https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
53 วิธีจ้างคนดีที่สุด MUSLIMTHAIPOST

 

53 วิธีจ้างคนดีที่สุด


681 ผู้ชม


53 วิธีจ้างคนดีที่สุด




แคทเธอรีน ดี. ฟย์อค มองว่า การที่ HR ได้รับมอบหมายให้หาคนมาทำงานถือเป็น “ภารกิจ” ที่ยิ่งใหญ่มากกว่าเป็น “หน้าที่” ในการเติมตำแหน่งที่ว่าง

เพราะทันทีที่ต้องหาคน นั่นหมายความว่า HR กำลังได้รับคำเชิญให้ไปเปลี่ยนแปลงโลก และทิ้งมรดกเอาไว้หลายชั่วอายุคน

“มันมีผลกระทบเป็นลูกโซ่ทุกครั้ง ที่คุณตัดสินจ้างคน ด้วยคำถามง่ายๆ ว่า ผู้ผ่านการคัดเลือกพร้อมจะเริ่มงานเมื่อใด”

เธอเป็นนักวางแผนกลยุทธ์ด้านการจ้างงานตัวยง และเป็นอดีตผู้อำนวยการฝ่ายบริหารบุคคลภาคสนามของธุรกิจร้านอาหารจานด่วนเคเอฟซี ซึ่งเคยพัฒนาโครงการสรรหาและการรักษาบุคลากรจนโด่งดังไปทั่วโลก

หลายครั้งของประสบการณ์ขั้นเทพ ถูกแปลงออกมาเป็นงานเขียนขนาดสั้นและยาว หนังสือหลายเล่มที่เธอเขียน ช่วยเพิ่มขนาดพื้นที่ความเข้าใจ เรื่องใต้จมูกที่ถูกมองข้าม ข้อเตือนใจเวลาขาดสติ หรือความจริงบางอย่างที่บรรดา HR อาจทำใจเชื่อได้ยาก แต่ก็ต้องยอมรับมัน

จนมาถึงหนังสือเล่มนี้ The Truth About Hiring The Best (เคล็ดไม่ลับกับการจ้างคนดีที่สุด) ที่ได้รับคำชื่นชมจากคนแวดวงเดียวกันว่า “เธอเสนอความจริง 53 ประการ ในการสรรหาคนที่ดีที่สุด ถ้าคุณไม่อยากเผชิญกับอาการปวดเศียร เวียนหัวใจ คลื่นไส้ อยากจะเป็นลม เวลาสัมภาษณ์งาน โปรดอ่าน แล้วนำไปประยุกต์ใช้ เพราะมันลึกซึ้ง ชาญฉลาด และใช้ได้จริง”

ไม่มีผู้สมัครในอุดมคติ : ร้อยทั้งร้อย HR ต่างอยากได้ลูกจ้างที่มีทัศนคติที่ดี ยินดีทำงานหนัก มีจริยธรรม มีพลัง มีแรงจูงใจที่เข้มแข็ง ทำงานเป็นทีมได้ ให้บริการลูกค้าได้อย่างสุดแสนวิเศษ แต่ที่จริงแล้วแคทเธอรีนบอกว่า นิยามของความเป็นลูกจ้างยอดเยี่ยมในใจแต่ละคน มักไม่เหมือนกันทีเดียว

บางคนอยากได้คนที่คิดเหมือนกัน บางคนต้องการใครสักคนที่มีทักษะตรงกันข้าม ส่วนหนึ่งอยากได้ลูกจ้างที่มีความคิดอิสระ แต่อีกกลุ่มคนก็ยังพออกพอใจกับลูกจ้างว่านอนสอนง่าย อยู่กับกฎระเบียบและกระบวนการอันเคร่งครัด

สิ่งที่จะแปลงสภาพจากผู้สมัครในอุดมคติมาเป็นผู้สมัครในโลกของการทำงานจริงได้ อันดับแรกต้องกำหนดคุณลักษณะของงาน โดยดูจากจุดยืนองค์กรว่า เราคือใคร เราทำอะไร และเราทำอย่างไร แล้วหล่อหลอมออกมาเป็นค่านิยมหลัก ซึ่งจะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเลือกพนักงานและการบริหารผลงาน

เช่น บริษัทออกแบบที่ให้คุณค่ากับความคิดสร้างสรรค์ ก็อาจมองหาคนที่มีความคิดต้นแบบ หรือธุรกิจร้านอาหารจานด่วน ธนาคาร อาจต้องการเจ้าหน้าที่บริการ หรือพนักงานการเงินที่ต้องทำงานตามคู่มือที่กำหนด

คุณเป็นคนขายในตลาดของผู้ซื้อ : ในโลกธุรกิจที่ HR ต้องแข่งกันหาคนเก่งจนขาขวิด ก็ยังมีไม่น้อยที่แอบคิดเข้าข้างตัวเองว่า “ดีจัง ฉันไม่ต้องออกไปวิ่งหาคน เพราะมีคนต้องการมาสมัครกับบริษัทเรามากมาย เราเลือกเอาจากใบสมัครที่ดีที่สุดก็ได้”

เธอพยายามทำให้ HR กลุ่มนี้ตาสว่าง โดยบอกว่า คนที่มาสมัครงาน อาจจะไม่ใช่คนที่คุณอยากจะจ้าง โดยเฉพาะกับคนที่อยากทำงานกับบริษัทนี้เหลือเกิน เพราะคำว่า “เหลือเกิน” อาจเป็นเพราะเขาหางานอื่นทำไม่ได้ คนที่วิ่งหางานส่วนใหญ่ มักเป็นคนที่ไม่พอใจกับสิ่งแวดล้อม หรือไม่ก็ตกงาน

ข้อแนะนำของเธอก็คือ คงเป็นการดีถ้าดึงความสนใจจากคนที่ยังภักดีกับนายจ้าง มีนิสัยการทำงานดี และอาจคิดจะเปลี่ยนงานใหม่ ถ้ามีข้อเสนอดีๆ มาเกยถึงที่ โดยไม่ต้องวิ่งโร่ออกไปหา

“เมื่อคุณยังคงหาและต้องการพนักงานที่ดีที่สุด คุณก็ต้องตั้งใจเสนอตำแหน่งงานจริงๆ เพราะคนที่ไม่ได้ตั้งใจมองหางาน อาจซ่อนตัวเองในตลาด โดยดูจากเว็บไซต์มากกว่าไปหางานข้างนอก”

รับบูมเมอแรง : ในอดีตหลายบริษัทจะไม่พิจารณาพนักงานที่เคยลาออกไปแล้ว ให้ลมพัดหวนกลับมาใหม่ อาจเป็นเพราะความหยิ่งทะนง เสียความรู้สึก หรือแย่สุดเหมือนโดนหักหลัง แต่ทุกวันนี้เธอมองว่า การกลับมาของลูกจ้างเก่าไม่ต่างอะไรกับบูมเมอแรง ซึ่งถือเป็นชัยชนะขั้นสูงสุดของการจ้างงาน

“ถ้าคุณสนใจที่จะจ้างอดีตพนักงาน มีประวัติการทำงานดี บริษัทต้องสื่อออกไปว่า องค์กรมีวัฒนธรรมที่ชื่นชมยินดีต่อพนักงานทุกคน แม้ที่ออกไปแล้ว และลองหยิบยืมวิธีที่สถาบันการศึกษาหยิบมาใช้ ในการสร้างสัมพันธภาพกับศิษย์เก่า”

มีคำกล่าวว่า คนที่ลาออกไปเพราะคิดว่า ที่ใหม่มีหญ้าเขียวชอุ่มกว่าที่เก่า แต่เมื่อเห็นกับตาแล้วว่ามันไม่จริง บางคนที่ยอมกลับมา HR จึงต้องปู “พรมแดง” ต้อนรับ มากกว่ามัวคิดว่าเขา “ซมซาน” กลับ ถ้าหากการจ้างหนใหม่นี้ ยังคงคุ้มค่า ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

สนไหม คนเกษียณไง : HR หลายคนคงคิดว่า พนักงานแก่ๆ ในบริษัทกำลังเฝ้านับวันรอเกษียณ เพื่อจะได้ใช้ชีวิตที่เหลือหมดไปกับการออกรอบกอล์ฟ ซ้อมพัตต์ลูกในสวน ซึ่งชีวิตจริงก็เป็นอย่างนั้น แต่ความจริงอีกอย่างที่มาพร้อมกันคือ หลายคนที่เกษียณไปแล้วค้นพบตัวเองว่า ชีวิตที่เต็มไปด้วยกิจกรรมนั้น ไม่ได้เร้าใจเหมือนกับตอนที่ได้ทำหลังว่างเว้นจากงาน หลายคนอยากกลับไปทำงานอีก นายจ้างเองก็รู้สึกว่า ทักษะบางอย่างกับความเก่งที่ต้องการ หาไม่ได้กับพนักงานเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ทุกวันนี้คนอายุ 65 มีชีวิตเปิดกว้างและยืนยาว ยาวจนน่าเบื่อแถมยังสิ้นเปลืองเสียอีก คนวัยนี้ถ้าได้กลับมาทำงาน จะทำงานอย่างมีความสุข และพกพามุมมองต่องานที่มีสีสันเข้ามาด้วย รวมถึงมีบทบาทในการเพิ่มพลังทางบวกให้กับเด็กรุ่นลูกรุ่นหลาน

หน้าที่ของ HR ควรพิจารณากลยุทธ์ที่เปิดทางให้คนวัยเกษียณจากหลากหลายที่ ได้กลับมาทำงานอีกครั้ง ถือเป็นทางออกที่ดีในการแก้ปัญหาด้านกำลังคน ข้อสำคัญอย่าไปคาดหวังให้มากว่าเขาและเธอต้องทำงานเต็มเวลา วัยผมสีดอกเลาหลายคนยังอยากได้เวลาไปตากอากาศทางตอนใต้ หรือไม่ก็เล่นสกีที่อังกฤษ พอๆ กับได้กลับมาทำงานที่รักที่ชอบ จึงพูดกันให้ชัดว่าต้องการอะไร แล้วหาข้อสรุปที่ดีที่สุดทั้งสองฝ่าย

ทั้งหมดนี้คือบางส่วนของการหาคนเก่ง หน้าต่างบานแรกขององค์กรในการเฟ้นหาคนดีที่สุดมาอยู่ร่วมชายคา

ถ้า HR หลายคนยังไม่มีสายตาเฉียบคมแบบเดียวกับนางรจนาเลือกคู่ ที่มองทะลุเห็นองค์ทองของพระสังข์ในเปลือกเจ้าเงาะแล้วหละก็ ขอแนะนำให้วางหนังสือเล่มนี้อยู่ใกล้ๆ  

ก็อย่างที่แคทเธอรีนเธอว่าไว้ การที่ HR ได้รับมอบหมายให้หาคนมาทำงาน ถือเป็น “ภารกิจ” ที่ยิ่งใหญ่ มากกว่าเป็นเพียง “หน้าที่” ในการเติมตำแหน่งที่ว่างให้เต็ม

เรียบเรียงจากหนังสือ เคล็ด (ไม่) ลับ กับการจ้างคนดีที่สุด (The Truth About Hiring The Best) แต่งโดย แคทเธอรีน ดี. ฟย์อค แปลโดย สุชาดา สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี

ที่มา :bangkokbiznews.com

อัพเดทล่าสุด