https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การบริหารผลการปฏิบัติงาน บริษัท ทรีนิตี้ ไดนามิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด MUSLIMTHAIPOST

 

การบริหารผลการปฏิบัติงาน บริษัท ทรีนิตี้ ไดนามิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด


676 ผู้ชม


การบริหารผลการปฏิบัติงาน บริษัท ทรีนิตี้ ไดนามิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด




การบริหารผลการปฏิบัติงาน บริษัท ทรีนิตี้ ไดนามิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด

บุศรินทร์ พรหมสัจจา, อริศรา สรวิสูตร, ไศลวันต์ เลิศศิริสัมพันธ์


บทคัดย่อ


การศึกษา เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ศักยภาพในการทํางานของพนักงาน ภายใต้กรอบ แนวคิดการสร้างเสริมอํานาจ (Empowerment) กรณีศึกษา : บริษัทผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จํากัด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงระดับของการสร้างเสริมอํานาจ (Empowerment) และปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผล ต่ อการใช้ศักยภาพในการทํางานของพนักงาน ภายใต้กรอบแนวคิดการสร้างเสริมอํานาจ (Empowerment) และนําผลที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์หาแนวทางการดําเนินการสร้างเสริมอํานาจ (Empowerment) ให้แก่พนักงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในเชิงปฏิบัติ ตลอดจน การนําไปประยุตืใช้กับองค์การธุรกิจต่อไป เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่ ทํางานในบริษัทผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จํากัด จํานวนทั้งสิ้น 333 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงและความเที่ยงแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ (Correlation) และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ (1.) พนักงานบริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จํากัด มีระดับการสร้างเสริมอํานาจ (Empowerment) โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีการสร้างเสริมอํานาจ (Empowerment) ใน ระดับสูง 2 ด้าน ได้แก่ การได้รับข้อมูลข่าวสาร และการได้รับอิสระ มีระดับการใช้ศักยภาพใน การทํางานอยู่ในระดับสูง (2.) ปัจจัยในการสร้างเสริมอํานาจ (Empowerment) ทั้ง 7 ด้าน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ การใช้ศักยภาพในการทํางานของพนักงาน เรียงตามลําดับความสัมพันธ์จากมากไปหาน้อยได้ ดังต่อไปนี้ คือ การได้รับอิสระ การได้รับความไว้วางใจ การได้รับข้อมูลข่าวสาร การได้รับยกย่อง และนับถือ การได้รับโอกาส กาดรได้รับการสนับสนุนด้านทรัพยากร และการได้รับอํานาจ (3.) ผลจากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พยว่า ปัจจัยด้านการได้รับอิสระ การได้รับความ ไว้วางใจ การได้รับอํานาจ และการได้รับความเคารพและนับถือ เป็นปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อการใช้ ศักยภาพในการทํางานของพนักงาน โดยเมื่อใช้ปัจจัยต่าง ๆ ร่วมกันแล้วมีอิทธิต่อการใช้ศักยภาพใน การทํางาน ร้อยละ 38.5 (4.) เพื่อให้การสร้างเสริมอํานาจ (Empowerment) ให้แก่พนักงานของบริษัท ผลิตภัณฑ์และ วัตถุก่อสร้าง จํากัด เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล พนักงานสามารถดึงเอาศักยภาพ และความสามารถที่มีอยู่ออกมาใช้ในการทํางานได้อย่างเต็มที่นี้น บริษัทฯ ควรดําเนินการในเรื่อง ต่าง ๆ ดังนี้ คือ ผู้บังคับบัญชาควรพัฒนาระดับความรู้และความสามารถของพนักงานให้สามารถ ทํางานในหน้าที่พนักงานรับผิดชอบได้อย่างเป็นอย่างดี เมื่อมั่นใจได้ว่าพนักงานสามารถทํางานใน หน้าที่ที่รับผิดชอบได้แล้ว ผู้บังคับบัญชาควรให้ความไว้วางใจแก่พนักงานในการทํางาน โดยไม่ จําเป็นต้องเข้าไปตรวจสอบในทุกขั้นตอนการทํางาน และมอบหมายงานที่ท้าทายมากขึ้นให้แก่พนักงาน ในขณะเดียวกันเมื่อมอบหมายความรับผิดชอบให้แก่พนักงานแล้ว ผู้บังคับบัญชาควรให้อิสระในการคิด และตัดสินในแก้ไขปัญหาในงานแก่พนักงาน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานได้ใช้ความรู้ ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ โดยมีผู้บังคับบัญชาทําหน้าที่เป็นผู้สอนแนะ (Coach) และ ผู้อํานวยการความสะดวกในการปฏิบัติงาน (Facilitator) นอกจากนี้ เพื่อให้การใช้ศักยภาพของ พนักงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จําเป็นที่ผู้บังคับบัญชาต้องให้การสนับสนุนทรัพยากรที่ จําเป็นต่อการทํางานให้แก่พนักงานด้วย


อัพเดทล่าสุด