์ว่า
      1. ผู้สมัครไม่ละเอียดรอบคอบ
      2. ผู้สมัครไม่รู้จัก ”ประมาณตนเอง” หรือไม่ก็ประเมินความสามารถของตนเองสูงเกินไป
      3. ผู้สมัครขาดจุดมุ่งหมาย เห็นประกาศรับสมัครมีตำแหน่งงานอะไรที่ตนสนใจ ก็เขียนจด หมายไปแบบเสี่ยงโชค
      คำว่า “ไม่ประมาณตนเอง” หรือ ไม่ก็ประเมินความสามารถของตนเองสูงเกินไป สิ่งเหล่านี้ คือ การไม่ “รู้เรา” เป็นลักษณะที่เป็นมาตั้งแต่วัยเด็ก วัยเรียน โดยเฉพาะในวัยเรียนจะเห็นได้ชัดเจน เช่น เราจบ ม.3 วิชาวิทยาศาสตร์ไม่เก่ง คณิตศาสตร์ ก็ เกือบตก ภาษาอังกฤษก็ไม่ดี แต่วางแผนไว้ว่าจะต้องเรียนต่อถึงระดับมหาวิทยาลัย และจะต้องเป็นมหาวิทยาลัยปิด

ที่มา: https://www.doe.go.th

อัพเดทล่าสุด