https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ย้ายงานและคนไปบริษัทในเครือ MUSLIMTHAIPOST

 

ย้ายงานและคนไปบริษัทในเครือ


694 ผู้ชม


ย้ายงานและคนไปบริษัทในเครือ




HR SOLUTION : ย้ายงานและคนไปบริษัทในเครือ

 

Q : ที่บริษัทมีการปรับเปลี่ยนองค์กร โดยจะเน้นให้มุ่งกระบวนการที่เป็นธุรกิจหลัก ตัดหน่วยงานที่ไม่ใช่เป็นหลักให้ไปอยู่ในบริษัทในเครือ หรือบริษัทคู่ค้า กลางปีนี้ ผู้บริหารมีแผนที่จะโยกงานด้านการดูแลโกดังสินค้าให้ไปอยู่กับบริษัทในเครือ โดยจะให้ไปทั้งงานและทั้งคน ซึ่งคนที่จะต้องไปก็มีประมาณสิบกว่าคน ตั้งแต่ระดับหัวหน้างานถึงระดับปฏิบัติการผมอยากรู้ว่า มีแนวทางอย่างไรที่จะดำเนินการเกี่ยวกับคนที่จะถูกย้ายไป - ดำรง
       
       A: กรณีของคุณดำรงที่ถามมา ถือว่าเป็นกรณีของการเปลี่ยนแปลงนายจ้างที่มีแง่มุมทางกฎหมายที่ต้องระวัง เพราะตามมาตรา 577 ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ระบุว่า นายจ้างอาจจะโอนสิทธิของนายจ้างให้แก่บุคคลที่สามด้วยความยินยอมของลูกจ้าง ซึ่งการยินยอมในที่นี้จะต้องมีการลงลายมือชื่อเป็นลาบลักษณ์อักษร อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติ คุณดำรงสามารถเลือกได้หลายแนวทาง ขึ้นอยู่กับว่า สภาพแวดล้อมของที่ทำงานคุณดำรงเป็นอย่างไร ตัวอย่างของทางเลือกก็มีดังนี้ครับ
       
       ทางเลือกแรก ยังคงรักษาสถานภาพพนักงานกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับงานเอาไว้กับบริษัทปัจจุบัน แล้วทำคำสั่งเป็นการมอบหมายงานให้ไปปฏิบัติงานกับบริษัทในเครือ โดยตัวของพนักงานไปประจำที่บริษัทดังกล่าว แล้วให้บริษัทของคุณดำรงชาร์จเป็นค่าใช้จ่าย ซึ่งจะมีการอัตราเงินเพิ่มเหมือนเป็นค่าบริการก็แล้วแต่จะตกลงกัน โดยทั่วไป จะต้องทำเป็นสัญญาสามฝ่าย คือ บริษัทเดิม ตัวพนักงาน และบริษัทที่ได้รับมอบหมายให้ไปประจำ ซึ่งเขาจะมีศัพท์เรียกกันว่า เป็น "Secondment" ข้อดีคือ ลดความเสี่ยงที่พนักงานจะไม่ไปบริษัทใหม่ และบริษัทยังคงรักษาคนดีมีฝีมือเอาไว้ได้กรณีหากเกิดธุรกิจของอีกบริษัทไปไม่รอด แต่ข้อเสียก็คือ ความยุ่งยากในการบริหารจัดการ ความอึดอัดของฝ่ายบริหารของบริษัทใหม่ที่จะต้องดำเนินการในการบริหารได้อย่างเต็มที่
       
       ส่วนทางเลือกที่สอง เป็นการโอนย้ายไปทั้งคน ทั้งงาน โดยตัดขาดจากบริษัทคุณดำรงไปเลย แล้วไปเป็นพนักงานของบริษัทในเครือ อาจจะมีการจูงใจบางอย่างเช่น การนับอายุงานต่อเนื่องให้ อย่างไรก็ตาม กรณีนี้จะต้องได้รับการยินยอมและลงลายมือชื่อจากลูกจ้างทุกคน ถ้าไม่อย่างนั้นแล้ว จะเข้าข่ายเป็นการเลิกจ้าง ซึ่งบริษัทก็จะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอายุงานของแต่ละคน ข้อดีของแนวทางนี้ก็คือ มีความชัดเจนแยกกันขาดไปเลย ซึ่งทำให้การบริหารการจัดการเป็นไปอย่างราบรื่นไม่ติดขัดว่ายังเป็นคนของที่นั่นที่นี่ ทำให้คนที่ไปก็มองเห็นเส้นทางอาชีพของตนเองว่าจะไปเติบโตไปทางไหน แต่ข้อเสียของแนวทางนี้ก็คือ มีความเสี่ยงหากลูกจ้างไม่พอใจหรือไม่เต็มใจที่จะไป พวกเขาก็มีสิทธิที่จะปฏิเสธ และขอค่าชดเชยเพื่อออกไปหาโอกาสที่อื่น ถ้าเป็นคนสองคนก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้าส่วนใหญ่หรือทั้งหมดปฏิเสธก็อาจจะทำคุณดำรงย้ายไปได้แค่งาน แต่ไม่มีคนทำงานได้ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาอย่างอื่นอีก
       
       คุณดำรงคงต้องคุยกับนายเพื่อประเมินความเสี่ยงอีกครั้งนะครับก่อนตัดสินใจว่า จะเลือกไปแนวทางไหน โดยจุดที่จะต้องมองให้ชัดก็คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นหากมีคนไปหรือไม่ไปมากน้อยขนาดไหน มีแผนสำรองหรือตัวตายตัวแทนที่พร้อมแค่ไหน มีความพร้อมในการจ่ายค่าทดแทนหรือเปล่า รวมทั้งบรรยากาศแรงงานสัมพันธ์ในภาพรวมของบริษัทคุณดำรงด้วย เพื่อเลือกแนวทางที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุดนะครับ
       
       ท่านสามารถส่งคำถามหรือร่วมแสดงความคิดเห็นที่ dilok_tue@yahoo.com ด้วยความร่วมมือจากสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย

โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์

อัพเดทล่าสุด