https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
สรุปมิติงานด้าน HR MUSLIMTHAIPOST

 

สรุปมิติงานด้าน HR


948 ผู้ชม


สรุปมิติงานด้าน HR




สำหรับบทความนี้จะเป็นเรื่องของบทบาทงานด้าน HR ที่มีต่อ Line Manager ตอนจบ ดิฉันขอสรุปมิติทั้งหมดที่ Line Manager และ HR Dept. จะต้องทำงานร่วมกัน ดังนี้

  • มิติที่ 1 : การวิเคราะห์งาน (Job Analysis)
    • การจัดทำใบกำหนดหน้าที่งานของหน่วยงาน (Functional Description)
    • การจัดทำใบกำหนดหน้าที่งานของตำแหน่งงาน (Job Description)
  • มิติที่ 2 : การสรรหาและคัดเลือก (Recruitment and Selection)
    • การวางแผนอัตรากำลังคน (Manpower Planning)
    • การสรรหาพนักงาน (Recruitment) และการคัดเลือกพนักงาน (Selection)
  • มิติที่ 3 : การบริหารประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Performance Management System : PMS)
    • การกำหนดตัวชี้วัดผลงานระดับหน่วยงานและระดับบุคคล (KPIs/BSC - Function and Individual)
    • ความสามารถหลักและความสามารถในงาน (Core and Job Competency)
  • มิติที่ 4 : การฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน (Training & Development)
    • การวางแผนฝึกอบรมพนักงาน (Training Plan)
    • การหาช่องว่างความสามารถของพนักงาน (Competency Gap Assessment)
    • การจัดทำแผนพัฒนาพนักงานรายบุคคล (Individual Development Plan : IDPs)
  • มิติที่ 5 : การพัฒนาสายอาชีพพนักงาน (Career development)
    • การจัดทำผังความก้าวหน้าในสายอาชีพของพนักงาน (Career Path)
    • การจัดทำผังทดแทนตำแหน่งงาน (Succession Plan)
  • มิติที่ 6 : ระบบบริหารค่าตอบแทน (Compensation System)
    • การทบทวนโครงสร้างค่าเงินเดือน และสวัสดิการ (Re - Salary and Benefit Structure)
  • มิติที่ 7 : ระบบการจูงใจพนักงาน (Motivation System)
    • การจัดสภาพแวดล้อมการทำงาน (Working Environment)
    • การเป็นที่ปรึกษาแก่พนักงาน (HR Clinic)

จะเห็นได้ว่ามิติต่าง ๆ ทั้ง 7 มิตินี้จะครอบคลุมถึงวงจรงานด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ใน ทุก ๆ ด้าน ซึ่งดิฉันอยากจะจุดประกายทุกท่านที่อยู่ในฐานะ Line Manager ว่าการบริหารงานให้สำเร็จ มิใช่อยู่ที่การกำหนดกลยุทธ์ การวางแผน และการบริหารงาน หรือที่เรียกว่า "มุ่งงาน" เพียงอย่างเดียวเท่านั้น การบริหารคน หรือที่เรียกว่า "มุ่งคน" เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำควบคู่กันไปด้วย และมิติทั้ง 7 จึงเป็นแนวทางให้ Line Manager ใช้ในการบริหารและพัฒนาคนในมุมมองต่าง ๆ และหาก Line Manager นำแนวคิดมาใช้ปฏิบัติในการบริหารทีมงานของคุณแล้วหล่ะก็ แน่นอนว่าประโยชน์ต่าง ๆ ย่อมจะเกิดขึ้นจากการบริหารและพัฒนาคนของ คุณเอง ซึ่งดิฉันได้สรุปประโยชน์ทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นจากการนำมิติทั้ง 7 มาใช้ ดังนี้

ประโยชน์ที่ Line Manager จะได้รับมิติที่เกี่ยวข้อง
1. การทำงานมีเป้าหมายเดียวกันมิติที่ 1 :
การวิเคราะห์งาน
(Job Analysis)
2. หัวหน้างานมีโอกาสสร้างความเข้าใจที่ตรงกันในหน้าที่งานของลูกทีม
3. หัวหน้างานรับรู้ว่าลูกน้องแต่ละคนทำงานอะไรบ้าง ตอบสนองต่อความต้องการหรือความคาดหวังของตนหรือไม่
4. ลูกน้องตระหนักถึงหน้าที่งานของตำแหน่งงานที่ทำ
5. หัวหน้างานสบายใจในการมอบหมายงานให้ลูกน้อง ลูกน้องไม่มีข้ออ้างที่จะเกี่ยงงาน
6. ใช้เป็นเครื่องมือในการหาคนให้ตรงตามที่หัวหน้างานต้องการ
1. ไม่เกิดปัญหาคนล้นงาน หรืองานล้นคนมิติที่ 2 :
การสรรหาและ
คัดเลือก
(Recruitment
and Selection)
2. จัดกำลังคนให้ตรงกับความสามารถ ลักษณะงาน และเวลา
3. หาคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับความต้องการของหัวหน้างาน
4. ฝึกคนให้มีทักษะที่หลากหลาย (Multi Skills)
5. เป็นเทคนิคหนึ่งในการจูงใจ และสร้างขวัญกำลังใจแก่พนักงาน
1. เป็นเครื่องมือในการวัดผลการทำงานของลูกทีมมิติที่ 3 :
การบริหาร
ประสิทธิภาพการ
ดำเนินงาน (PMS)
2. สร้างโอกาสให้หัวหน้าและลูกทีมพูดคุยกันถึงผลการทำงาน และสิ่งที่คาดหวังในการทำงานสำหรับปีถัดไป
3. หัวหน้างานรู้ถึงจุดแข็ง และจุดที่ต้องพัฒนาปรับปรุงของลูกทีมแต่ละคน
4. ทำให้พนักงานรับรู้ และปรับปรุงศักยภาพของตนเอง
1. พัฒนาจุดแข็ง และปรับปรุงข้อบกพร่องได้ตรงจุดมิติที่ 4 :
การฝึกอบรมและ
พัฒนาพนักงาน
(Training &
Development)
2. ลูกทีมมีการพัฒนาความสามารถและศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
3. สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้กับลูกทีม
4. เป็นช่องทางหนึ่งในการแจ้งสิ่งที่คาดหวังในการทำงานแก่ลูกทีม
5. หากพนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หัวหน้างานมีเวลาในการทำงานด้านการวางแผน ออกแบบ และปรับปรุงระบบ มีความคิดริเริ่มใหม่ ๆ
1. เตรียมความพร้อมของกำลังคน ยามขาดแคลนมิติที่ 5 :
การพัฒนาสายอาชีพ
พนักงาน (Career
development)
2. ฝึกให้พนักงานพร้อมรับกับการทำงานในหลากหลายรูปแบบ
3. สร้างขวัญและกำลังในการทำงานให้กับพนักงาน
4. พัฒนาความสามารถและศักยภาพของคนได้ตรงจุด
1. คน งาน ค่าตอบแทนสอดคล้องและสัมพันธ์กันมิติที่ 6 :
ระบบบริหาร
ค่าตอบแทน
(Compensation
System)
2. รักษาคนในองค์กร ไม่ให้เกิดปัญหาสมองไหล
3. ดึงดูด และจูงใจให้คนสนใจเข้ามาทำงาน
4. หัวหน้างานหมดห่วงปัญหาเรื่องความขัดแย้งส่วนบุคคล
5. สร้างความสามารถในการแข่งขันกับบริษัทอื่น
1. พนักงานมีความรู้สึกอยากมาทำงาน-มาจากใจ ไม่ถูกบังคับมิติที่ 7 :
ระบบการจูงใจ
พนักงาน (Motivation
System)
2. มีการทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน
3. อยากคับขัน หัวหน้างานหมดห่วงว่าจะไม่มีใครช่วยเหลือ
4. ลูกน้องรัก พร้อมที่จะอุทิศตนได้ทุกเมื่อ ทุกเวลา

เห็นแล้วหรือยังค่ะว่าผู้ที่จะได้รับประโยชน์ทั้งหมดโดยตรง นั่นก็คือ Line Manager ทั้งนี้การบริหารและพัฒนาคนที่ดี จะทำให้ Line Manager มีเวลาในการคิดทบทวน วางแผนงาน และคิดริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ เพื่อให้การบริหารงานดีขึ้น และในที่สุดผลงานของหน่วยงานคุณเองย่อมเป็นที่ต้องตา ต้องใจของผู้บริหารในหน่วยงานต่าง ๆ และ ผู้บริหารขององค์กร

ปัญหาและอุปสรรค

การนำเอามิติงานด้านทรัพยากรมนุษย์ทั้ง 7 มาใช้นั้น Line Manager อาจพบกับปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น ดังต่อไปนี้

  1. ขาดการสื่อสารแบบสองทาง หรือ Two Way Communication ระหว่าง Line Manager และพนักงาน
    อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากเวลาที่ไม่เอื้ออำนวย หรือ Line Manager ไม่ได้เห็นความ
    สำคัญในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มากนัก เพราะคิดว่าเป็นหน้าที่ของ HR Dept. ที่ควร
    รับผิดชอบโดยตรง
  2. พนักงานมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเปลี่ยนแปลง ยึดติดกับระบบและแนวทางปฏิบัติแบบเดิม ๆ บางคนไม่
    ยอมรับการเปลี่ยนแปลง บางคนต่อต้านการเปลี่ยนแปลง และบางคนชักชวนให้ผู้อื่นไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ถึงแม้ว่า Line Manager พยายามชี้แจงและทำความเข้าใจถึงการปรับเปลี่ยน
    รูปแบบการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก็ตาม
  3. ขาดการสนับสนุนและมีส่วนร่วมอย่างจริงจังของ HR Dept. ทั้งนี้ไม่มีระบบการติดตามผล ตรวจสอบ และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อพัฒนางานด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถสนับสนุน Line Manager ได้ นอกจากนี้ในบางครั้ง HR Dept. ยังไม่สามารถให้คำปรึกษาแนะนำแก่ Line
    Manager เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้

การเตรียมความพร้อม

ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของ HR Dept. โดยตรงในการเตรียมความพร้อมสำหรับการนำเอามิติด้านงานทรัพยากรมนุษย์ทั้ง 7 มิติมาใช้ปฏิบัติ โดยมีวิธีการหรือขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. HR Dept. จะต้องชี้แจงความสำคัญของมิติทั้ง 7 ที่จะมีช่วยในการบริหารและพัฒนาคนของ Line Manager ทั้งนี้ HR Dept. ควรทำความเข้าใจแก่ Line Manager ให้ตระหนักถึงประโยชน์ และการจัดสรรเวลาเพื่อชี้แจงระบบการบริหารและพัฒนาทรัพยากรให้กับพนักงานของตน
  2. HR Dept. จะต้องหาวิธีการช่วย Line Manager ในการปลุกจิตสำนึกให้กับพนักงานได้ตระหนักและเห็นความสำคัญ ขั้นตอนการทำงาน บทบาทและความรับผิดชอบของพนักงานที่มีต่อระบบงานด้านทรัพยากรมนุษย์ในมิติทั้ง 7
  3. HR Dept. จะต้องสามารถให้คำปรึกษาแนะนำต่าง ๆ ได้ หาก Line Manager มีข้อสงสัยหรือประเด็นปัญหาเพิ่มเติม
  4. HR Dept. จะต้องติดตามผลจาก Line Manager ในการนำมิติทั้ง 7 ด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปประยุกต์ใช้ รวมทั้งจะต้องทบทวนและปรับปรุงระบบงานในมิติต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการชี้แจงและสร้างความเข้าใจแก่ Line Manager ถึงมิติต่าง ๆ ทั้ง 7 ด้านที่ได้รับการออกแบบและปรับปรุงใหม่

ดังนั้นบทบาทงานด้าน HR ที่มีต่อ Line Manager ในมิติทั้ง 7 ด้านที่ได้กล่าวถึงไปแล้วนั้น จะได้รับความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับจากทุกหน่วยงาน เนื่องมาจากการทำงานร่วมกันอย่างจริงจังระหว่าง HR Dept. และ Line Manager ….มาถึงตรงนี้ ดิฉันจึงอยากให้ HR Dept . และ Line Manager เริ่มสำรวจระบบงานด้านการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ว่าปัจจุบันเป็นอย่างไร….Line Manager มีส่วนร่วมมากน้อยแค่ไหน …พนักงานมีความคิดเห็นอย่างไรในการนำระบบการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ใหม่ ๆ มาใช้…เพื่อที่ว่าจะได้นำข้อมูลต่าง ๆ มาประกอบการพัฒนาและปรับปรุงระบบในมิติ 7 ด้านของงานด้านทรัพยากรมนุษย์ให้ดีขึ้นต่อไป

ผู้เขียนบทความ : อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์

อัพเดทล่าสุด