https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ยกมาตรฐาน HR ไทย เทียบชั้นระดับโลก MUSLIMTHAIPOST

 

ยกมาตรฐาน HR ไทย เทียบชั้นระดับโลก


613 ผู้ชม


ยกมาตรฐาน HR ไทย เทียบชั้นระดับโลก




ยกมาตรฐาน HR ไทย เทียบชั้นระดับโลก

 

ยกมาตรฐาน HR ไทย เทียบชั้นระดับโลก
ยกมาตรฐาน HR ไทย เทียบชั้นระดับโลก

       * ผู้รู้แนะ HR เร่งปรับตัวก่อนสาย
       
        *ศศินทร์จับมือพันธมิตร สอน-สอบ มาตรฐานความรู้โลก
       
        *เผย 6 เกณฑ์ผลิตบุคคลากรลุยตลาดต่างแดน
       
        *กิตติรัตน์ ณ ระนอง ประเมิน 2 ปี นักทรัพยากรมนุษย์ไทยเทียบชั้นอินเตอร์

       
        Global Person in Human Resource (GPHR) หรือ ใบรับรองมาตรฐานความรู้ HR ระดับโลก ที่เพิ่งเริ่มดำเนินการใช้มากว่า 3 ปีแล้วนั้น แต่พบว่ามีเพียง 15,000 คนจากทั่วโลกที่ฝ่าด้านอรหันต์ไปได้ แต่สำหรับคนไทยแล้วยังไม่มีผู้ใดที่สอบได้
       
        ทั้งนี้ทำให้ สถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์ SHRM และ Kelly Service เปิดตัวโครงการจัดฝึกอบรมและสอบรับรองมาตรฐานเป็นครั้งแรกใน
       
       
วางหมากคน HR
       ตะลุยตลาดโลก
       
        กิตติรัตน์ ณ ระนอง
รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้บริหารไม่น้อยที่ขาดความเข้าใจการจัดการทรัพยากรบุคคลซึ่งการร่วมมือกันระหว่าง ศศินทร์ฯ SHRM และ KELLY ในการจัดอบรมและรับรองมาตรฐาน หรือ Global Person in Human Resource: GPHR จะเป็นการยกระดับความสามารถบุคคลากรไทยเพื่อให้ผู้ที่สอบผ่านมีหลักฐานแสดงตน
       
        ซึ่งจะอยู่ในหลักสูตรปริญญาโท สาขาการบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยให้นักศึกษาได้รับความรู้ในระดับสากล เพื่อสร้างการแข่งขันในด้านการบริหารธุรกิจ ขณะเดียวกันอยู่ที่ความสมัครใจของนักศึกษาในการสอบเพื่อให้ได้ ใบรับรอง ขณะเดียวกันอีกกลุ่มจะเป็นผู้บริหารที่มีประสบการณ์เรียนในหลักสูตรระยะสั้นเพื่อนำความรู้ที่ได้ไปสอบใบรับรอง
       
        สำหรับหลักสูตรนี้จะเปิดในปีการศึกษาหน้า โดยจะใช้เวลาเรียน 24 ชั่วโมง ใช้เวลา 8 วันละ 3 ชั่วโมง หรือ 3 วันละ 8 ชั่วโมง ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา
       
        ซึ่งช่วงเริ่มต้นผู้เรียนที่เป็นบุคลากรที่มีประสบการณ์จะสามารถสอบผ่านได้ใบประกาศมากกว่านักศึกษาในระดับปริญญาโท โดยคาดว่า 2 ปีจะมีผู้สอบผ่านไม่ถึง 10 คน ซึ่งอาจต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 4 ปีถึงมีจะมีผู้สอบนับ 100 คนขึ้นไป
       
        Nana Woodard ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท Strategic Human Resource จำกัด ประจำอินเดีย องค์กรที่ปรึกษาด้าน HR ระดับโลก เล่าถึงสถานการณ์ที่เป็นปัจจัยให้เกิดมาตรฐานความรู้ HR ขึ้นว่า เนื่องจากสิ่งที่เป็นปัญหาในการจัดการทรัพยากรบุคคลทั่วโลกมีการแย่งชิง Talent โดยเฉพาะในเอเชียมีแนวโน้มที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นการจะรักษาบุคลากรผู้มีความสามารถได้ ผู้บริหารในทุกระดับต้องมีความเข้าใจในการจัดการทรัพยากรบุคคล
       
        และแนวโน้มในอนาคตคาดว่า ผู้ที่ประกอบอาชีพอื่นๆ ที่ไม่ใช่ HR จะเข้ามาเรียนรู้สิ่งเหล่านี้มากขึ้นเพราะโลกในอนาคตต้องการบุคคลากรมีความรู้ที่หลากหลายซึ่งไม่จำเป็นต้องจบด้านนี้มาโดยตรงแต่ต้องมีความเข้าใจในกระบวนความคิดของคนอื่น
       
        "จากประสบการณ์พบว่า สาเหตุที่พนักงานลาออกจากองค์กรเนื่องจากทนไม่ได้กับพฤติกรรมของ ผู้จัดการ ที่เอาความคิดของตนเองเป็นหลักโดยไม่ฟังเสียงของบุคคลอื่น"
       
       
GPHR ย่างก้าว
       แห่งความท้าทาย

       
        ขณะที่ Lance Richards ผู้อำนวยการอาวุโส สายบริการต่างประเทศ บริษัท KELLY outsourcing & consulting group องค์กรที่ปรึกษาด้าน HR ระดับโลก กล่าวว่า จากการสำรวจผู้เข้าเรียน หลักสูตร GPHR ที่ตนสอนอยู่เกิดจาก
       
        1. ความต้องการของผู้เรียนที่ต้องการยกระดับความรู้ของตนโดยการสอบวัดผล GPHR เพื่อปูทางสู่ความสำเร็จในสายงานนี้
       
        2.ต้องการการยอมรับจากเจ้านายและเพื่อนร่วมงาน ตลอดจนสร้างองค์ความรู้เฉพาะขององค์กรตน
       
        Lance ยังมองเกณฑ์มาตรฐานการสอบ GPHR ในไทย ว่า เดิมมีหลายองค์กรที่ต้องการจะจัดสอนและจัดสอบในไทยอยู่มากแต่ที่ยังไม่มีความพร้อมในการนำกระบวนการทำงานดังนี้มาปรับใช้เกิดจาก
       
        1.ต้องวางกลยุทธ์ HR ให้ได้ก่อน 2. สามารถพัฒนาบุคลากรและสร้างประสิทธิผลผ่านตัวพนักงาน 3.จัดสรรหาพนักงานทั่วโลกอย่างเหมาะสมกับงาน 4. สั่งการงานให้พนักงานที่อยู่ในเครือข่ายทั่วโลกทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ 5. ประเมินผลตอบแทนและสวัสดิการในแต่ละประเทศอย่างเหมาะสม และ6. สามารถทำความเข้าใจกฎหมายแรงงานในการทำธุรกิจของแต่ละประเทศ
       
        ซึ่งในการสอบ GPHR ผู้เข้าสอบต้องทำแบบทดสอบปรนัย 165 ข้อ ซึ่งต้องทำให้ได้เกินครึ่งถึงจะผ่าน แต่ปัญหาของผู้เข้าสอบเกือบทั่วโลกเกิดจาก ไม่มีพื้นฐานเชิงวิเคราะห์เนื่องจากแนวข้อสอบส่วนใหญ่เน้นการวิเคราะห์ถึงประสบการณ์ในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ซึ่งผู้ที่เคยผ่านงานมาอาจจะได้เปรียบในการทำข้อสอบ
       
        สำหรับการเตรียมพร้อมในการเรียนผู้เรียนต้องทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเนื้อหา และพยายามทุ่มเทกับการศึกษาผ่านตำราต่างๆ ซึ่งหากผู้อบรมไม่มีเวลามาเรียนสามารถหาความรู้จาก CD หรือ คู่มือการเรียนนอกห้องเรียน
       
        ใบรับรองมีอายุ 3 ปี นับตั้งแต่วันที่สอบผ่านเกณฑ์มาตรฐาน และหากผู้ที่เคยสอบผ่าน GPHR ต้องการได้การรับรองต้องสอบใหม่อีกครั้ง ซึ่งมีไม่น้อยที่กลับมาสอบใหม่แต่ไม่ผ่านเกณฑ์ เนื่องจากข้อสอบมีการปรับปรุงให้ทันกับสถานการณ์ของโลกธุรกิจตลอดเวลา
       
        ในฐานะผู้เชี่ยวชาญการสอนหลักสูตร GPHR นั้น Lance มองถึงความเคลื่อนไหวของบุคลากรที่สอนว่า เนื่องจากตอนนี้มีผู้ที่สอบผ่านเพียง 15,00 คนทั่วโลก ทำให้ผู้ฝึกสอนขาดแคนอย่างมากเพราะจะต้องเป็นผู้รอบรู้ในทุกเรื่องเนื่องจากคนในแต่ละประเทศมีความหลากหลาย ขณะเดียวกันต้องเป็นผู้ที่ถ่ายทอดความรู้ได้เป็นอย่างดีโดยต้องเข้าอบรมการสื่อสารให้กับผู้อื่นด้วย
       
        Nana กล่าวว่า การสอบ GPHR ในสหรัฐอเมริกา ที่ผ่านมามีผู้ผ่านการสอบเพียง 59% เพราะผู้เรียนต้องมีเวลาและทุ่มเทในการศึกษาอย่างมาก ซึ่งเป็นอีกความท้าทายในวงการ HR ไทย


ที่มา : โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์

อัพเดทล่าสุด