https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ต้องประเมินตัวเองให้เป็น MUSLIMTHAIPOST

 

ต้องประเมินตัวเองให้เป็น


611 ผู้ชม


ต้องประเมินตัวเองให้เป็น




คอลัมน์ สอนลูกอย่างไรให้ทำงานเป็น
โดย สุจินต์ จันทร์นวล mu1943@hotmail.com

"พ่อเคยบอกว่า ถ้าคนเราจะเอาดีทางอาชีพลูกจ้าง เราต้องหาตัวตนเราให้เจอ ก่อนอายุสามสิบ มันจะเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุด ผมว่าผมเจอแล้วนะครับ งานที่ผมทำนี่แหละ ที่พ่อบอกว่ามันต้องเป็นงานที่เราทำแล้วรู้สึกดี มีความสนุกกับมัน และเราคิดว่าเราทำมันได้ดี และสามารถที่จะทำให้มันดีขึ้นอีกด้วย ผมก็รู้สึกอย่างงั้น แต่ผมคิดว่า ผมก็คงได้สนุกกับมันแค่นี้ ในฐานะพนักงานการตลาด ถึงอาจจะได้ย้ายไปแผนกอื่น ก็ไปในฐานะพนักงานอยู่ดี โครงสร้างมันเป็นอย่างนั้น พนักงานธรรมดาถ้าจะได้โปรโมตก็ต้องเป็นพนักงานตามขั้นไปอย่างน้อยหกปี ถึงตอนนั้นผมก็คงใกล้ ๆ สามสิบ ถ้าขึ้นไม่ได้ก็เท่ากับผมต้องเป็นพนักงานต่อไป พ่อว่าผมควรคิดยังไงดี ?"
เคยสอนลูกว่า เมื่อเริ่มชีวิตการทำงานจริง ๆ จงอย่าสักแต่ทำไปเรื่อย ๆ หากคิดจะเอาดีทางอาชีพรับจ้างนี้ เราจะต้องหาตัวตนเราให้เจอ ว่าเราชอบงานอะไร
ยกตัวอย่างให้ลูกฟังว่าตัวเองโชคดีมากที่ค้นพบตัวเองได้เร็วมาก ไปพบเอาตอนที่เรียนไปทำงานไปที่เมืองนอก ไอ้ที่เรียนอยู่ก็ชอบ แต่ไอ้ที่ชอบกว่ามันคนละเรื่องกับที่เรียน คือชอบบทบาทของการเป็นหัวหน้าของฝรั่งในแผนกที่ทำงาน ชอบคิดวางแผน ชอบแก้ปัญหา ชอบเป็นผู้นำ ชอบทำให้คนอื่นยอมรับในตัวเอง ซึ่งมันก็คืองานด้านบริหารนั่นเอง
พอเรียนจบกลับบ้าน ก็หางานอย่างที่ชอบและวางเป้าหมายไว้ทันที คืองานด้านบริหาร ว่ากันตั้งแต่ฐานรากเลย จะเป็นหัวหน้าเป็นโฟร์แมนอะไรก็ได้ แต่ว่า วุฒิการศึกษามันสูงกว่านั้น มันระดับต่ำสุดก็ซูเปอร์ไวเซอร์หรือสูงสุดระดับผู้จัดการ ในการเริ่มต้น ก็เริ่มที่ซุปฯ โดยคิดว่าต้องเรียนมันตั้งแต่กอไก่ไปเลย ถ้าจะให้ภูมิในการบริหารมันแน่นพอ
จากนั้นก็วางเข็มตั้งเป้าไว้ ว่าสักสิบปี น่าจะไปถึงระดับผู้จัดการให้ได้ พอได้ถึงตรงนั้นจริง ๆ ในเวลาไม่ถึงสิบปี ก็วางเป้าต่อว่าอีกกี่ปีจะขึ้นให้ถึงระดับจีเอ็ม พอถึง จีเอ็มแล้วก็เล็งไปที่เอ็มดี พออายุได้สี่สิบกว่าก็เริ่มอาชีพมือปืนรับจ้างในฐานะเอ็มดีได้ จนสิ้นสุดหนทาง
ที่เป็นอย่างนั้นได้ เพราะได้วางเป้าหมายของทางเดินชีวิตการทำงานไว้แน่นอน ล็อกเข็มทิศ ไม่ออกนอกทางเลย มุ่งอาชีพบริหารอย่างเดียว
ที่เป็นอย่างนั้นได้ เพราะรู้จักตัวตนเองดี ว่าทำอะไรได้ดีแค่ไหน เราเก่งทางไหน เราชอบเราอยากทำ เราก็จะมีความพยายาม มีความมานะ มุ่งมั่น พัฒนา ตัวเองตลอด เพราะงานที่ทำ มันกระตุ้น มันท้าทายให้เราเอาชนะมัน คือหากไม่ชอบและไม่ได้วางเป้าหมายไว้ ก็คงไม่รู้สึกอะไรแบบนี้แน่
ที่เป็นอย่างนั้นได้ เพราะอยากพิสูจน์ว่า ความคิดของตัวเองไม่ผิด เส้นทางที่วางไว้จะต้องใช่ ใช่อย่างที่คิด มันก็เลยทำให้มีพลัง ในการต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรค มีแรงจูงใจ
ที่เป็นอย่างนั้นได้ เพราะไม่เคยยอมเสียเวลาของชีวิต อยู่ที่ไหนโดยเปล่าประโยชน์ อยู่แบบไม่มีจุดหมาย อยู่แบบหวังโอกาสไปลม ๆ แล้ง ๆ จึงรู้ตัวว่าช่วงไหนควรจะอยู่ ช่วงไหนจังหวะไหนควรจะไป ที่ไหนไม่มีโอกาสให้ เราก็ต้องไปหาโอกาสให้ชีวิตที่อื่น อย่าเสียเวลาย่ำอยู่กับที่
ลูกคงจำได้ จึงได้มีคำถามนี้ออกมา คงอยากจะรู้ว่า ตัวเขาเองนั้นกำลังอยู่ในสภาพไหน ตรงไหน ของโมเดลที่พ่อสร้างไว้ให้เขาดู
"ทำไมถึงมาคิดเรื่องนี้ล่ะลูก เกิดอะไร ขึ้นกับการทำงานหรือ ?"
"ผมก็ไม่รู้นะ อาจจะเป็นเพราะมันไม่รู้สึกตื่นเต้น หรือเฟรชเหมือนเดิม อย่างที่เคยทำกับนายเก่า ซึ่งผมได้ทำอะไรใหม่ ๆ ได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ ตลอดเวลา เนื่องจากเขาสอนบ้าง แนะนำบ้าง ทำงานกับเขาแล้วรู้สึกดีมาก ๆ พอเขาไม่อยู่แล้ว สถานการณ์มันเปลี่ยนไป ดูเหมือนบรรยากาศเก่า ๆ หายไป มีแต่ความอึดอัด ขัดแย้ง ไม่ได้รับการสนับสนุนยังไม่พอ แต่ไม่มีการสอน ไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ เลย จะทำอะไรที่มันยากลำบาก จนแทบไม่กล้าตัดสินใจ เพราะถูกเบรกเสียจนเรียกว่าแทบจะเสียความเชื่อมั่นในตัวเองไปเลย มันก็เลยรู้สึกเบื่อ ๆ เซ็ง ๆ และเริ่มคิดว่าข้างหน้า จะเป็นยังไง ถ้าจะต้องอยู่แบบนี้ไปเรื่อย ๆ คงจะเพราะอะไรแบบนี้มั้งพ่อ"
จากการที่ได้รับการบอกเล่าจากลูกอยู่เสมอในเรื่องงาน ตลอดจนการคอยซักถามถึงความเป็นไปของใครต่อใคร ที่เกี่ยวข้องกับลูก จึงทำให้พอมองเห็นภาพ และเดาสถานการณ์ได้พอสมควร ว่าอะไรเกิดขึ้นกับตัวเขาบ้าง
"มันก็เมกเซนส์ พอจะเข้าใจได้ โจทย์สำคัญมันอยู่ที่ความสัมพันธ์ระหว่างลูกกับหัวหน้าใหม่นี่แหละพ่อว่า มันถึงทำให้ลูกรู้สึกเช่นนี้
ใช่ล่ะ เขาอาจจะเทียบเคียงกับนายคนเก่าของลูกไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นนิสัยใจคอ ความรู้ความสามารถ และแน่นอนความรู้สึกที่เขามีต่อลูก ซึ่งมันก็ช่วยไม่ได้ ไม่ใช่ความผิดของเขา คนแต่ละคนย่อมต่างกันไป เพียงแต่เขามาอยู่ตรงจุดที่นายเก่าลูกเคยอยู่ และลูกต้องทำงานกับเขา ทำงานให้เขา ทำตามคำสั่งเขา ด้วยความรู้สึกของลูกที่ไม่เหมือนเดิม
ที่ไม่เหมือนเดิม เพราะลูกไม่ได้ยอมรับในตัวเขา เหมือนที่ลูกยอมรับในตัวนายเก่า อันนี้เป็นจุดอ่อนในการเป็นผู้นำของเขา ซึ่งไม่มีใครทำอะไรได้ แก้ไขอะไรได้ นอกจากตัวเขาเอง เขาอาจไม่คิดว่ามันเป็นเรื่องสลักสำคัญอะไร เพราะเขาอาจไม่รู้ว่ามันคือจุดอ่อน เพราะเขาก็ไม่ได้แคร์ว่าใครจะคิดอย่างไรกับเขา ดังนั้นไม่ว่าจะคำพูดหรือการแสดงออกของเขา จึงไม่เป็นที่ยอมรับของคนอื่น รวมทั้งลูกด้วย
นั่นคือสาเหตุที่เขาไม่ได้ก้าวหน้าเหมือนนายเก่า ทั้งที่อายุงานพอ ๆ กัน ยังไม่ได้รับตำแหน่งต่อจากนายอย่างเป็นทางการ ด้วยซ้ำ ทำได้แค่รักษาการในตำแหน่งเท่านั้น เขาขาดคุณสมบัติที่สำคัญ นั่นคือการเป็นที่ยอมรับของคนอื่น แน่นอนรวมทั้งนายระดับบนขึ้นไปด้วย คนที่มีอำนาจให้คุณให้โทษเขาโดยตรง
เมื่อเวลาเราเดินทาง พอเหนื่อยหรือเบื่อขึ้นมา เราก็มักจะนึกเสมอว่า เมื่อไหร่จะถึงเสียที ตอนนี้ลูกเริ่มรู้สึกไม่ค่อยจะแฮปปี้ กับงาน เริ่มเบื่อ เริ่มเซ็ง จึงได้คิดถึงเรื่องหนทางข้างหน้า ใช่ไหมล่ะลูก มันตรงกับที่พ่อวิเคราะห์มาทั้งหมดไหม ?"
"ยังกะพ่อไปนั่งอยู่ในเหตุการณ์เลยล่ะ ทำไมรู้ล่ะ ?"
"อย่าลืมสิ พ่อน่ะ ผ่านมาทุกขั้นทุกระดับเลยนะ ตั้งแต่ระดับพนักงานจนถึง เอ็มดี หรือซีอีโอ ดังนั้นพ่อก็ต้องเคยเจอกับทั้งนายและลูกน้องหลากหลาย มีทั้งที่ชอบและไม่ชอบ สถานการณ์ที่ลูกกำลังเจออยู่ขณะนี้ พ่อก็เคยเจอมาแล้ว พ่อถึงได้รู้และเข้าใจยังไง
ทีนี้พ่อเป็นคนที่พูดง่าย ๆ ว่าถอยไม่เป็น เนื่องจากพ่อมีเป้าหมายของพ่ออยู่ข้างหน้า หากมีอะไรมาขวาง พ่อก็จะหาทางข้าม หรือผ่านมันไปให้ได้ จะเร็วจะช้า จะยากลำบากยังไงพ่อก็ไม่ถอย หมายถึงตอนนั้นนะ ตอนที่ยังหนุ่มเท่าลูก แต่พออายุมากแก่พรรษาขึ้นแล้ว พ่อก็รู้จักถอยเป็น แต่ก็ถอยเพื่อตั้งรับ และเตรียมเดินหน้านั่นแหละ
เมื่อเป็นนักสู้ก็จะต้องรู้จักประเมินกำลังและอาวุธของตัวเอง ว่าสู้เขาได้ไหม เหมือนเวลาคนตัวเล็กคิดจะไปสู้กับคน ตัวใหญ่กว่านั่นแหละ มันก็ต้องฉุกคิดก่อน มันเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ ที่กลัวเจ็บกลัวอันตรายกันทั้งนั้น ไม่ต้องมีใครมาสอนหรือร่ำเรียนจากไหน มันเป็นของมันเอง
ดังนั้นเมื่อพ่อเริ่มคิดถึงระยะทาง และเห็นอุปสรรคที่ขวางหน้า ถามตัวเองว่าจะเอายังไง มันก็จะมาถึงการจัดลำดับความสำคัญก่อนหน้าหลัง มันก็คอมมอนเซนส์อีก เหมือนตอนทำข้อสอบ เมื่ออ่านโจทย์ดูแล้ว เห็นข้อไหนง่ายก็จะทำข้อนั้นก่อนเพื่อไม่ให้เสียเวลาใช่ไหม การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่จะต้องแก้ไขก็เหมือนกัน อะไรก่อนอะไรหลัง มันเกี่ยวพันกัน
อยากไปให้ถึงที่หมายเร็ว ๆ ก็ต้องมาดูว่าเราวิ่งได้เร็วขึ้นหรือเปล่า ทางข้างหน้าเรามันมีอุปสรรคทำให้เราวิ่งเร็วไม่ได้หรือไม่ แล้วถ้าเราผ่านอุปสรรคไปได้ เราวิ่งได้ตามที่คิดชัวร์นะ
พ่อเอาการประเมินศักยภาพตัวเองมาก่อน ว่าพ่อพร้อมแค่ไหนอย่างไรที่จะเร่งความเร็วได้ หากผ่านพ้นอุปสรรคได้ หรือแปลว่า พ่อเอาเรื่องอุปสรรคพักไว้ มาวิเคราะห์ตัวเองก่อน"
"วิเคราะห์ตัวเอง ทำยังไงพ่อ ?"
"เรื่องมันยาวว่ะ แต่มันสำคัญมากนะ ซึ่งลูกจะต้องจดจำให้ดี คนเราจะประสบความสำเร็จหรือไม่แค่ไหน ต้องวิเคราะห์ ตัวเองให้เป็น"
หน้า 31


วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4204  ประชาชาติธุรกิจ


อัพเดทล่าสุด