https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ประมวลผลรวมงาน HR 2549เศรษฐกิจรั้ง เส้นทางไม่ราบเรียบ MUSLIMTHAIPOST

 

ประมวลผลรวมงาน HR 2549เศรษฐกิจรั้ง เส้นทางไม่ราบเรียบ


561 ผู้ชม


ประมวลผลรวมงาน HR 2549เศรษฐกิจรั้ง เส้นทางไม่ราบเรียบ




*"วัทสัน ไวแอท(ประเทศไทย)" บริษัทที่ปรึกษาองค์กรสรุปการบริหารคนตลอดปี 49
       
        *กำลังจ่ายโบนัสทั้งแบบคงที่และตามผลงาน ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ กลุ่มพลังงานรับทรัพย์ 4 เดือน
       
        *อย่างนี้ต้องลาออก!! ปัญหาเดิมๆ ของงานบุคคล เสียงสะท้อนจากพนักงานเหตุผลคือจน-เครียด
       
        *ความยากในการรับคน วิศวะ คืออาชีพอันดับหนึ่ง การตลาด งานขาย และไอทียังต้องการมืออาชีพ
       
        รวบรวมผลสรุปความเคลื่อนไหวการบริหารทรัพยากรมนุษย์ฉบับย่อตลอดศก 2549 กับ 3 หัวข้อหลักที่น่าสนใจพร้อมๆ กับผลสำรวจทิศทางการบริหารทรัพยากรบุคคล ประเด็นหลักหนีไม่พ้นเงินเดือน การจ่ายโบนัส ตลอดจนอัตราการลาออกของพนักงาน
       
        จำแนกตามอุตสาหกรรมต่างๆ 14 อุตสาหกรรมหลัก และผลรวมองค์กรในไทยกว่า 300 บริษัท
       
        เปิดผลสำรวจโดย วัทสัน ไวแอท (ประเทศไทย) และผู้จัดการรายสัปดาห์ จับตาและตรวจเช็คชีพจรงานบุคคลในปีที่ผ่านมาว่าองค์กรของคุณอยู่ในภาวะใด
       
       สรุปโบนัสฉบับย่อ
       
        ทายาท ศรีปลั่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท วัทสัน ไวแอท (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทที่ปรึกษาทางด้าน การวางกลยุทธ์องค์กร สรุปผลสำรวจการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ปี 2549 ในด้านการจ่ายโบนัสว่า ในปีที่ผ่านมา ค่าเฉลี่ยของการจ่ายโดยรวมอยู่ที่ 2.5 เดือน ลดลงจากปีก่อนที่มีการจ่ายโบนัสโดยรวมอยู่ที่ 2.8 เดือน แต่การขึ้นเงินเดือนเพิ่มขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย เพราะต้านกับแรงของพนักงานที่มีมากขึ้น แต่ Variable Bonus การจ่ายตามผลงาน ซึ่งขึ้นอยู่กับผลประกอบการของบริษัท ซึ่งส่วนใหญ่ทำได้น้อยลง จึงเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2.1 เดือน
       
        โดยในการจ่ายโบนัสนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานเป็นกลุ่มที่มีการจ่ายโบนัสโดยรวมสูงที่สุดอยู่ที่ 4.25 เดือน รองลงมาคือ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน 3.59 เดือน ขณะที่กลุ่มอื่นๆ ส่วนใหญ่จ่ายในระดับใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยรวม สำหรับกลุ่มที่มีการจ่ายโบนัสน้อยที่สุดคือ กลุ่มธุรกิจโรงแรม และกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ 1.5 เดือน
       
        เมื่อแยกพิจารณาการจ่ายโบนัสออกเป็นการจ่ายโบนัสคงที่ (Fixed Bonus) และการจ่ายตามผลงาน(variable Bonus) พบว่าการจ่ายแบบคงที่อยู่ที่ 1-3 เดือน โดยมีกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานเป็นกลุ่มที่จ่ายมากที่สุด 3 เดือน รองลงมาคือ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน 2.28 เดือน
       
        สำหรับการจ่ายโบนัสตามผลงานในปี 2549 ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ผลประกอบการโดยรวมขององค์กรได้น้อยจึงลดลงบ้างโดยในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานจะมีการจ่ายสูงสุดอยู่ที่ 4.67 เดือน รองลงมาคือกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน 3.59 เดือน
       
        ทายาทแนะนำมนุษย์เงินเดือนทั้งหลายว่า อย่าทำงานเพียงเพื่อหวังเงินจนเกินไปนัก เพราะนอกเหนือจากเงินเดือนหรือโบนัสแล้วเงื่อนไขการทำงานจะต้องทำเพื่อความสุขบ้าง ทำตามความถนัด และความชอบเป็นหลัก เพราะเงินเดือนหรือโบนัสเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน การจัดอันดับเป็นเพียงเครื่องมือที่จะทำให้รู้ว่าองค์กรของเราอยู่ตรงไหน และตลาดต้องการคนแบบไหน อันดับการจ่ายเงินเดือนก็เช่นกัน ไม่มีใครเป็นแชมป์ในตลาดได้ตลอด
       
       สรุปอัตราการลาออก
       
        ในผลการสำรวจอัตราการลาออกของพนักงานโดยสมัครใจนั้น เริ่มคำนวณตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 จนถึงเดือน กันยายน 2549 พบว่า อัตราการลาออกโดยเฉลี่ยของพนักงานอยู่ที่ 11.7% เพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อนซึ่งอยู่ที่ 11.3%
       
        โดยสรุปกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอัตราการลาออกจนน่าตกใจมากที่สุดคือ ธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งสูงถึง 26.8% และพนักงานในธุรกิจนี้สามารถแบ่งได้ 2- 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.ผู้ใช้แรงงานซึ่งมีอยู่จำนวนมาก 2. กลุ่มที่เป็นวิศวกรและสถาปนิก และ3. เซลส์ ซึ่งช่วงนี้เป็นขาขึ้นของกลุ่มอาชีพนี้ หลังจากประสบภาวะขาลงมาหลายปี ดังนั้นองค์กรใดมีกำลังจ่ายมากกว่า พนักงานกลุ่มนี้ก็พร้อมจะซบอกที่นั่น
       
        การเปลี่ยนงานของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษเนื่องจาก การเปลี่ยนงานบ่อยทำให้คุณภาพงานของบริษัทไม่คงที่
       
        รองลงมาคือกลุ่มธุรกิจสื่อสารมวลชนและบันเทิง 18.6% และกลุ่มธุรกิจด้านเภสัชกรรม 16.4% ขณะที่กลุ่มที่มีอัตราการลาออกต่ำสุดคือกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานที่ 4.5% เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ให้ค่าตอบแทนและโบนัสสูงอยู่
       
       เหตุผลของคนออก
       
        เหตุผลในการลาออกของพนักงานส่วนใหญ่ยังคงเป็นเรื่องของผลตอบแทนอยู่ โดยส่วนใหญ่ระบุว่าต้องการผลตอบแทนมากขึ้น 36% รองลงมาคือความก้าวหน้าในอาชีพการงาน 21.9% และความชื่นชอบในงานใหม่มากกว่างานเดิม 6.1%
       
        คนที่อายุต่ำกว่า 30 ปีมักจะมีเหตุผลเรื่องเงินเดือนและโอกาสการพัฒนาและก้าวหน้าในสายอาชีพสูง 37% สำหรับอายุ 30-39 ปี ซึ่งถือว่าเป็นช่วงอายุการทำงานที่เนื้อหอมและมีตำแหน่งหน้าที่ ดังนั้นเหตุผลของการไปหาที่ทำงานใหม่จะเป็นด้วยเรื่องการปรับตำแหน่ง 40%
       
        ช่วง 40-49 ปี เป็นช่วงที่ต้องการความมั่นคงในชีวิต สาเหตุการลาออกจึงเป็นเพราะเงินเดือน และเครียด อีกทั้งยังต้องการสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตครอบครัว 50-59 ปี ลาออกเพราะเครียด 33% และกลุ่มพนักงานที่อายุมากกว่า 60 ปี สาเหตุการลาออกจากงานเดิมด้วยเหตุผลเงินเดือน และการเลื่อนตำแหน่งมีน้อยมากเพราะส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีความมั่นคงอยู่แล้ว ส่วนใหญ่จะมาจากสาเหตุการเครียด ต้องการสมดุลระหว่างการทำงานกับชีวิตวัยเกษียณ และสนใจเรื่องสวัสดิการเมื่อปลดเกษียณและค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยอยู่ที่ 41%
       
        สังเกตได้ว่าสาเหตุการลาออกของพนักงานส่วนใหญ่ยังเป็นเรื่องค่าตอบแทนอยู่ จึงน่าติดตามว่าการสร้างความผูกพันระหว่างพนักงานกับองค์กร ว่าจะมีการพูดคุยเรื่องนี้ต่อหรือไม่? หลังจากปีที่ผ่านมามีการพูดคุยเรื่องการสร้างความผูกพันและการรักษาพนักงานไว้ด้วยหลากหลายวิธีมาแล้ว...
       
       ปัญหารับคนตลอดศก
       
        เมื่อถามถึงความยากง่ายในการรับสมัครพนักงานที่ทำงานด้านวิศวกรรมเป็นงานที่ฝ่ายบุคคลประสบปัญหาในการสรรหามากที่สุด 21.75% รองลงมาคืองานทางด้านการตลาดและการขาย 19.92% และงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 13.63% ตามลำดับ
       
        เมื่อพิจารณาตามระดับหรือตำแหน่งงานประกอบ ผลการสำรวจพบว่า ในงานสาขาวิศวกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศ ประสบปัญหาในการสรรหาเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญถึง 70% ขณะที่ในสายงานด้านการบริการลูกค้า(Customer service) ประสบปัญหาในการสรรหาบุคลากรในระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ และระดับผู้เชี่ยวชาญ ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันคือ 40%
       
        สำหรับในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในสายงานด้านการขายและการตลาด การเงินและการบัญชีเป็นสายงานที่ประสบปัญหาในการสรรหามากที่สุด เนื่องจากเป็นอาชีพที่ต้องการความเป็นมืออาชีพ หาคนที่เก่งยาก การเงินการธนาคาร และงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลก็ยังมีปัญหาการเข้าทำงาน 8.13% และ 4.38%ตามลำดับ
       
        ส่วนงานด้าน HR ตลาดยังต้องการกลุ่มบริหารงานเป็น 11% ดังนั้น ถ้ามีค่าตัวมาก และทำงานได้มากโอกาสที่จะหางานในที่ใหม่ย่อมมีทางเป็นไปได้ เพราะตลาดยังเปิดอยู่เสมอ...หากเชื่อในฝีมือ

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์


อัพเดทล่าสุด