การจัดการความขัดแย้งในการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) MUSLIMTHAIPOST

 

การจัดการความขัดแย้งในการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.)


666 ผู้ชม


การจัดการความขัดแย้งในการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.)




การจัดการความขัดแย้งในการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.)

2544

สุรศักดิ์ จิรวัสตร์มงคล


บทคัดย่อ


การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์สําคัญ 3 ประการคือ 1. เพื่อศึกษาทัศนะต่อโครงสร้าง กระบวนการคัดเลือกและการกํากับดูแลคณะกรรมการสรรหากิจการกระจายเสียงและกิจการ โทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) 2. เพื่อศึกษาปัญหาความขัดแย้งของคณะกรรมการสรรหา กสช. 3 เพื่อศึกษาวิธีการจัดการความขัดแย้งในกระบวนการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหากิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ โดยศึกษาผู้ที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งของสมาคม วิชาชีพตาม จํานวน 15 คน โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) บุคคลเหล่านั้นใน ฐานะผู้ที่มีส่วนร่วมในการขัดแย้งระหว่างสมาคมวิชาชีพ จากนั้นทําการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น โดยหลักตรรกประกอบบริบท รวมทั้งใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษาพบว่าตัวแทนของสมาคมวิชาชีพมีทัศนะต่อโครงสร้างกระบวนการ คัดเลือกและกํากับดูแลคณะกรรมการสรรหากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) ว่าเหมาะสมไหมเป็นสิ่งจําเป็น แต่วิธีการสรรหาคณะกรรมการ กสช. และการกําหนดคุณสมบัติสามคมวิชาชีพยังไม่มีความเหมาะสมเพื่อทําหน้าที่ในการจัดสรรคลื่นความถี่ และกํากับดูแลคลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์และต้องเป็นองค์กรอิสระเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้มีการปฏิรูปสื่อ ด้านแนวคิดในกระบวนการคัดเลือกคณะกรรมการ กสช. ในการกําหนดคุณสมบัติและการคัดเลือกคณะกรรมการสมาคมวิชาชีพนั้นขาดการจัดการที่ดีทําให้เกิดปัญหาความขัดแย้งขึ้น นอกจากนี้ข้อกําหนดของกฎหมายซึ่งกําหนดคําว่า “สมาคมวิชาชีพ” นั้นยังไม่มีความชัดเจนมีช่องโหว่ และพบว่า การคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา กสช. นั้นมีกลุ่มนายทุนและกลุ่มผลประโยชน์เข้ามาปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มตนเองในการคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา กสช.
ส่วนปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้น สมาคมวิชาชีพด้านสื่อสิ่งพิมพ์และพันธมิตรมี ความเห็นแตกต่างกับสมาคมวิชาชีพด้านวิทยุและโทรทัศน์ ในเรื่องตัวแทนของสมาคมวิชาชีพ นอกจากนี้ประกาศของสํานักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่องคุณสมบัติเชิญชวนสมาคม วิชาชีพไม่รัดกุมมีช่องโหว่ทําให้มีกลุ่มนายทุน และกลุ่มผลประโยชน์อยู่เบื้องหลังในการ สนับสนุนให้คนของสมาคมวิชาชีพของตนเองเข้าไปเป็นคณะกรรมการสรรหา กสช.
สําหรับวิธีการจัดการความขัดแย้งของสมาคมวิชาชีพนั้นมีการวิธีการในหลายรูปแบบ เข้ามา เช่น การเจรจาประนีประนอม การตอบโต้ด้วยเอกสาร การชุมนุมกดดัน และการไม่ให้ ความร่วมมือ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของคู่กรณีที่ขัดแย้งกันว่ามีการใช้วิธีการที่ผสมผลานกัน ในการจัดการความขัดแย้งเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของตนเองและองค์การ
ข้อเสนอแนะที่สําคัญที่ได้จากการวิจัยคือ ควรมีการแก้ไขกฏหมายที่กําหนดคุณสมบัติ สมาคมวิชาชีพให้มีความชัดเจนและเปิดเผย กระบวนการและขั้นตอนของการสรรหาคณะกรรมการ กสช. ให้มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ นอกจากนี้การโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อเผนแพร่ข้อมูลข่าวสารในเรื่องนี้จําเป็นต้องมีการเผยแพร่อย่างทั่วถึง


Abstract


The three main objectives of the study are 1. To reveal the sample’s attitude toward the structure, the process and the oversight of the Selection Committee for the National Television and Broadcasting Affairs. 2. To identify the conflicts of the Selection Committee. 3. To find out the conflict management in the process of the committee selection.
The key-informants are 15 people involving in the conflicts of the professional association. In-depth interviews were used to collect the data from them. Then the basis data were logically analyzed, using the descriptive statistics, i.e., frequency, percentage and mean.
It was found that the representatives of the professional association considered that the structure, the process and the oversight of the Selection Committee for the National Television and Broadcasting Affairs were necessary to allocate the frequencies and to oversee the radio and television frequencies. However, the process of selecting the committee members and the qualifications specified by the professional association were not appropriate. There should be an autonomous organization to carry out such functions as stated in the Constitution, which aims to reform the media. With regard to the process of selecting the committee members, it was found that conflicts arose in determining the qualifications and selection procedures because of the poor management on the part of the professional association itself. Besides, the law did not clearly define the term a “professional association”. In addition, some capitalists and interest groups were found to interfere in the selection of the Selection Committee for the National Television and Broadcasting Affairs.
The Printed Media Association and its alliance had a different opinion on the arising conflicts from the Radio and Television Professionals Association, with regard to the representatives of the professional associations. Furthermore, the announcement of the Permanent Secretary Office of the Prime Ministry’s Office concerning the qualifications of professional associations was vague, causing the capitalist groups or the interest groups to use their influence to back up their own people to become the selection committee members.
Several methods were used to deal with the conflicts within the professional associations. These were, for example, negotiation, written debates, holding demonstrations and non-cooperation, depending on what integrated method was
employed to manage the conflicts to achieve their own objectives and their organizations.
Based on the findings, it is recommended that the law be reviewed by clearly defining the qualifications of the professional association. The process and all the steps to select the Selection Committee should be transparent and can be inspected. In addition, the related information should be widely publicized.

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

อัพเดทล่าสุด