https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
คนงานเหมาช่วง...ทาสยุคใหม่ MUSLIMTHAIPOST

 

คนงานเหมาช่วง...ทาสยุคใหม่


615 ผู้ชม


คนงานเหมาช่วง...ทาสยุคใหม่




พจนานุกรมฉบับมติชน ได้ให้ความหมายของคำว่า ทาส ว่าหมายถึง ผู้ที่ขายตัวหรือถูกนำตัวมาขาย หรือถูกจับมาให้เป็นคนรับใช้หรือเพื่อทำงานหนักอื่นๆ โดยผู้ที่เป็นนายมีสิทธิเหนือตัวทาสนั้น บางทีใช้หมายเท่ากับกับ ขี้ข้า ผู้ที่ยอมตนอยู่ในอำนาจของสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างถอนตัวไม่ขึ้น

สังคมแบบทาสปรากฏมาตั้งยุคโบราณแล้ว เมื่อในปลายสมัยของสังคมบุพกาลนั้น มนุษย์ได้พัฒนาเครื่องมือการผลิตให้ก้าวหน้าขึ้โดยมีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือเหล็กในรูปแบบต่างๆ เพื่อใช้ในการล่าสัตว์ และเริ่มทำการเกษตรอย่างง่ายๆ ทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น และเหลือจากการบริโภคในแต่ละวัน สามารถจับสัตว์มาเลี้ยงไว้กินในวันข้างหน้าได้

การสะสมการขยายผลผลิตเริ่มเกิดขึ้น พวกหัวหน้าเผ่าและหมอผีเริ่มยึดครองที่ดินและเครื่องมือการผลิตบางส่วนมาเป็นของตน ที่สำคัญมีการจับเชลย (ที่เกิดจากการรบพุ่งระหว่างต่างเผ่าพันธุ์ อันเป็นการปะทะกันโดยบังเอิญ เพื่อแย่งชิงแหล่งอาหารและการล้างแค้น) มาใช้แรงงานเป็นทาส เพื่อทำการผลิตแทนตน ทำให้ความจำเป็นที่มนุษย์จะต้องอยู่ร่วมกันเพื่อใช้แรงงานรวมหมู่ในรูปครอบครัวขนาดใหญ่ค่อยๆ หมดไป โดยมนุษย์ในสังคมสามาถแยกตัวเป็นครอบครัวขนาดเล็กไปทำมาหากินได้โดยลำพัง การใช้แรงงานทาสก็ได้ขยายตัวไปโดยกว้างขวาง เกิดเป็นสังคมครองทาสเข้าแทนที่สังคมบุพกาลในที่สุด

ในสังคมครองทาสนี้ได้เกิดรูปแบบการขูดรีดแรกสุดที่มนุษย์กระทำต่อมนุษย์ด้วยกันขึ้นโดยพวกเจ้าทาสได้ยึดกุมปัจจัยการผลิต (วัตถุดิบ ที่ดิน เครื่องมือการผลิต) ไว้เป็นสมบัติของตน ส่วนพวกทาสจะไม่มีสิทธิครอบครองปัจจัยการผลิตใดๆ แต่ตัวเองก็เป็นเสมือนเครื่องมือการผลิตชนิดหนึ่งด้วยเช่นกัน โดยพวกเจ้าทาสได้บังคับใช้ให้ทำงานหนักแทนตนได้สารพัด เจ้าทาสมีกรรมสิทธิเหนือร่างกายทาส จะเฆี่ยนตี ฆ่า หรือนำไปขายเป็นสินค้าชนิดหนึ่งก็ทำได้ พวกเจ้าทาสไม่ต้องออกแรงทำงานอะไร แต่อาศัยผลผลิตที่เกิดจากแรงงานทาสมาบริโภคใช้สอย และนำไปแลกเปลี่ยนค้าขาย จึงได้แต่นั่งกินนอนกิน เสพสุขได้อย่างเปรมปรีย์

การที่พวกเจ้าทาสดำเนินการดังกล่าวได้ก็เพราะได้สร้างกลไกรัฐที่ประกอบด้วยกองทหาร ระบบกฎหมาย ระบบการเมือง ศาล คุก ตาราง เป็นต้น ไว้คอยบังคับควบคุมและปราบปรามพวกทาสที่ขัดขืนนั่นเอง

การลุกขึ้นสู้ของพวกทาสที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือการลุกขึ้นสู้ครั้งหนึ่งในโรมเมื่อ 2000 กว่าปีมาแล้ว คือ การลุกขึ้นสู้ของทาสที่นำโดยสปาตาคัส เขาเป็นทาสที่ถูกเลี้ยงไว้เป็นนักสู้ที่แสดงการต่อสู้กับสิงโตในโคลิเซี่ยม กำลังของทาสที่ลุกขึ้นสู้ในคราวนี้มีถึง 120,000 คน เคยรบจนกองทหารจักรวรรดิ์โรมันแพ้ไปหลายครั้ง

การลุกขึ้นสู้ของพวกทาสหลายครั้งทำให้รัฐทาสง่อนแง่น จนในที่สุดล่มสลาย ในยุโรปสังคมแบบทาสได้ผ่านช่วงเวลาอันยาวนานถึง 400 ปี ความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบทาส จึงต้องปรับเปลี่ยนเป็นความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบใหม่ เปิดทางให้กับสังคมแบบศักดินาเข้ามาแทนที่

ระบบทาสไม่ได้หมดไปเลยทีเดียว ในยุคโบราณเก่าแก่ การรบพุ่งและการกวาดต้อนเชลย ให้กลายเป็นทาสนั้น ถูกแปรเปลี่ยนรูปแบบไป เช่น การเกณฑ์แรงงาน การส่งส่วย และการส่งเครื่องบรรณาการ และการค้าทาสยังเกลื่อนกลาด ต่อเนื่องมานับศตวรรษทีเดียว แม้ในยุคของลัทธิพาณิชนิยม ยังต้องอาศัยการใช้แรงงานทาส ด้วยการใช้กำลัง อาวุธปืน เข้าปล้น สะดม กวาดต้อนผู้คนให้กลายเป็นทาสด้วยการนำมาทำการซื้อขาย ดังเช่นการนำทาสผิวดำ จากอาฟริกา มาขายเป็นทาสในอเมริกาและในยุโรป เป็นต้น

สังคมครองทาสปรากฎขึ้นในประวัติศาสตร์ไทย เมื่อยุคบุพกาลในสยามสุวรรณภูมิสลายตัวลง รัฐทาสเกิดขึ้นแห่งแรกคือทวารดี ราว พ.ศ.400-500 เศษ ซึ่งนักโบราณคดียังถกเถียงกันไม่ยุติว่า อยู่ในช่วงพศ.ใดแน่ เพราะมีการค้นพบโบราณวัตถุและโครงกระดูกมนุษย์อยู่ในช่วงของยุคทวาราวดี

การขยายตัวของการค้าขายระหว่างประเทศที่เฟื่องฟูมากยิ่งขึ้น การผลิตสมัยใหม่นำมาสู่ ความต้องการแรงงานเสรี เพื่อป้อนเข้าสู่การผลิตแบบทุนนิยม ทำให้มีความจำเป็นต้องยกเลิกระบอบทาสในที่สุด เพื่อปลดปล่อยทาสในเรือนเบี้ยทั้งหลายให้กลายมาเป็นแรงงานรับจ้าง ประกอบกับการก่อการจราจลลุกขึ้นสู้ของพวกทาส จนเกิดสงครามกลางเมือง แต่ในสังคมไทยมีการยกเลิกระบอบทาสในสมัยรัฐกาลที่ 5 โดยไม่มีการสูญเสียเลือดเนื้อหรือเกิดสงครามกลางเมืองแต่ประการใด

ครั้นเมื่อสังคมไทย กลายมาสังคมยุคใหม่ การค้าขายระหว่างประเทศกลายมาเป็นการลงทุนระหว่างประเทศ ในการแสวงหาแรงงานและวัตถุดิบราคาถูก ประเทศด้อยพัฒนาและยากจนทั้งหลายถูกบีบบังคับให้เปิดประเทศเพื่อให้เกิดการค้าเสรีอย่างกว้างขวางไร้ขีดจำกัด การส่งเสริมการลงทุน และการส่งออก เป็นแนวทางการพัฒนาประเทศ ทำให้ชาวนา ชาวไร่ ในภาคเกษตรกรรมล้มละลาย ต้องอพยพเข้ามาขายแรงงานในเขตอุตสาหกรรม

ในทศวรรษที่ 60 เป็นต้นมา ภาวะความเป็นทาสได้ปรากฏขึ้นให้เห็นอย่างเด่นชัด นั่นก็คือ การที่เด็กและสตรีที่หนีความยากจนในชนบท เข้ามาขายแรงงานในกรุงเทพและเขตอุตสาหกรรม จะถูก พวกจัดหางานที่เฝ้าอยู่ที่ชานชาลารถไฟหรือสถานีรถขนส่งจับมากักขังไว้ เพื่อรอให้มีนายจ้างเข้ามาซื้อตัว ด้วยราคาค่านายหน้าหัวละ 1500-3000 บาท และนำไปทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม แรงงานเด็กและสตรีเหล่านี้ถูกบีบบังคับให้ทำงานอย่างทารุณโหดร้าย ทั้งที่เป็นการบีบบังคับโดยตรงและโดยอ้อม และกระทั่งถูกนำไปเข้าซ่องโสเภณี

ปฏิญาณสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้ประกาศไว้ว่า บุคคลใดจะถูกบังคับให้เป็นทาส หรืออยู่ภาระจำยอมใดๆ มิได้ การเป็นทาสและการค้าทาสจะมีไม่ได้ทุกรูปแบบ ถูกนำมารณรงค์อย่างกว้างขวางเพื่อขจัดการค้าทาสและภาวะความเป็นทาส การณรงค์ต่อต้านการใช้แรงงานเด็กเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง การค้าขายระหว่างประเทศกำหนดข้อห้ามการใช้แรงงานเด็กและการบังคับใช้แรงงาน เพื่อประกันได้ว่า ในกระบวนการผลิตนั้นจะไม่มีรูปแบบการค้าทาสเกิดขึ้นอีก

ทุกวันนี้ การใช้แรงงานเด็กและสตรีอย่างทารุณโหดร้ายจึงมีให้เห็นน้อยมาก ที่ปรากฏเป็นข่าวในหน้าสื่อมวลชนมักจะเป็นโรงงานห้องแถวขนาดเล็ก ที่สามารถปิดบังการใช้แรงงานเด็กและสตรีไว้ และโดยมากเป็นการใช้แรงงานต่างด้าว จากพม่า ลาว เขมร กันมากกว่าการใช้แรงงานคนไทย

แต่ความพยายามที่จะใช้แรงงานแบบทาสไม่ได้สูญสิ้นไปจากสังคมไทย โรงงานอุตสาสหกรรมจำนวนมาก มีการเคลื่อนย้ายการลงทุนจากเขตอุตสาหกรรมที่อยู่ไกล้กรุงเทพฯ ไปยังชนบท เช่น ไปเปิดโรงงานในภาคอีสาน เปิดโรงงานบริเวณเขตพรมแดน ภายใต้การส่งเสริมการลงทุน ซึ่งรัฐอุดหนุนให้ได้รับสิทธิพิเศษ เช่น การยกเว้นภาษีเครื่องจักร วัตถุดิบ

กระทั่งการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเอาหูไปนา เอาตาไปไร่ ปล่อยให้เกิดการใช้แรงงานแบบทาสขึ้นมาใหม่อีกครั้ง อย่างเช่น การทารุณกรรมเยี่ยงทาส ที่เกิดขึ้นกับแรงงานพม่า ในโรงงานอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าเพื่อการส่งออก ในบริเวณชายแดนแม่สอด จังหวัดแม่ฮ่องสอน โรงงานแถวนั้นบีบบังคับให้แรงงานพม่าต้องทำงานยาวนานชั่วโมง ถึงวันละ 16 ชั่วโมง ไม่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำ ไม่มีการปฏิบัติบังคับใช้กฎหมายแรงงาน กระทั่งมีการข่มขืนแรงงานสตรีที่ทำงานในโรงงานเหล่านี้ อยู่บ่อยครั้ง

ภาวะการว่างงานและความยากจน เป็นสิ่งที่ทำให้นายทุนสามารถบังคับทารุณกรรมการใช้แรงงานเยี่ยงทาสได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีบรรดาข้าราชการทั้งหลายที่ยอมรับว่ามีความจำเป็นต้องให้มีการใช้แรงงานเยี่ยงทาสในสังคมไทย พวกเขาพยายามจะอธิบายว่า ภาวะความเป็นทาส ต้องดำรงอยู่กันต่อไป เพราะมนุษย์นั้นย่อมไม่เท่าเทียมกันโดยธรรมชาติ

ตัวอย่างแบบนี้ มีให้เห็นเมื่อวันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ 2548 ที่ผ่านมา พนักงานบริษัททริม อินเตอร์เนชั่นแนล จังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยสหภาพแรงงานต่างๆ ในกรุงเทพฯ มาชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอความเห็นใจจากรัฐบาล เพียงเพราะว่า เมื่อได้เรียกร้องให้นายจ้างจัดรถรับส่ง และให้ช่วยเหลือหญิงตั้งครรภ์เดือนละ 300 บาทเป็นเวลา 2 เดือนก่อนการคลอดบุตร ซึ่งคิดเป็นเงินลงทุนเพียงแค่ไม่เกิน 3000 บาทต่อปี แต่พวกคนงานเหล่านี้กลับถูกนายจ้างปิดงาน กระทั่งถูกไล่ออกจากงานไป โดยที่เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานต่างพากันนิ่งเฉยต่อชะตากรรมของคนงานเหล่านี้

ภาวะความเป็นทาส ยังมีการพัฒนารูปแบบใหม่ ภายใต้ข้ออ้างของการค้าเสรีอีกด้วย นั่นก็คือ การจ้างงานเหมาช่วงและการจ้างงานรับเหมาค่าแรง ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวาง แต่ในทศวรรษใหม่ยุคของโลกไร้พรมแดนในยุคที่ เรียกกันว่าโลกาภิวัฒน์ การค้าทาส และการใช้แรงงานเยี่ยงทาสนั้นถูกนำมาใช้ด้วยถ้อยคำใหม่ อย่างเช่น ใช้คำว่า รับเหมาช่วง (Sub Contractors) การจ้างงานไม่เป็นทางการ (Informal Sector) การจ้างงานนอกระบบ หรือเอ้าท์ซอสซิ่ง (Out Sourcing)

รูปแบบการจ้างงานแบบนี้ซ่อนเร้นด้วยภาวะความเป็นทาส โดยแรงงานอพยพจากชนบทจะพากันเข้ามาหางานในเขตอุตสาหกรรม มีเพียงทางเลือกทางเดียวนั่นก็คือ การเข้าไปสมัครงานกับบริษัทรับเหมาช่วงหรือที่มักเรียกกันว่า บริษัท แมนพาวเวอร์ หรือบริษัททรัพยากรมนุษย์ ซึ่งบริษัทเหล่านี้ทำหน้าที่เพียงแค่ขายใบสมัครงานให้แรงงานอพยพเหล่านี้ กรอกข้อมูลในใบสมัครงาน และ นำไปทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม โดยถือว่าพวกคนงานเหล่านี้เป็นลูกจ้างของบริษัทรับเหมาจ่ายค่าแรง ไม่ใช่เป็นลูกจ้างของโรงงานอุตสาหกรรม

ทุกวันนี้การจ้างงานแบบเหมาช่วงภายในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมกำลังขยายตัวอย่างกว้างขวาง แต่เดิมการจ้างคนงานเหมาช่วง เป็นเพียงการนำงานบางส่วนออกไปว่าจ้างผลิตภายนอกโรงงานอุตสาหกรรม เช่นในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า หรือการประดิษฐ์ดอกไม้นำงานบางส่วนไปให้คนงานทำที่บ้าน แต่ในปัจจุบัน ไม่ต้องนำงานออกไปว่าจ้างภายนอกแล้ว บรรดาโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ว่าจ้างบริษัทเอกชนให้นำคนงานเข้ามาทำงานในกระบวนการผลิตเช่นเดียวกับคนงานประจำ แต่มีค่าจ้างและสวัสดิการน้อยกว่าคนงานประจำเป็นอย่างมาก และนับวันจำนวนคนงานประจำจะลดน้อยถอยลงไปอย่างมาก ในขณะที่จำนวนคนงานเหมาช่วงจะเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นการจ้างงานส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้

ชีวิตความเป็นอยู่ของคนงานเหมาช่วงเหล่านี้ จึงมีมาตรฐานแรงงานที่ต่ำกว่ามาตรฐานตามหลักสิทธิมนุษยชนที่ควรจะได้รับ เนื่องจากค่าจ้างขั้นต่ำที่ต่ำเป็นอย่างมากพวกเขาดำรงชีพอยู่ได้ด้วยการทำงานล่วงเวลาเท่านั้น จึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องทำงานล่วงเวลากันไปตลอดชีวิต

ภาวะเช่นนี้คือภาวะจำยอมที่ต้องกลายเป็นทาสการทำงานยาวนานชั่วโมง และไม่กล้าจะเรียกร้องสิทธิใดๆ ทั้งสิ้น 

สมยศ พฤกษาเกษมสุข 

แหล่งข้อมูล : http://www.thailabour.org 

อัพเดทล่าสุด